วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

ว่าด้วยเทวทูต ๓ จำพวก


ภิกษุทั้งหลาย เทวทูต ๓ จำพวกนี้ 
เทวทูต ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย) วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) และมโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ) หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 

นายนิรยบาลจับแขนเขา ไปแสดงต่อพญายมว่า “ขอเดชะ คนผู้นี้ไม่เกื้อกูลมารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูลพราหมณ์ และไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงโทษ แก่คนผู้นี้เถิด”

ภิกษุทั้งหลาย พญายมสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ” เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”

พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษมีอายุ ๘๐ ปี...๙๐ ปี...หรือ ๑๐๐ ปี...เป็นคนชรา มีซี่โครงคด หลังโกง หลังค่อม ถือไม้เท้า เดินงก ๆ เงิ่น ๆ เก้ ๆ กัง ๆ หมดความเป็นหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก ศีรษะล้าน หนังเหี่ยว ตัวตกกระ เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ” เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า”

พญายมถามเขาว่า “เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้เลยหรือว่า " "ถึงตัวเราก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เอาเถอะเราจะทำความดี ทางกาย วาจา และใจ” เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า”

พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา สมณพราหมณ์ ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเอง ต้องรับผลของบาปกรรม นั้น”


พญายม ครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขา ถึงเทวทูตที่ ๑ แล้วจึงสอบสวน ซักไซ้ไล่เลียง ถึงเทวทูตที่ ๒ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ” เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”

พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษป่วย ประสพทุกข์ เป็นไข้หนัก นอนจมอยู่ในมูตรและกรีสของตน ผู้อื่นต้องช่วยพยุงให้ลุกขึ้น ช่วยป้อนอาหาร เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ” เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า”

พญายมถามเขาว่า “เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่เคยคิดบ้างหรือว่า "ถึงตัวเราก็ต้องป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความป่วยไข้ไปได้ เอาเถอะ เราจะทำความดีทางกาย วาจา และใจ” เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า”

พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเอง ต้องรับผลของบาปกรรมนั้น”


พญายม ครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึง เทวทูตที่ ๒ แล้วจึงสอบสวน ซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๓ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๓ ที่ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ” เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”

พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษที่ตายได้ ๑ วัน ๒ วัน หรือ ๓ วัน พองขึ้น เป็นสีเขียว มีน้ำเหลืองแตกซ่าน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ" เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า”

พญายมถามเขาว่า “เจ้าเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่เคยคิดบ้างหรือว่า ถึงตัวเราก็มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เอาเถอะ เราจะทำความดีทางกาย วาจา และใจ” เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า”

พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเอง ต้องรับผลของบาปกรรมนั้น”

นายนิรยบาลจึงทำกรรมกรณ์ ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอก ตะปูเหล็กแดง ที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป

นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป

นายนิรยบาลจับเขา เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน ฯลฯ จับเขาเทียมรถแล่นกลับไปกลับมา บนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลวโชติช่วง ฯลฯ บังคับเขาขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงในโลหกุมภี อันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ เขาถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก 

ก็มหานรกนั้นมี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มีพื้นเป็นเหล็กลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ตั้งอยู่ทุกเมื่อ 

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๑๙๑-๑๙๔/๔๑๑ ข้อที่ ๓๗

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กัณฑ์ที่ ๘ ปาฏิเทสนียะ

กัณฑ์ที่ ๘
ปาฏิเทสนียะ

ศัพท์นี้ เป็นชื่อของอาบัติ แปลว่า จะพึงแสดงคืน เป็นชื่อของสิกขาบท แปลว่า
ปรับด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ มี ๔ สิกขาบท.

สิกขาบทที่ ๑ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี
ด้วยมือของตน จากมือของนางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้วสู่
ละแวกบ้าน เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี อันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะ
เธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดง
คืนธรรมนั้น.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย รับนิมนต์ฉันอยู่ใน
สกุล. ถ้าภิกษุณีมายืนสั่งเสียอยู่ในที่นั้นว่า จงถวายแกงในองค์นี้
จงถวายข้าวในองค์นี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น พึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า
น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่. ถ้า คำ
ของภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่กล่าวออกไป เพื่อจะรุกรานภิกษุณีนั้นว่า
น้องหญิง เธอ จงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่ ภิกษุเหล่า
นั้น พึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบาย
ควรจะแสดงคืน พวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
สิกขาบทที่ ๓ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อน มิใช่
ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็น
เสขะ ด้วยมือของตนแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้น พึงแสดงคืน

ว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืน
ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
คำว่า เสขะนั้น เป็นชื่อเรียกบุคคลผู้ได้บรรลุมรรคผลเบื้องต่ำ
ขึ้นไปจนพระอรหัตตมรรค แปลว่า ผู้ยังศึกษา คือยังควรจะปฏิบัติ
เพื่อธรรมอันสูงขึ้นไปกว่า. สกุลใดมีศรัทธากล้า โดยฐานเป็นเสขะ
แต่ยากจน มีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์สวดประกาศสมมติตั้งว่าเป็นเสขะ
และห้ามไม่ให้ภิกษุเข้าไปรับบิณฑบาตในสกุลนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เขา
สึกหรอ เว้นไว้แต่เขานิมนต์เองหรืออาพาธ. เมื่อไม่มีปัจจัยขืนเข้าไป
ปรับอาบัติปาฏิเทสนียะด้วยสิกขาบทนี้.
สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่า
เป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อัน
เขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ
เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้น พึงแสดงคืนว่า แนะเธอ ฉันต้องธรรมที่
น่าติ ไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เสขิยะ
ศัพท์นี้ เป็นชื่อของธรรมที่ได้แก่วัตร หรือธรรมเนียมอย่าง
เดียว แปลว่าควรศึกษา จัดเป็นหมวดได้ ๔ หมวด หมวดที่ ๑
เรียกว่าสารูป ว่าด้วยธรรมเนียมควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน, หมวด
ที่ ๒ เรียกโภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยธรรมเนียมรับบิณฑบาตและฉัน

อาหาร, หมวดที่ ๓ เรียกธรรมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยธรรมเนียม
ไม่ให้แสดงธรรมแก่บุคคลแสดงอาการไม่เคารพ. หมวดที่ ๔ เรียก
ปกิณณกะ ว่าด้วยธรรมเนียมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. ในคัมภีร์วิภังค์
ท่านจัด ๑๐ สิกขาบท เข้าเป็นวรรคเหมือนในปาจิตติยกัณฑ์ แต่
ธรรมเนียมเหล่านี้ก้าวก่ายกันไปหมด ข้าพเจ้าจึงจัดตามแบบนี้.
สารูป หมวดที่ ๑
มี ๒๖ สิกขาบท จัดเป็นคู่ ๆ ได้ ๑๓ คู่ ดังต่อไปนี้ :-
คู่ที่ ๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล เราจักห่ม
เป็นปริมณฑล.
นุ่งห่มเป็นปริมณฑลนั้น คือ นุ่งห่มกลมกล่อมเรียบร้อย. นุ่ง
เบื้องบนปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก เบื้องล่างปิดหัวเข่าทั้ง ๒
ลงมาเพียงครึ่งแข้ง ไม่จึงกรอมข้อเท้า นี้เรียกว่านุ่งเป็นปริมณฑล,
ห่มอย่างไรเป็นปริมณฑลนั้น ท่านแสดงไว้ไม่ชัด เป็นแต่กล่าวว่า
ทำมุมผ้าทั้ง ๒ ให้เสมอกัน อย่าปล่อยให้เลื้อยหน้าเลื้อยหลัง. กล่าว
ตามธรรมเนียมที่ใช้อยู่บัดนี้ ในวัดห่มเฉวียงบ่า คือปิดบ่าและแขน
ซ้าย เปิดบ่าและแขนขวา ปกเข่าลงมาขนาดเท่าผ้านุ่ง. เข้าบ้านห่ม
ุคลุม ปิดบ่าและแขนทั้ง ๒ ข้าง ปิดหลุมคอ ข้างล่างปิดหัวเข่าทั้ง ๒
ดังกล่าวแล้ว สิกขาบทคู่นี้ หมายเอากิริยานุ่งห่มอย่างแบบของภิกษุ
แล้ว แต่ให้นุ่งเรียบร้อย ห้ามไม่ให้ทำรุ่มร่ามหือถกรั้ง ไม่นุ่งอย่าง
แบบภิกษุ แม้ถึงจะปิดมณฑล ๓ ได้เรียบร้อย เช่นนุ่งโจงกระเบน

ก็จัดว่าใช้ไม่ได้.
คู่ที่ ๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี ไปในละแวด
บ้าน เราจักปกปิดกายดี นั่งในละแวกบ้าน.
ผ้านุ่งผ้าห่มที่จัดไว้เรียบร้อยแล้ว ในเวลานุ่งห่ม พึงระวังอย่า
ให้เลื่อนขึ้นเลื่อนลง คอยชักปกปิดอวัยวะนั้น ๆ ที่กำหนดให้ปิด นี้
เป็นคำสอนในสิกขาบทคู่นี้. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยสิกขาบทคู่นี้ เป็นอัน
ให้ห่มคลุมเข้าบ้าน.
คู่ที่ ๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน
เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน.
คำว่า สำรวมดีนั้น หมายเอารักษาอวัยวะสงบ ไม่คะนองมือ
คะนองเท้า ไม่ไหวมือไหวเท้าเพื่อจะเล่น เช่นแกว่งเท้า กระดิกมือ
เล่น เป็นต้น ใช้มือใช้เท้าในเวลามีกิจ ไม่ห้าม.
คู่ที่ ๔ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปในละแวดบ้าน
เราจักมีตาทอดลง นั่งในละแวกบ้าน.
ท่านสอนให้แลประมาณชั่วแอกหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่า ๔ ศอก
แต่ดวงตาอาจเห็นได้ไกลกว่านั้น ถ้าแลสั้นถึงปานนั้น ดูเป็นการแกล้ง
ทำ ไม่ใช่อาการโดยปกติ ไม่เพียงเกินงาน กลับงมงายไปอีก. ความ
ต้องการนั้น ให้รักษาเป็นอาการโดยปกติ แม้จะแลไกลก็ได้ แต่แลตา
ทอดลง อย่าแลเลิกตา. มีคำในพระสูตรบางแห่งว่าภิกษุผู้ไม่งมงาย
ย่อมแลเห็นช้างร้าย ม้าร้าย อันมาตามทางและรู้จักหลบหลีก อย่างคน
ทั้งหลายเขาทำกัน ไม่อวดดี.

