วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อักษรย่อชื่อคัมภีร์ พระไตรปิฎก


อักษรย่อชื่อคัมภีร์


(พระไตรปิฎก  เล่ม/ข้อ/หน้า) ,  อรรถกถาและฎีกา  เล่ม/หน้า)
คัมภีร์ที่ใช้อ้างอิงในที่นี้ใช้  พระไตรปิฎกที่มีอรรถกถาอยู่รวมเล่มเดียวกัน ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย (มก.) เล่มแปลภาษาไทย ตัวย่อจะมีเพียง เล่ม/หน้า  หากมีอรรถกถาด้วยก็จะเพิ่มตัว อ. ต่อท้าย
      ตัวอย่างเช่น  วิ.มหา. ก็จะเป็น  วิ.มหาวิ.อ.
หมายถึง วินัยปิฎก มหาวิภังค์ อรรถกถาสมันตปาสาทิกา ฉบับแปล
หากใช้คัมภีร์อื่นนอกจากฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ก็จะระบุที่มาให้ชัดเจนเฉพาะเล่มไป
เช่น  สารตฺถ.(ฎีกาวินัย) 1/23  หมายถึง  ฎีกาพระวินัย ชื่อสารัตถทีปนี

พระวินัยปิฎก
วิ.มหาวิ.                   วินัยปิฎก มหาวิภังค์
วิ.ภิกฺขุนี.         วินัยปิฎก ภิกขุณีวิภังค์
วิ.มหา.           วินัยปิฎก มหาวรรค
วิ.จูฬ.            วินัยปิฎก จูฬวรรค
วิ.ป.              วินัยปิฎก ปริวารวรรค
          ชื่อย่อตัวหน้าพระวินัยคือ  วิ. บางแห่งใช้ วินย.  พระวินัยชื่อมี อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
พระสุตตันตปิฎก
ที.สี.              ทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค
ที.มหา.           ทีฆนิกาย  มหาวรรค
ที.ปา              ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค          
ทีฆนิกายมีอรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี
ม.มู.              มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์
ม.ม.              มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์
ม.อุ.              มัชฌิมนิกาย  อุปริปัณณาสก์
                มัชฌิมนิกายมีอรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี
สํ.ส.              สังยุตตกนิกาย  สคาถวรรค
สํ.นิ.              สังยุตตกนิกาย  นิทานวรรค
สํ.ข.              สังยุตตกนิกาย  ขันธวรรค
สํ.สฬา.           สังยุตตกนิกาย  สฬายตนวรรค
สํ.มหา.           สังยุตตกนิกาย มหาวรรค

อง.เอกก.         อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต       อง.สตฺตก.       อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
อง.ทุก.           อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต         อง.อฏฺฐก.        อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
อง.ติก            อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต           อง.นวก.         อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต
อง.จตุกฺก.        อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต       อง.ทสก.         อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
อง.ปญฺจก.       อังคุตตรนิกาย   ปัญจกนิบาต     อง.เอกาทสก.    อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต
อง.ฉกฺก.         อังคุตตรนิกาย  ฉักกนิบาต
ขุ.ขุ.              ขุททกนิกาย  ขุททกปาฐะ          ขุ.เถรี.            ขุททกนิกาย  เถรีคาถา
ขุ.ธ.              ขุททกนิกาย  ธรรมบท             ขุ.ชา.             ขุททกนิกาย  ชาดก
ขุ.อุ.              ขุททกนิกาย  อุทาน                ขุ.มหา.           ขุททกนิกาย  มหานิทเทส
ขุ.อิติ.             ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ ขุ.จูฬ.            ขุททกนิกาย  จูฬนิทเทส
ขุ.สุ.              ขุททกนิกาย  สุตตนิบาต           ขุ.ปฏิ.            ขุททกนิกาย  ปฏิสัมภิทาวรรค
ขุ.วิ.              ขุททกนิกาย  วิมานวัตถุ           ขุ.อป.             ขุททกนิกาย  อปทาน
ขุ.เป.             ขุททกนิกาย  เปตวัตถุ             ขุ.พุทฺธ.           ขุททกนิกาย  พุทธวงศ์
ขุ.เถร.            ขุททกนิกาย  เถรคาถา             ขุ.จริยา           ขุททกนิกาย  จริยาปิฎก
                                                                            
พระอภิธรรมปิฎก
อภิ.สํ.             อภิธรรมปิฎก  ธรรมสังคณี    บางแห่งใช้ชื่อย่อเป็น อภิ.ธ.
อภิ.วิ.             อภิธรรมปิฎก  วิภังค์
อภิ.ธา.           อภิธรรมปิฎก  ธาตุกถา
อภิ.ปุ.            อภิธรรมปิฎก  ปุคคลบัญญัติ
อภิ.ก.            อภิธรรมปิฎก  กถาวัตถุ
อภิ.ย.            อภิธรรมปิฎก  ยมก
อภิ.ป.            อภิธรรมปิฎก  ปัฏฐาน




คัมภีร์อรรถกถาอื่น ๆ
วิสุทฺธิ.            วิสุทธิมรรค
มิลินฺท.           มิลินทปัญหา
เนตฺติ.            เนตติปกรณ์

คัมภีร์ฎีกา
มงฺคล.            มังคลัตถทีปนี
วชิร.              วชิรพุทธิ
สารตฺถ.          สารัตถทีปนี
วิมติ.             วิมติวิโนทนี
กงฺขา.ฏี.          กังขาวิตรณีฎีกา
กงฺขา.นวฏี.      กังขาวิตรณีอภินวฎีกา
ที.ฎี.              ทีฆนิกาย ฎีกา
สี.ฎี.              สีลขันธวรรค อภินวฎีกา
ม.ฎี.              มัชฌิมนิกาย ฎีกา
สํ.ฏี               สังยุตตนิกาย ฎีกา
องฺ.ฏี.             อังคุตตรนิกาย ฎีกา
วิสุทฺธิ.ฎีกา       วิสุทธิมรรค มหาฎีกา(ปรมัตถมัญชุสา)
มณิมญฺชู.        มณิสารมัญชุสา
ขุทฺท.ฏี.           ขุททสิกขาฎีกา