คู่ที่ ๕ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้ง
เวิกผ้า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า.
การเวิกผ้านั้น หมายเอาเปิดสีขางให้เห็น เช่นถกจีวรขึ้นพาด
ไว้บนบ่า.
คู่ที่ ๖ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจกไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้ง
ความหัวเราะลั่น เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความหัวเราลั่น.
หัวเราะลั่นนั้น คือ หัวเราะเฮฮา. ความซิกซี้ คือหัวเราะคิกคัก
ก็สงเคราะห์ในข้อนี้เหมือนกัน. เป็นกิริยาเสียสังวรทั้งนั้น. เมื่อมีเรื่อง
ขันที่น่าหัวเราะ กลั้นไม่อยู่ พึงทำแต่ความยิ้มแย้มเท่านั้น.
คู่ที่ ๗ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อย ไปในละแวกบ้าน
เราจักมีเสียน้อย นั่งในละแวกบ้าน.
คำว่า เสียน้อยนั้น หมายเสียที่เป็นข้าศึกแก่เสียงดัง ไม่ใช่
เสียพูดซุบซิบ โดยความก็คือเสียงปกติ. ตามมติพระอรรถกถาจารย์
นั่งห่างกัน ๑๒ ศอก ห่างกันหนึ่งพูด อีกรูปหนึ่งได้ยินเสียงแต่ฟังไม่ถนัด
รูปอยู่ในระหว่าง ห่างกันเพียง ๖ ศอก ฟังถนัด เป็นเสียพอดี
เสียงเบาเพียงเท่านี้ ในเวลาพูดก็พอดี แต่ในเวลาเทศนาในที่ชุมนุม
คนมาก เห็นจะเบาเกินไป แม้จะว่าดังเกินพระอรรถกถาจารย์กำหนด
ไว้ แต่ไม่เสียสังวร คือไม่ได้ใช้เสียงตะเบ็ง ไม่ได้ใช้เสียงตะโกน
เห็นว่าใช้ได้.
คู่ที่ ๘ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่โยกกายไปในละแวกบ้าน
เราจักไม่โยกกายนั่งในละแวกบ้าน.

กิริยาโยกกาย เพราะทำพูมก็ตาม เพราะอ่อนแอก็ตาม ห้าม
ทั้งนั้น ท่านต้องการให้เดินและนั่งตั้งตัวตรง.
คู่ที่ ๙ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบาน
เราจัดไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน.
ไกวแขนก็เหมือนกัน เพื่อทำพูมก็ตาม เพื่อแสดงลีลาก็ตาม ห้าม
ทั้งนั้น ท่านสอนให้แข็งแขนไว้ ในเวลาเดิน. แต่อันที่จริง แขนนั้น
ย่อมเป็นกำลังเครื่องทานตัว เช่นเวลาไต่สะพาน กางแขนออก ย่อม
จะทานตัวได้ทรงอยู่ได้ ดีกว่าหุบแขน แต่เมื่อถึงคราวจะต้องใช้แขน
ในกิจเช่นนี้ ทำไม่มีโทษ.
คู่ที่ ๑๐ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวก
บ้าน. เราจักไม่โคลงศีรษะมั่งในละแวกบ้าน.
ข้อนี้สอนให้ตั้งศีรษะตรง อย่าให้เดินหรือนั่งคอพับดังคนไม่มี
กำลังจะทานศีรษะ. ท่านต้องการให้มีท่าทางองอาจเป็นสง่า.
คู่ที่ ๑๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำไปในละแวก
บ้าน เราจักไม่ทำความค้ำนั่งในละแวกบ้าน.
คำว่า ทำความค้ำนั้น หมายเอาเดินเอามือค้ำบั้นเอว นั่งเท้าแขน
ข้างเดียวก็ตาม ๒ ข้างก็ตาม.
คู่ที่ ๑๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่คลุม [ศีรษะ] ไปใน
ละแวกบ้าน เราจักไม่คลุม [ศีรษะ] นั่งในละแวกบ้าน.
กิริยาที่ปิดกายในที่ควรจะปิด เป็นธรรมเนียมที่ดี แต่ปิด หรือ
คลุมอวัยวะที่ควรเปิด เป็นกิริยาที่น่าติ จึงห้ามไว้ด้วยสิกขาบทคู่นี้.

คู่ที่ ๑๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วย
ทั้งความกระโหย่ง เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความรัด.
กิริยาที่เดินกระโหย่ง คือเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า ห้ามในข้อต้น
ท่านต้องการให้เดินเหยียบพื้นเต็มเท้า. กิริยาที่นั่งยอง เอามือกอกเข่า
ก็ดี เขาผ้ารัดรอบก็ดี ห้ามในข้อหลัง. นั่งกอดเข่านั้น ในประเทศนี้
ก็ใช้กันอยู่ ส่วนนั่งเอาผ้ารัดนั้นหาใช้กันไม่ ได้เห็นในรูปภาพโบราณ
คนอ้วนใช้กันมาก เป็นเครื่องช่วยกำลังทรงกาย.
ในเสขิยสิกขาบท ไม่ได้ปรับอาบัติไว้โดยตรง มีแต่เพียงว่า พึง
ทำศึกษา. ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำให้ผิด
ธรรมเนียมไป ต้องทุกกฏ. มีตั้งใจจะทำให้ถูกธรรมเนียม แต่ล่วงไป
ด้วยไม่แกล้ง ด้วยเผลอ ด้วยไม่รู้ตัว หรือไม่รู้จักจะทำให้ถูก และ
อาพาธ ไม่อาจจะรักษากิจวัตรให้เรียบร้อยได้ ท่านยกเว้นให้ ไม่ปรับ
อาบัติ. และภิกษุผู้เข้าพักอยู่ในบ้าน เป็นการแรมคืนหรือแรมวัน จะ
ละจากอาการนั้น ๆ อันจะทำเสมอไปไม่ได้ เช่นปกปิดกาย และทอด
จักษุเป็นต้นก็ได้ ไม่มีโทษ อาการเช่นใดทำในวัดได้ อาการเช่นนั้น
ทำในบ้านที่เข้าอยู่แรมได้ แต่พึงทำในห้องที่พักที่เขาจัดให้สำหรับตน
ออกพ้นจากสำนักตน เช่นไปสู่เรือนหรือห้องของผู้อื่น ควรประพฤติ
ตามธรรมเนียมเข้าบ้าน.
โภชนปฏิสังยุต หมวดที่ ๒
มี ๓๐ สิกขาบท แต่ไม่ได้จัดเป็นคู่อย่างสารูป.
ข้อ ๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.

ข้อนี้สอนให้แสดงความเอื้อเฟื้อในบุคคลผู้ให้ ไม่ดูหมิ่น และให้
แสดงความเอื้อเฟื้อในของที่เขาให้ ไม่ทำดังรับเอามาเล่น หรือเอามา
ทิ้งเสีย.
ข้อ ๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักจ้องในบาตรรับบิณฑบาต.
ข้อนี้ห้ามไม่ให้แลดูหน้าทายก หรือแลเหม่อไปทางอื่น.
ข้อ ๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
ศัพท์ว่า สูปะนี้ ในที่อื่นแปลว่าแกง แต่พระคันถรจนาจารย์จะ
เห็นว่าเป็นของเหลวรับมาไม่ได้กระมัง จึงแก้ไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า สูปะ
นั้น ทำด้วยถั่วเขียวบ้าง ด้วยถั่วขาวบ้าง จับได้ด้วยมือ ดูเป็นทีกบ
ข้าว แต่กับข้าวในที่อื่น เรียกว่าพยัญชนะ. เพราะท่านแกไว้อย่างนี้
ความถือของภิกษุทั้งหลาย จึงเป็นไปเฉพาะแกงที่เข้าถั่ว เป็นการที่
แคบเกินไป. ท่านแก้ไว้ดังนั้น ชะรอยจะเพ่งของที่ใช้กันอยู่ในครั้งนั้น.
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ธรรมเนียมบิณฑบาตในครั้งนั้น คงไม่เหมือนทุกวัน
นี้. ทายกคงไม่ได้คอยถวาย ภิกษุคงไปยืนตามบ้านตามร้าน เขาคง
เอาของที่มีอยู่โดยปกติ หรือที่สำหรับขายใส่บาตร จึงได้มีห้ามไม่ให้
เลือกรับสูปะมากเกินพอดี. ในบัดนี้ ของใส่บาตรเขาเตรียมไว้ต่างหาก
ภิกษุไม่อาจเลือกรับได้. แต่มีกิริยาที่ควรจะปฏิบัติอนุโลมข้อนี้ได้อยู่
คือรับไปตามลำดับที่ถึงเข้า อย่าผ่านทายผู้ใส่แต่ข้าวเปล่าเสีย เพื่อ
จะรีบไปรับแต่รายที่มีกับข้าวด้วย.
ข้อที่ ๔ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ.
ขอบนั้น หมายเอาขอบล่าง. ห้ามไม่ให้รับจนล้นขึ้นมา อันเป็น

กิริยาส่อความโลภ แต่ของห่อใบตองหรืออย่างอื่น ที่ปลายห่อพ้นจาก
ปากบาตรขึ้นมา ไม่นับว่ารับล้นบาตร กล่าวตามธรรมเนียมในบัดนี้
รับมากที่ส่อความโลภ ใช้ไม่ได้ รับมากที่ส่อความเมตตา ไม่เป็นการ
เสีย เช่นภิกษุบวชใหม่ เข้าไปรับบาตรในสกุล รับแต่เพียงบาตรเดียว
คนใส่ได้ไม่ทั่วกัน เขารับเอาบาตรไปถ่ายเสีย เธอรับต่อไปกว่าจะทั่ว
ดังนี้ไม่เสียกิริยา ไม่มีใครติเตียนว่าโลภ.
ข้อ ๕ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
แม้บิณฑบาตนั้นเป็นของเลว ก็ไม่แสดงอาการวิการ ฉันโดย
ปกติ อย่างพระศาสดาทรงรับแป้งจี่ของนางปุณณทาสีของเขาอื่นแล้ว
เสวยโดยมิได้ทรงรังเกียจ เช่นนี้จัดว่าฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ. อนึ่ง
เมื่อฉันตั้งหน้าฉัน ไม่ฉันพลาง ทำอื่นพลาง แม้อย่างนี้ ก็จัดว่า ฉัน
บิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
ข้อ ๖ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต.
ข้อนี้ห้ามการแลดูอื่นพลางฉันพลาง แลดูเกี่ยวด้วยการฉัน เช่น
แลดูด้วยคิดว่าสิ่งใดยังไม่พอ จะได้ให้แก่ภิกษุผู้นั่งฉันอยู่ใกล้ ไม่ห้าม.
ข้อ ๗ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง.
ข้อนี้ห้ามไม่ให้หยิบในที่เดียว จนข้าวแหว่งลงไป แนะให้กวาด
ตะล่อมข้าวเป็นคำ.
ข้อ ๘ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
คำว่า เสมอกันนั้น พระอรรถกถาจารย์แก้ว่าพอดี หมายเอา
สูปะเท่า ๑ เสี้ยวที่ ๔ แห่งข้าวสุก ข้อนี้ห้ามการฉันตะกลามอย่างเด็ก

แม้ฉันแกงกับมากกว่า ๑ เสี้ยวที่ ๔ แต่ไม่เกินข้าวสุก ก็ใช้ได้ ไม่ผิด
บาลี ไม่เป็นตะกลาม แต่ความเข้าใจว่า ห้ามเฉพาะแกงถั่วเท่านั้น
แคบเกินไป. เขาเลี้ยงแต่ของอื่น ไม่มีข้าวสุก ฉันก็ได้.
ข้อ ๙ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต.
เป็นธรรมเนียมของภิกษุ เมื่อฉันเกลี่ยข้าวสุกในบาตรให้หน้า
เสมอกันก่อน. ส่วนกับข้าวหือขนมที่เขาจัดบนจานเรียงเป็นลำดับ
ขึ้นไป ทำอย่างนั้นใช้ไม่ได้ พึงหยิบลงมาแต่ยอดได้.
ข้อ ๑๐ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี
ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก.
ข้อนี้หมายความเอาการฉันในกิจนิมนต์ ที่ทายกองคาส คอยเติม
ของที่ฉันได้ถวาย.
ข้อ ๑๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี
ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน.
คำว่า ขอในที่นี้ หมายเอาขอต่อคฤหัสถ์ผู้มิใช่ญาติ มิใช่คน
ปวารณา. อาพาธ ขาดอาหารอันถูกปาก ไม่ผาสุก ขอได้. ไม่อาพาธ
ขอเพื่อภิกษุอาพาธ ได้อยู่.
ข้อ ๑๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่เพ่งโพนทนาและดูบาตร
ของผู้อื่น.
แลดูด้วยตั้งใจจะข้อนขอดว่าฉันมูมมาม ห้ามในข้อนี้ และดูด้วย
คิดจะให้ของฉันอันยังไม่มี ไม่ห้าม.
ข้อ ๑๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.


คำข้าวที่คับปาก นำเข้าไปไม่ได้หมด จัดว่าใหญ่นัก ควรทำแต่
เพียงเข้าปากได้พอดี. ของอื่นท่านไม่ห้าม แต่ถ้าเสียกิริยา เห็นใช้
ไม่ได้เหมือนกัน.
ข้อ ๑๔ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
ในข้อนี้ควรเข้าใจว่า ในครั้งรจนาเสขิยวัตร เขาใช้กินข้าวชนิด
ไรกัน. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ [ปาน] เทียบที่สมเด็จพระพุฒาจารย์
ผู้ครองวัดพระเชตุพน ได้เคยพูดปรารภถึงเรื่องนี้แก่ข้าพเจ้า ท่านเห็น
สมด้วยข้าวเหนียว. ข้าพเจ้าก็พลอยอนุโมทนา แม้ไม่ใช่ข้าวเหนียว ก็
คงเป็นธัญญชาติที่มีคติเดียวกัน หรือข้าวจ้าวแต่หุงเปียก จึงปั้นทำเป็น
คำกลมได้ ซ้ำในคัมภีร์วิภังค์ห้ามไม่ให้ทำคำข้าวยาวไว้ด้วย แปลว่า
เป็นของปั้นได้. กิริยาบริโภคที่จัดว่าเรียบร้อย ก็คงปั้นเป็นคำกลม ๆ
จึงได้สอนไว้ในข้อนี้. เข้าใจข้าวที่กินแล้ว อาจเข้าใจข้อต่อไปง่าย.
ข้อ ๑๕ ว่า พึงทำศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจก
ไม่อ้าช่องปาก.
ข้อนี้บ่งให้รู้ธรรมเนียมฉันอาหารว่า หุบปากเคี้ยว อ้าปากเฉพาะ
เวลานำคำข้าวเข้าไป.
ข้อ ๑๖ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้า
ในปาก.
คำว่า มือนั้น ในฎีกาแก้ว่า นิ้วมือ ชอบอยู่. ข้อนี้ห้ามสกปรก
ปล่อยให้นิ้วเข้าในปาก แม้ไม่ทั้งหมด ก็ไม่ดี.
ข้อ ๑๗ ว่า พึงทำศึกษาว่า ปากยังมีคำข้าว เราจักไม่พูด.

ข้าวที่มีอยู่ในปาก พูดเสียงยังไม่เป็นปรกติเพียงใด อย่าเพิ่งพูด
เพียงนั้น กว่าจะได้กลืนแล้ว หรือคายแล้ว จึงพูด.
ข้อ ๑๘ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเดาะคำข้าว.
ข้อนี้ห้ามการเดาะคำข้าวขึ้นจากมือ อ้าปากงับ อันเป็นกิริยาซน.
ข้อ ๑๙ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
กัดของอื่น เช่นขนมแข็งหรือผลไม้ ท่านอนุญาต, แต่ข้อนี้
ห้ามการมูมมาม กัดของอื่นก็น่าเกลียดเหมือนกัน ควรเว้น ยกไว้
แต่ในประเทศที่เขาไม่เห็นเป็นเสียกิริยาก็ตามที. บางทีในครั้งรจนา
คัมภีร์วิภังค์ในประเทศนั้น เขาไม่ถือว่าเสียกิริยากระมัง ท่านจึงอนุญาต.
ข้อ ๒๐ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.
ข้อนี้ห้ามการฉันทีละมาก ๆ คนตุ่ยแก้ม เหมือนคนเป่าขลุ่ย ของ
อื่นท่านอนุญาต แต่ต้องรู้จักผ่อน ควรปล่อยแต่ที่จำเป็น.
ข้อ ๒๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ.
ถ้าข้าวสุกติดกรังมือ ให้ล้างด้วยน้ำ.
ข้อ ๒๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก.
ข้อนี้ห้ามไม่ให้ปล่อยเมล็ดข้าวอันเหลือจากที่เข้าปาก ตกร่วงลง
มาในบาตรก็ดี ที่พื้นก็ดี.
ข้อ ๒๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลลิ้น.
ข้อ ๒๔ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดับจับ ๆ.
ข้อ ๒๕ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซูด ๆ.
เสียงดังจับ ๆ นั้น เกิดในขณะเคี้ยวของแข้น เสียงดังซูด ๆ นั้น

เกิดในขณะซดของเหลว พึงระวัง.
ข้อ ๒๖ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
คำว่าเลียมือในที่นี้ ไม่หมายเอาเพียงแลบลิ้นเสียอามิสอันติดมือ
แม้เอานิ้วเล็มอามิสอันติดมือนั้นเข้าปาก ก็จัดว่าเลียมือเหมือนกัน.
ข้อ ๒๗ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันของบาตร.
ข้าวสุกเหลือน้อยไม่พอเป็นคำ ห้ามไม่ให้กวาดตะล่อมรวมเป็น
คำฉัน ทำเช่นนั้นเรียกว่าฉันขอดบาตร.
ข้อ ๒๘ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
ข้อ ๒๙ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อน
อามิส.
ธรรมเนียมพระฉันในครั้งก่อน ฉันอิ่มแล้วจึงรับน้ำ ห้ามไม่ให้
รับด้วยมือข้างที่เปื้อน. ในบัดนี้ รับน้ำพร้อมกับอาหาร พึงเข้าใจว่า
ห้ามไม่ให้เอามือเปื้อนจับโอน้ำนั้น ถ้ามือเปื้อนทั้ง ๒ ข้าง จะต้อง
ล้างเสียก่อนแท้.
ข้อครบ ๓๐ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ด
ข้าวในละแวดบ้าน.
ข้อนี้ หมายเอาการฉันในบ้านเสร็จแล้ว ล้างบาตรเทที่นั่น. ใน
ครั้งนั้นน้ำไม่มีกากข้าว ท่านคงเห็นไม่เป็นอะไร จึงห้ามแต่ที่มีเมล็ดข้าว
ในบัดนี้ แม้น้ำไม่มีกากข้าว ก็หาควรเทไม่. เทในกระโถนที่เขาจัดไว้
ได้อยู่ เขาคงเอาไปเทอีกต่อหนึ่ง ถ้าเทเองในที่ไม่ใช่สำหรับเทของ
ก็ไม่ควรเหมือนกัน.

ธรรมเนียมฉันอาหารนี้ ควรถือเป็นหลักได้แต่ใจความ คือต้อง
การความเรียบร้อย อย่ามัวหลงในพลความ คืออาการที่กล่าวไว้ เพราะ
อาการที่กล่าวไว้นั้น กล่าวตามนิยมในครั้งนั้น ครั้นธรรมเนียมเปลี่ยน
แปลงมา ขืนทำไปตามนั้น กลายเป็นสกปรกหรือมูมมามไปก็มี ชี้
ตัวอย่างให้เห็นได้ ในชั้นผู้ดี เขาใช้บริโภคอาหารด้วยช้อนกับซ่อม
หรือด้วยช้อนกับตะเกียบ ฝ่ายพระมัวหลงไปตามอาการที่กล่าวในเสขิยะ
ยังใช้เปิบด้วยมือ ดูเป็นเปรอะเปื้อนสกปรก เป็นที่รังเกียจของผู้อังคาส
อันเป็นชั้นผู้ดี ควรสำเหนียกวิธีฉันให้ถูกตามนิยมในสมัย.
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อในธรรมเนียมฉัน ฉันมูมมามสกปรก น่าชัง
ถูกปรับอาบัติทุกกฏ. ภิกษุผู้ตั้งใจจะรักษาธรรมเนียม แต่ทำพลาด
ด้วยไม่แกล้ง ด้วยเผลอ ด้วยไม่รู้ และภิกษุผู้อาพาธ ได้รับยกเว้น
ตามเคย.
ธัมมเทสนาปฏิสังยุต หมวดที่ ๓
มี ๑๖ สิกขาบท ๑๑ ข้างต้น ว่าด้วยอาการของบุคคลดังนี้ :-
พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้
๑. มีร่มในมือ ๒. มีไม้พลองในมือ ๓. มีศัสตราในมือ ๔. มีอาวุธ
ในมือ ๕. สวมเขียงเท้า ๖. สวมรองเท้า ๗. ไปในยาน ๘. อยู่บน
ที่นอน ๙. นั่งรัดเข่า ๑๐. พันศีรษะ. ๑๑. คลุมศีรษะ.
ไม่พลองนั้น ยาวขนาด ๕ ศอก สำหรับใช้ตี เป็นคู่กับไม้
ตะบองหรือไม้สั้น ขนาด ๑ ศอก อันสำหรับใช้ตีเหมือนกัน แต่
หาได้กล่าวไว้ในที่นี้ไม่. ศัสตรากับอาวุธเป็นคู่กัน ต่างกันอย่างนี้

ศัสตรานั้น ได้แก่เครื่องประหารมีคม เช่นดาบและหอก. อาวุธนั้น
ได้แก่เครื่องยิง เช่นศรและปืน. คำว่ามีของเหล่านี้ในมือนั้น หมาย
อาตลอดถึงผูกสอดของเหล่านี้อยู่ในตัว. แต่ในอรรถกถา ท่านอนุญาต
ศัสตราวุธที่สวมอยู่ในตัว แต่ไม่ได้กุม. ข้อนี้น่าจะหมายเอาพวกทหาร
ผู้ผูกสอดศัสตราวุธ และพวกพลเมืองผู้พกศัสตราอยู่กับตัว เช่นพวก
มลายูและพวกชวาพกกฤชฉะนั้น. การผูกสอดและพกศัสตราวุธเช่นนี้
เป็นตามธรรมเนียมของพวกชอบรบชอบสู้ ไม่ใช่แสดงความดุร้าย
ท่านผ่อนให้ก็ชอบอยู่. เขียงเท้ากับรองเท้าต่างกันอย่างนี้ : เขียงเท้า
มีส้น, รองเท้าไม่มีส้น. แต่บางทีรองเท้าชนิดที่ห้ามไม่ให้ภิกษุใช้
ก็พลอยถูกเรียกว่าเขียงเท้าด้วย. ร่มและเขียงเท้ารองเท้านี้ ครั้งโบราณ
ถือว่าเป็นเครื่องไม่เคารพ จึงห้ามไม่ให้กั้นร่มและสวมรองเท้าผ่านลาน
พระเจดีย์ แต่ธรรมเนียมนี้ ย่อมเปลี่ยนแปลงมา ชั้นคนสุภาพใช้สวม
เขียงเท้าเข้าสมาคมนั้น ๆ ตลอดถึงราชสมาคม กิริยาที่ไม่สวมเสียอีก
กลับเป็นหมิ่นหรือเลว. เพ่งความนี้แล้วควรอนุญาตเขียงเท้าที่สวมแล้ว
เป็นแสดงความสุภาพหรือความเคารพ เว้นไว้แต่เขียงเท้ารองเท้าที่
สำหรับสวมอยู่ที่บ้านที่เรือน สวมเข้าสมาคมเป็นดูหมิ่น. ยานนั้น คง
หมายเอาชนิดที่ใช้หามหรือใช้ลาก อย่างไปคนเดียว ถ้าเป็นชนิดใหญ่
นั่งไปด้วยกัน แสดงได้อยู่. ผ้าโพกนั้น ในบางประเทศ เขาใช้กัน
เป็นพื้นเมือง เช่นแขกบางพวก และพวกพม่าเป็นต้น เพ่งธรรมเนียม
นี้กระมัง พระอรรถกถาจารย์จึงจำกัดห้ามเฉพาะผู้โพกศีรษะมิด ไม่
เห็นปลายผมจุก แปลว่า ถ้าไม่พันจนมิดปลายผมจุก ใช้ได้. ในบัดนี้

คนทั้งหลายใช้หมวกกันเป็นพื้น ควรจะเทียบด้วยผ้าโพก เขาสวมหมวด
แสดงความไม่เคารพ ใช้ไม่ได้. ถ้าสวมตามธรรมเนียมของเขา เช่น
พวกทหารในสนาม เห็นว่าใช้ได้.
ข้อ ๑๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เรานั่งอยู่ที่แผ่นดิน จักไม่แสดง
ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ.
ข้อ ๑๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดง
ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง
ข้อ ๑๔ ว่า พึงทำศึกษาว่า เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่
คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งอยู่.
ข้อ ๑๕ ว่า พึงทำศึกษา เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดง
ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า.
ข้อ ๑๖ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดง
ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไปอยู่ในทาง.
ธรรมเนียมภิกษุ ถืออิริยาบถยืนเป็นเคารพ จึงห้ามไม่ให้ยืน
แสดงธรรมแก่ผู้นั่ง ยืนทั้งผู้แสดงทั้งผู้ฟัง ได้อยู่. แม้ในอิริยาบถเสมอ
กัน ยังถือสูงถือต่ำ ถือหน้าถือหลัง, นั่งต่ำ แสดงธรรมแก่คนนั่ง
สูงกว่า ห้าม, ยอมแต่นั่งเสมอกัน. เดินหน้าเดินหลัง เดินในทาง
นอกทาง ก็เหมือนกัน.
ในบาลีกล่าวถึงคนไม่เจ็บไข้ไว้ทุกแห่ง แปลว่า ยกเว้นให้ใน
เมื่อเขาเจ็บไข้ เช่น นั่งแสดงธรรมแก่คนเจ็บผู้นอนอยู่บนที่นอนก็ได้
แต่บางอย่างหรือโดยมาก ไม่เกี่ยวกับคนเจ็บเลย เช่น มีพลอง หรือ

ศัสตราวุธในมือ. น่าจะเห็นว่า บทว่าไม่เจ็บไข้ เติมขึ้นทีหลัง ใน
เมื่อปรารภถึงประโยชน์พิเศษอันจะพึงให้แก่คนไข้ เมื่อเติมเข้า ไม่เติม
ทั้งหมด ก็ลักลั่น ครั้นเติมเข้าทั้งหมด ก็เป็นอย่างนี้. ตามความ
พอใจของข้าพเจ้า ไม่เติมเสียเลยดีกว่า ในสิกขาบทใด คนไข้ควร
ได้รับประโยชน์พิเศษ ก็แก้ไว้ในอนาบัติวาร. เมื่อไม่แก้ตามนี้ จึงไม่มี
อะไรจะแก้ เก็บเอาข้อยกเว้นตามเคยมาแก้ ดูเขวไป. อนึ่ง การ
ห้ามแสดงธรรมแก่คนมีอาการไม่เคารพนั้น ก็ด้วยความนับถือเชิดชู
ธรรม น่าจะเห็นว่า เป็นข้อที่พระสาวกตั้งมากกว่าพระศาสดาทรงเอง.
นี้เป็นข้ออันหนึ่ง ซึ่งนักวินัยควรดำริ. ในหมวดนี้ มีปรับอาบัติ
ทุกกฏแก่ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ขืนล่วงตามเคย.

ปกิณณกะ หมวดที่ ๔
มี ๓ สิกขาบท แสดงโดยสังเขปดังนี้ :-
พึงทำศึกษาว่า เราไม่อาพาธ ๑. จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ หรือ
ปัสสาวะ ๒. จักไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะบนของสด
เขียว ๓. จักไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะในน้ำ.
เป็นธรรมเนียมของภิกษุ นั่งถ่ายปัสสาวะ และทิ้งสิ่งโสโครก
ในนาในไร่ที่เขาปลูกพืช และในน้ำที่บริโภคใช้สอยไม่ได้. ลานหญ้าที่
เขารักษาในบัดนี้ สงเคราะห์เข้าในของเขียวสด ภูตคามที่เขาไม่ได้รักษา
เป็นแต่ขึ้นรก หาได้จัดเข้าในที่นี้ไม่. น้ำนั้น ไม่บ่อในสระที่คนขุด
ไว้ใช้ก็ตาม ในที่ขังอยู่เอง เช่นในหนองในบึงก็ตาม ในที่น้ำไหล
เช่นในคลองในแม่น้ำก็ตาม ห้ามทั้งนั้น เว้นไว้แต่น้ำที่ไม่ใช้บริโภค

เช่นน้ำเน่า น้ำทะเล. ในคราวที่มีน้ำท่วม ไม่มีที่บกจะถ่าย ห่าน
อนุญาต. คนสามัญ มักเห็นการถ่ายของโสโครกลงในน้ำไหลไม่เป็นไร
แต่พวกภิกษุเข้าใจมาก่อนแล้วว่า ทำน้ำให้เสีย จึงมีธรรมเนียมห้าม
ตลอดถึงน้ำไหล แต่ธรรมเนียมนี้ ละเอียดเกินไปสำหรับคนพื้นเมือง
จึงไม่มีใครรู้ถึง. ในหมวดนี้ มีปรับอาบัติทุกกฏ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
และมีข้อยกเว้นตามเคย.



กัณฑ์ที่ ๗ ปาจิตตีย์

กัณฑ์ที่ ๗
ปาจิตตีย์

ศัพท์นี้ แก้ไว้แล้วในกัณฑ์ที่ ๖ ปาจิตตีย์ที่ไม่ต้องให้เสียสละ สิ่งของ เรียกให้แปลกจากนิสสัคคิยปาจิตตีย์ว่า สุทธิกปาจิตตีย์ แปลว่า ปาจิตตีย์ล้วน แต่ในบาลีเรียกเพียงปาจิตตีย์.

สิกขาบทในกัณฑ์นี้มี ๙๒ จัดเข้าเป็น ๙ วรรค ๆ ละ ๑๐ สิกขาบท เว้นไว้แต่สหธรรมิกวรรคที่ ๘ มี ๑๒ สิกขาบท.

มุสาวาทวรรคที่ ๑

สิกขาบทที่ ๑ ว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชานมุสาวาท.

สัมปชานุสาวาทนั่น คือรู้ตัวอยู่กล่าวเท็จ พึงรู้โดยลักษณะอย่างนี้:

เรื่องเป็นอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ผู้พูดจงใจจะพูดให้คลาดจากความจริง พูดหรือแสดงอาการอย่างอื่น ด้วยเจตนานั้น ให้ผู้ฟังเข้าใจเป็นอย่างอื่นจากความจริง. แสดงเพียงประโยคกาย เช่นเขียนหนังสือแสดงความไม่จริง ก็สำเร็จเป็นการกล่าวเท็จเหมือนกัน นับเข้าในข้อนี้ด้วย มุสวาทในสิกขาบทนี้ เพ่งอาที่ไม่ได้กล่าวไว้ในสิกขาบทอื่น เพราะเหตุนั้น ภิกษุกล่าวมุสาวาทอันจะพึงปรับด้วยสิกขาบทอื่นมีโทษแรงกว่าก็ดี หรือเป็นปาจิตตีย์เสมอกันก็ดี พึงปรับด้วยสิกขาบทนั้น กล่าวมุสาวาทพ้นจากนั้น พึงปรับเป็นปาจิตตีย์
ด้วยสิกขาบทนี้.

อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ. เพราะเหตุนั้น พูดด้วยสำคัญผิดก็ดี พูดพลั้ง คือพูดโดยด่วนไม่ทันยั้งก็ดี พูดพลาด คือใจคิดอย่างหนึ่งปากพูดอย่างหนึ่งก็ดี ไม่เป็นอาบัติ.

รับคำของเขาด้วยคู่ที่ ๑๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความกระโหย่ง เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความรัด.

กิริยาที่เดินกระโหย่ง คือเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า ห้ามในข้อต้นท่านต้องการให้เดินเหยียบพื้นเต็มเท้า.

กิริยาที่นั่งยอง เอามือกอกเข่าก็ดี เขาผ้ารัดรอบก็ดี ห้ามในข้อหลัง.

นั่งกอดเข่านั้น ในประเทศนี้ก็ใช้กันอยู่ ส่วนนั่งเอาผ้ารัดนั้นหาใช้กันไม่ ได้เห็นในรูปภาพโบราณคนอ้วนใช้กันมาก เป็นเครื่องช่วยกำลังทรงกาย.

ในเสขิยสิกขาบท ไม่ได้ปรับอาบัติไว้โดยตรง มีแต่เพียงว่า พึง
ทำศึกษา. ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำให้ผิด
ธรรมเนียมไป ต้องทุกกฏ. มีตั้งใจจะทำให้ถูกธรรมเนียม แต่ล่วงไป
ด้วยไม่แกล้ง ด้วยเผลอ ด้วยไม่รู้ตัว หรือไม่รู้จักจะทำให้ถูก และ
อาพาธ ไม่อาจจะรักษากิจวัตรให้เรียบร้อยได้ ท่านยกเว้นให้ ไม่ปรับ
อาบัติ. และภิกษุผู้เข้าพักอยู่ในบ้าน เป็นการแรมคืนหรือแรมวัน จะ
ละจากอาการนั้น ๆ อันจะทำเสมอไปไม่ได้ เช่นปกปิดกาย และทอด
จักษุเป็นต้นก็ได้ ไม่มีโทษ อาการเช่นใดทำในวัดได้ อาการเช่นนั้น
ทำในบ้านที่เข้าอยู่แรมได้ แต่พึงทำในห้องที่พักที่เขาจัดให้สำหรับตน
ออกพ้นจากสำนักตน เช่นไปสู่เรือนหรือห้องของผุ้อื่น ควรประพฤติตามธรรมเนียมเข้าบ้าน.


โภชนปฏิสังยุต หมวดที่ ๒

มี ๓๐ สิกขาบท แต่ไม่ได้จัดเป็นคู่อย่างสารูป.

ข้อ ๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักรับบิณฑาบาตโดยเอื้อเฟื้อ.

ข้อนี้สอนให้แสดงความเอื้อเฟื้อในบุคคลผู้ให้ ไม่ดูหมิ่น และให้แสดงความเอื้อเฟื้อในของที่เขาให้ ไม่ทำดังรับเอามาเล่น หรือเอามาทิ้งเสีย.

ข้อ ๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักจ้องในบาตรรับบิณฑบาต.

ข้อนี้ห้ามไม่ให้แลดูหน้าทายก หรือแลเหม่อไปทางอื่น.

ข้อ ๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.

ศัพท์ว่า สูปะนี้ ในที่อื่นแปลว่าแกง แต่พระคันถรจนาจารย์จะเห็นว่าเป็นของเหลวรับมาไม่ได้กระมัง จึงแก้ไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า สุปะนั้น ทำด้วยถั่วเขียวบ้าง ด้วยถั่วขาวบ้าง จับได้ด้วยมือ ดูเป็นทีกบ
ข้าว แต่กับข้าวในที่อื่น เรียกกว่าพยัญชนะ. เพราะท่านแกไว้อย่างนี้ความถือของภิกษุทั้งหลาย จึงเป็นไปเฉพาะแกงที่เข้าถั่ว เป็นการที่จิตบริสุทธ์แล้ว ทำให้คลาดในภายหลัง เช่นรับนิมนต์ว่าจะไปแล้ว
ภายหลังหาไปไม่ เรียกปฏิสสวะ ท่านปรับเป็นอาบัติทุกกฏไว้ในที่อื่น.

สิกขาบทที่ ๒ ว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท.

โอมสวาทนั้น คือคำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ พึงรู้โดยลักษณะ
อย่างนี้ : ผู้พูดปรารถนาจะทำให้ผู้ที่ตนมุ่งเจ็บใจ หรือได้ความอัปยศ
พูดหรือแสดงอาการอย่างอื่นด้วยเจตนานั้น ให้ผู้ที่ตนมุ่งรู้ความแห่ง
คำพูดที่พูด หรืออาการที่แสดงนั้น ใช้เป็นเครื่องเสียดแทงเพื่อเจ็บใจ
วัตถุสำหรับอ้างขึ้นกล่าวเสียดแทงนั้น คือ ชาติ ได้แก่ชั้นหรือกำเนิด
ของคน ๑ ชื่อ ๑ โคตร คือ แช่ ๑ การงาน ๑ ศิลปะ ๑ โรค ๑
รูปพรรณสัณฐาน ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำสบประมาทอย่างอื่นอีก ๑
รวมเป็น ๑๐ นี้เรียกว่าอักโกสวัตถุ แปลว่า เรื่องสำหรับด่า.
กิริยาพูดเสียดแทงนั้น เป็นไปโดยอาการ ๒ สถาน แกล้งพูด
ยกยอด้วยเรื่องที่ดีกระทบถึงชาติเป็นต้น ซึ่งเรียกว่า แดกบ้าง ประชน
บ้างอย่าง ๑ พูดกดให้เลวลง ซึ่งเรียกว่าด่า ๑ ตามความแห่งสิกขา-
บท ไม่ได้แสดงโดยเฉพาะว่า พูดเสียดแทงใคร แต่ในคัมภีร์วิภังค์
แสดงในนิทานว่า ภิกษุต่อภิกษุพูดเสียดแทงกัน, ในวาระแจกอาบัติ
ท่านจึงแสดงว่า กล่าวเสียดแทงอุปสัมบันโดยจัง ๆ เป็นปาจิตตีย์
กล่าวเสียดแทงอุปสัมบัน แต่ไม่เจาะตัว ว่าเปรย ๆ ก็ดี กล่าวเสียด
แทงอนุปสัมบันด้วยอาการทั้ง ๒ นั้นก็ดี เป็นทุกกฏ. ไม่ได้เพ่งความ
เจ็บใจหรือความอัปยศ พูดล้อเล่น แต่กระทบวัตถุ มีชาติเป็นต้น

เหมือนกัน มุ่งอุปสัมบันก็ตาม อนุปสัมบันก็ตาม พูดเจาะตัวก็ตาม
พูดเปรยก็ตาม เป็นทุพภาษิตเสมอกัน อาบัติทุพภาสิตนี้มาในวิภังค์
แห่งสิกขาบทนี้แห่งเดียว.

อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะเหมือนกัน เพราะฉะนั้น มุ่งอรรถมุ่งธรรมมุ่งสั่งสอนเป็นเบื้องหน้า กล่าวถึงชาติเป็นต้นของเขาไม่เป็นอาบัติ.


สิกขาบทที่ ๓ ว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะส่อเสียดภิกษุ.

คำส่อเสียด เรียกโดยชื่อว่า เปสุญญวาท พึงรู้โดยลักษณะอย่างนี้ :
ฟังคำของข้างนี้แล้ว เก็บเอาไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายข้างนี้ ฟังคำของข้างโน้นแล้ว เก็บเอามาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายข้างโน้นด้วยปรารถนาว่า ตนจะได้เป็นที่ชอบของเขาบ้าง ด้วยปรารถนาจะให้แตกกันเป็นการทอนกำลังเขาลงบ้าง.

 วัตถุสำหรับเก็บเอามาส่อเสียดนั้น ๑๐ อย่าง เหมือนวัตถุสำหรับกล่าวเสียดแทง ตัวอย่าง เช่นฟังคำ
ของฝ่ายหนึ่งแล้ว บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่งว่า คนนั้นเขาพูดเหน็บแนมท่านกระทบชาติว่าอย่างนั้น ๆ.

 ส่อเสียดภิกษุต่อภิกษุด้วยกัน ต้องปาจิตตีย์ ข้างหนึ่งเป็นอุปสัมบัน อีกข้างหนึ่งเป็นอนุปสัมบัน หรือเป็นอนุปสัมบันทั้ง ๒ ข้าง ส่อเสียด ต้องทุกกฏ.

เขาจะแตกกันก็ตามไม่แตกกันก็ตาม ไม่เป็นประมาณ ส่อเสียดคงต้องอาบัติตามวัตถุ.

ได้ฟังมาแล้ว บอกด้วยปรารภเหตุอย่างอื่นไม่ได้ปรารถนาจะให้ตนเป็นที่ชอบของเขา และไม่ได้ปรารถนาจะให้เขาแตกกัน ไม่เป็นอาบัติ.

สกขาบทนี้ ดูเหมือนปรารภเรื่องอันจริง ถ้าภิกษุพูดเท็จยุยงให้แตกกัน จะต้องอาบัติโดยฐานไหน ? ในเรื่องอันเดียว ยังไม่พบแบบที่จะปรับอาบัติต่างวัตถุ จะปรับรวมทั้งเพราะพูดมุสา ทั้งเพราะพูดยุยงให้เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว ต่างวัตถุกันไม่ได้.

มีตัวอย่างเช่น พูดเท็จโจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ปรับเป็นปาจิตตีย์เพราะโจทอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล.

ในที่นี้มุ่งจะยุยงให้เขาแตกกันเป็นใหญ่ ชอบให้ปรับด้วยสิกขาบทนี้ แต่ถ้าอาบัติที่จะพึงปรับใน
สิกขาบทนี้ เป็นเพียงทุกกฏ และเห็นว่าอ่อนเกินไป คำมุสาในที่นี้ แรงกว่ามุสาสับปลับ ความพอใจของข้าพเจ้า จะใคร่ยกอาบัติที่แรงกว่าขึ้นปรับ ในที่นี้อาบัติเพราะมุสาวาทแรงกว่า ความปรับเป็นปาจิตตีย์.

ข้าพเจ้าฝากความข้อนี้ไว้ เพื่อพระวินัยธรพิจารณาต่อไป.

สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท เป็นปาจิตตีย์.

อนุปสัมบันนั้น คือคนอันไม่ใช่ภิกษุ มิใช่ภิกษุณี.

ในบางสิกขาบท มุ่งเอาเฉพาะผู้ชายก็มี เช่นสิกขาบทว่าด้วยนอนร่วมกับอนุปสัมบันต่อไปนี้. ในบางสิกขาบท มุ่งทั้งผู้ชายทั้งผู้หญิงก็มี เช่นในสิกขาบทนี้. ธรรมนั้น คือบาลีแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ท่านเรียงไว้ โดยเป็นภาษิตของพระพุทธเจ้าบ้าง โดยเป็นภาษิตของพระสาวกบ้าง โดยเป็นภาษิตของฤษีบ้าง โดยเป็นภาษิตของเทวดาบ้าง. ให้กล่าวธรรมโดยบทนั้น คือสอนให้ว่าพร้อมกัน. ว่าขึ้นพร้อมกัน จบพร้อมกัน เรียกว่าให้กล่าวโดยบท.

ภิกษุว่านำขึ้นอนุปสัมบันรับบทต่อลงไป แล้วว่าไปด้วยกันจนจบ เรียกว่าให้กล่าวโดยอนุบท, ในบทเดียว ขึ้นอักษรร่วมกันบ้าง ไม่ร่วมกันบ้างเรียกว่าให้กล่าวโดยอนุพยัญชนะ.

ทั้ง ๔ อย่างนี้ ให้ต้องอาบัติเหมือนกัน เป็นอาบัติมากน้อย ตามประโยคที่สอนให้ว่าพร้อมกัน
กำหนดด้วยขึ้นและลงคราวหนึ่ง ๆ.

อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ เพราะเหตุนั้น แม้ภิกษุตั้งใจจะระวัง ไม่ว่าพร้อมกัน แต่พลาดว่าพร้อมกันเข้า เป็นอาบัติเหมือนกัน. สวดพร้อมกัน ท่องพร้อมกัน ทักอนุปสัมบันผู้ว่าผิดสวดผิดกลางคัน ไม่นับว่าสอนให้ว่าธรรมโดยบท ไม่เป็นอาบัติ.

การสอนให้ว่าธรรมโดยบท ซึ่งกล่าวถือในสิกขาบทนี้ เป็นวิธีที่ใช้สอนให้จำ ในยุคที่ยังไม่ได้ใช้หนังสือ. วิธีนี้ได้เคยใช้มาในวัดทั้งหลาย มีภาษาเรียกว่าต่อหนังสือค่ำ.

ข้อที่ว่า ห้ามไม่ให้ว่าพร้อมกันนั้น ปรากฏในนิทานแห่งสิกขาบทแล้ว เพื่อจะไม่ให้ศิษย์หมิ่นครู.

สิกขาบทที่ ๕ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันยิ่งกว่า ๒-๓ คืน เป็นปาจิตตีย์.

อนุปสัมบันในที่นี้ หมายเอาผู้ชายซึ่งมิใช่ภิกษุ การนอนร่วม
นั้น หมายความอย่างไร นอนในเครื่องลาดอันเดียวกัน หรือนอน
ในห้องเดียวกัน ? สันนิษฐานความตามนิทานต้นบัญญัติอันกล่าวว่า
ทรงบัญญัติเพื่อจะกันชาวบ้างไม่ให้เห็นกิริยานอนหลับของภิกษุ อัน
จะแสดงท่าทางวิปลาสผิดจากอาการของผู้สังวร อันไม่เป็นเครื่อง

เจริญใจของผู้ใดเห็น การนอนร่วมกันนั้น กำหนดด้วยนอนในที่
แลเห็นกันได้ในเวลาหลับ. ในคัมภีร์วิภังค์ท่านแจกที่นอนไว้ คือ ที่อัน
มุงทั้งหมด บังทั้งหมด และที่อันมุงโดยมากบังโดยมาก นี้ได้แก่เรือน
อันมีหลังคาและฝากั้น. ตามอรรถกถา ถ้ามีอุปจารคือทางเข้าทางออก
อันเดียวกัน แม้จะเป็นเรือนกี่ชั้นก็ตาม กี่ห้องก็ตาม ชื่อว่าที่นอน
เป็นอันเดียวกัน. ถือตามนัยของพระอรรถกถาจารย์นั้น ครั้งคนทำ
เหย้าเรือนยังไม่ใหญ่โตก็ไม่เป็นอะไร ในเวลาที่คนทำเรือนหลังเดียว
ใหญ่โต ทำเชื่อมเรือนหลายหลังให้เดินถึงกัน ถือตามนัยนั้นอยู่ข้า
ไม่สะดวก ที่พ้นวิสัยของภิกษุจะป้องกันได้ก็มี.
ข้าพเจ้าพอใจจะกำหนดเขตการนอนร่วม พอให้สมกับความ
มุ่งหมายเดิมของการบัญญัติสิกขาบทดังกล่าวแล้วนั้น คือ ในเรือน
มีหลายชั้น มีหลายห้อง เป็นที่อยู่ของคนมาก กำหนดเอาเฉพาะส่วน
เป็นที่อยู่ เป็นที่นอน ของบุคคลคนหนึ่ง ๆ เป็นเขตแห่งสหไสย
อันหนึ่ง ๆ เทียบตามเขตไม่อยู่ปราศไตรจีวรที่กำหนดด้วยเรือนของ
ต่างสกุล ให้ถือเอาห้องที่อยู่ของสกุลหนึ่ง ๆ เป็นเขต. อาการที่
นอนร่วมนั้น คือ เหยียดการพร้อมกัน ใครเหยียดก่อนใครเหยียด
หลัง หรือเหยียดพร้อมกัน ไม่เป็นประมาณ สุดแต่เหยียดร่วมกัน
เข้า เรียกว่านอนร่วม จะหลับหรือไม่หลับ ไม่นับในที่นี้. เมื่อมีพระ
พุทธานุญาตให้นอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๒-๓ คืน เพราะปรารภ
สามเณร ซึ่งเข้าใจว่าเกิดมีเมื่อภายหลัง ผลที่มุ่งหมายแห่งพระ
บัญญัติก็ไม่สำเร็จจริง กลายถือเป็นพิธีไป. เมื่อกำหนด ๓ คืนเป็น

เขตแล้ว คำว่า ๒ คืน ในสิกขาบท ไม่มีประโยชน์ ไม่ให้สำเร็จ
ความเข้าใจว่าอย่างไร เป็นศัพท์เกินก็ไม่ใช่ เพราะในที่อื่นก็มี หรือ
คำอื่น เช่นวาจา ๕-๖ คำก็มี ต้องเข้าใจว่า เป็นความนิยมของภาษา
เอง พูดสำหรับให้เกลี้ยงเกลา. เพราะการนอนกำหนดด้วยราตรี
นอนร่วมในกลางวันท่านจึงไม่นับ. และกำหนดว่า ล่วงราตรีนั้น
นับเอาเป็นอรุณขึ้นเหมือนในสิกขาบททั้งหลายอื่น, นอนมาเท่าไรก็ตาม
จวนเวลาอรุณลุกขึ้นเสีย นับว่านอนร่วมไม่ได้. เป็นประเพณีที่ถือกัน
มาว่า ภิกษุกับอนุปสัมบันเหยียดกายร่วมกัน ในเขตสหไสยเดียวกัน
ผ่านเวลาอรุณขึ้นกี่ครั้ง นับว่านอนร่วมเท่านั้นคืน. นอนร่วมได้
๒ คืนแล้ว ในคืนที่ ๓ ให้พรากกันเสีย หรือให้ลุกขึ้นเสียฝ่ายหนึ่ง
ก่อนเวลาอรุณขึ้น. เมื่อได้ทำอย่างนั้นแล้ว หักราตรีที่นอนร่วมลง
ได้หมด นับตั้ง ๑ ไปใหม่. ถ้านอนร่วมล่วง ๓ คืนแล้ว ในคืนที่ ๔
ตั้งแต่ตะวันตกแล้วไป เหยียดกายร่วมกันไม่ได้แม้ขณะหนึ่ง ถ้านอน
ร่วมกันลง ต้องปาจิตตีย์ นับเท่าประโยคที่นอนร่วมลง กำหนด
ด้วยลุกขึ้นของฝ่ายหนึ่งเป็นคราว ๆ.
อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ แม้นับราตรีพลาดก็ไม่พ้น.
สถานที่มุงกึ่งบังกึ่ง ท่านว่าเป็นเขตแห่งอาบัติทุกกฏ ตัวอย่าง
เช่นไร ยังนึกไม่ออก. สถานที่มุงหมด แต่ไม่ได้บังเลย เช่นศาลา
โถงก็ดี สถานที่บังหมด แต่ไม่ได้มุงเลย เช่นคอกก็ดี สถานที่มุงโดย
มาก แต่ไม่ได้บังโดยมาก เช่นศาลาโถงนั้น อันมุงไว้ไม่หมด และ
กั้นฝาไว้โดยเอกเทศไม่ถึงครั้ง ไม่จัดเป็นเขตสหไสย. นอนด้วยกัน

ในนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
ขอผู้ศึกษาวินัยจงเห็นเถิดว่า การถือสิกขาบทนี้กลายมาเพียงไร
จนไม่สำเร็จความมุ่งหมายเดิม ตกเป็นสักว่าธรรมเนียมเสียแล้ว คงให้
สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวแต่เพียงให้ตื่นเช้า. ไม่ควรถือเอาธรรมเนียม
นี้ เป็นเครื่องข่มภิกษุอื่นผู้ประพฤติบกพร่องในสิกขาบทนี้ เพราะ
ถืออย่างไรก็ตาม ผลย่อมไม่แปลกกัน. อันที่จริง ควรจะถือให้เป็น
ประโยชน์จริง ๆ สักอย่าง คืออย่านอนร่วมในห้องเดียวกันกับ
สามเณรหรือศิษย์ ในเมื่อมีช่องที่จะหลบหลีกได้ ถือได้เพียงเท่านี้
ก็ดีนักหนา.
สิกขาบทที่ ๖ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม
เป็นปาจิตตีย์.
มาตุคามในที่นี้ หมายเอาหญิงมนุษย์ แม้เกิดในวันนั้น. อธิบาย
ทั้งปวง พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน แปลกแต่ใน
สิกขาบทนี้ เป็นอาบัติตั้งแต่คืนต้น, พอตะวันตกแล้ว เหยียดกาย
ร่วมกันก็ต้องอาบัติ. บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉา ตัวเมีย ท่านกล่าวว่า
เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ. ดิรัจฉานตัวเมียนั้น จำพวกมีทวารใหญ่
พอจะเสพเมถุนได้ ถ้าหมายเฉพาะทวารหนักทวารเบาก็พอฟังได้ ถ้า
หมายถึงปากอยู่ข้างจะมากความ พาให้รังเกียจกันมาจนตุ๊กแก อยู่
ข้างจะน่าหัวเราะ.
สิกขาบทที่ ๗ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด แสดงธรรมแก่มาตุคาม ยิ่ง
กว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่บุรุษผู้รู้เดียงสา มีอยู่ เป็นปาจิตตีย์.

มาตุคามในที่นี้ หมายเอาหญิงมนุษย์ผู้รู้เดียงสา.
สิกขาบทที่ ๘ ว่า ภิกษุใด บอกอุตตริมนุสสธรรม ของ
ตน แก่อนุปสัมบัน เป็นปาจิตตีย์ เพราะมีจริง.
สิกขาบทที่ ๙ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ
แก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นปาจิตตีย์.
อาบัติชั่วหยาบนั้น ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า ปาราชิก ๔ และสังฆา-
ทิเสส ๑๓ แต่ในอรรถกถาว่า ในสิกขาบทนี้ หมายเอาสังฆาทิเสส
อย่างเดียว. แต่ท่านยอมไว้แล้วว่า บุคคลต้องปาราชิก ภิกษุสำคัญว่า
บริสุทธ์ ด่าว่า ต้องปาจิตตีย์ด้วยโอมสวาทสิกขาบท, ภิกษุบอก
อาบัติปาราชิกของบุคคลนั้น น่าจะต้องปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้ แต่ท่าน
ยังถือคำของพระอรรถกถาจารย์เดิมเป็นประมาณ อ้างว่าเป็นผู้รู้พระ-
พุทธาธิบาย.
พึงรู้ความมุ่งหมายแห่งสิกขาบทนี้ว่า ทรงบัญญัติไว้เพื่อจะห้าม
ไม่ให้ภิกษุเอาความเสียของกันไปประจาน หากว่ารูปหนึ่ง รู้ว่า
อีกรูปหนึ่งต้องปาราชิก ไม่ตักเตือนเจ้าตัวเอง หรือไม่โจทขึ้นใน
สงฆ์ตามธรรมเนียม เอาไปบอกแก่อนุปสัมบัน ด้วยปรารถนาจะ
ข้อนขอด จะปล่อยให้รอดไปจากสิขาบทนี้เทียวหรือ ? ข้าพเจ้าเห็น
ไม่พ้น เพราะเหตุนั้น เห็นว่าคำในคัมภีร์วิภังค์กล่าวไว้กว้างดีแล้ว
แต่เพื่อจะแก้ความดื้อด้านของภิกษุบางรูป ได้ทรงพระอนุญาตให้สงฆ์
สมมติภิกษุใช้ให้ไปบอกได้. สมมตินั้น กำหนดอาบัติก็มี กำหนด
สกุลก็มี ไม่กำหนดก็มี. ภิกษุผู้สมมติอย่างใด ต้องบอกอย่างนั้น

ทำนอกทำเหนือไป ต้องปาจิตตีย์เหมือนกัน ไม่ต้องกล่าวถึงภิกษุผู้
ไม่ได้รับสมมติ. บอกอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องทุกกฏ.
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ขุดก็ดี ให้ขุดก็ดี ซึ่งปฐพี
เป็นปาจิตตีย์.
ในคัมภีร์วิภังค์แจกปฐพีเป็น ๒ ปฐพีแท้ เรียกว่าชาตปฐพี
ปฐพีไม่แท้ เรียกอชาตปฐพี. ปฐพีแท้นั้น คือ มีดินร่วนล้วน มีดิน
เหนียวล้วน หรือมีของอื่นเช่นหินกรวดกระเบื้องแร่และทรายน้อย มี
ดินร่วนดินเหนียวมาก. ดินนี้ ประสงค์เอาที่ยังไม่ได้เผาไฟ. กองดิน
ร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี ที่ฝนตกรดเกิน ๔ เดือนมาแล้ว นับเข้า
ในปฐพีแท้เหมือนกัน. ปฐพีไม่แท้นั้น เป็นหินเป็นกรวดเป็นกระเบื้อง
เป็นแร่ เป็นทรายล้วน หรือมีดินร่วนดินเหนียวน้อย เป็นของอื่นมาก.
ดินที่ไฟเผาแล้ว เป็นปฐพีไม่แท้. กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี
อันฝนตกรดยังหย่อนกว่า ๔ เดือน นับเข้าในปฐพีไม่แท้.
สิกขาบทนี้ ไม่มีอะไรบ่งชัด น่าจะเป็นอจิตตกะ แต่ท่านกล่าว
ว่า อาบัติเป็นสจิตตกะ จะเล็งเอาว่า ภิกษุเดินไปไม่ตั้งใจ แต่ทำ
ดินให้เป็นรอย ไม่เป็นอาบัติกระมัง ? ศัพท์ว่าขุด บ่งความอยู่แล้ว
ว่าทำเช่นไร เดินไปเหยียบดินที่อ่อน หวำเป็นรอยเท้า ไม่เรียกว่า
ขุด. ภิกษุขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ซึ่งปฐพีแท้ แม้จะสำคัญว่า
มิใช่ ดูเหมือนไม่มีคำอะไรในสิกขาบทจะยกเป็นเครื่องแก้ตัว. พูด
แสดงความประสงค์ให้เขารู้ แต่ไม่ใช่เป็นคำใช้ให้ทำ ท่านว่าไม่เป็น
อาบัติ.

สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติขึ้นตามความเข้าใจในสมัยหนึ่งว่า ปฐพี
เป็นของมีอินทรีย์ ไม่จำเป็นต้องพิถีพิถัน ทำอย่างไรท่านว่าไม่เป็น
อาบัติ ก็เป็นอันใช้ได้.
ภูตคามวรรคที่ ๒
สิกขาบทที่ ๑ ว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความถูกพรากแห่ง
ภูตคาม.
ภูตคามนั้น เป็นศัพท์พิเศษ แปลตามพยัญชนะว่าอย่างไร ไม่
แน่แก่ใจ จะกล่าวมากไปก็จะเฝือ ในที่นี้หมายเอาพืชพันธ์อันเป็น
อยู่กับที่. ท่านแจกไว้ ๕ ชนิด พืชเกิดจากเง่า คือใช้เง่าเพาะ เช่น
ขมิ้น ๑ พืชเกิดจากต้น คือตอนออกได้จากไม้ต้นทั้งหลาย มีต้นโพธิ์
เป็นอาทิ ๑ พืชเกิดจากยอด คือใช้ยอดปักก็เป็น ได้แก่ผักต่าง ๆ
มีผักชีล้อมเป็นอาทิ ๑ พืชเกิดจากเมล็ด คือใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่
ข้าว ถั่ว งา ๑.

กล่าวตามอรรถกถานัย พืชพันธ์อันถูกพรากจากที่แล้ว แต่
ยังจะเป็นได้อีก เรียก พืชคาม. ภูตคามเป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์.
พีชคามเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. ภิกษุพรากเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นพรากก็ดี
ซึ่งภูตคาม ต้องปาจิตตีย์. ทำลายเองก็ดี ใช้ผู้อื่นให้ทำลายก็ดี ซึ่ง
พีชคาม ต้องทุกกฏ.
อาบัติในสิกขาบทนี้ ท่านกล่าวว่าเป็นสจิตตกะเหมือนกัน ชะรอย
จะสนนิษฐานว่า สิกขาบทนี้มีความมุ่งหมายอย่างเดียวกันกับสิกขาบท

ห้ามขุดดินกระมัง. อธิบายทั้งปวงพึงรู้โดยนัยในสิกขาบทนั้น.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น
ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก.
มีอธิบายดังนี้ : ภิกษุถูกโจทด้วยอนาจาร คือความประพฤติ
ไม่ดีไม่งาม และถูกซักอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะให้การ
ตามตรง เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย อย่างนี้ เรียกว่ากล่าว
คำอื่น. อีกอย่างหนึ่ง ไม่ทำดังนั้น ถูกซักเข้า นิ่งเฉยเสียไม่ตอบ
อย่างนี้ เรียกว่ายังสงฆ์ให้ลำบาก. ภิกษุทำเช่นนี้ มีพระพุทธานุญาต
ให้สงฆ์สวดประกาศข้อความนั้น ด้วยญัตติทุติยกรรม อย่างต้นเรียกว่า
ยกอัญญวาทกกรรมขึ้น. อย่าหลังเรียกว่ายกวิเหสกกรรมขึ้น. เมื่อ
สงฆ์ยกกรรม ๒ อย่างนั้นขึ้นแล้ว หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุ
ขืนทำซ้ำอย่างนั้นอีก ต้องปาจิตตีย์แต่ละอย่าง ๆ. เมื่อสงฆ์ไม่ได้
ทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุทำอย่างนั้น ต้องทุกกฏ.
อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ ถ้ากรรมนั้น สงฆ์ทำเป็น
ธรรมแล้ว มีเจตนาอย่างไรก็ตาม ทำอย่างนั้น คงไม่พ้นอาบัติ.
เว้นไว้แต่อาการที่แสดงนั้น ไม่จัดว่าเป็นการกลบเกลื่อนหรือทำให้
ลำบาก เช่นไม่เข้าใจคำถามแล้วย้อนถาม หรือเจ็บให้การไม่สะดวก.
ความแห่งสิกขาบทนี้ ควรเป็นแบบสำหรับภิกษุ เมื่อถูกไต่สวนใน
อธิกรณ์แล้ว จะพึงเคารพในสงฆ์ผู้นั่งพิจารณา และให้การตามสัตย์
ตามจริง ไม่ทำอาการดูหมิ่น เอาเรื่องอื่นเข้ามากลบเกลื่อนเล่น
สำนวน หรือนิ่งเฉยเสียไม่ให้การทีเดียว.

สิกขาบทที่ ๓ ว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้โพนทนา
ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.
มีอธิบายดังนี้ : มีเป็นธรรมเนียมอยู่ในหมู่สงฆ์ จะสมมติภิกษุ
บางรูปไว้ทำกิจสงฆ์ เช่นเป็นผู้จัดเสนาสนะให้อยู่ เป็นผู้แจกอาหาร
และอื่น ๆ อีก ภิกษุผู้ไม่ได้รับประโยชน์ที่พอใจ เช่นได้เสนาสนะ
ที่เลวและอาหารที่ทราม คือถูกแสดงให้ไปรับในสำนักของทายกผู้
ยากจน ไม่ได้ช่องจะไปในสำนักของทายกผู้มั่งมี ที่จะได้ของประณีต
ด้วยไม่เข้าใจธรรมเนียมที่ท่านแจกว่าอย่างไร หรือด้วยกำลังโทมนัส
พูดกล่าวโทษท่านต่อหน้าภิกษุอื่น อย่างนี้เรียกว่าโพนทนา ไม่ทำ
อย่างนั้น เป็นแต่พูดติท่าน หรือแสดงความขัดใจของตนลำพังผู้เดียว
ไม่ตั้งใจจะให้ใครฟัง อย่างนี้เรียกว่า บ่นว่า. เมื่อท่านทำหน้าที่
ของท่านเป็นธรรม ภิกษุผู้โพนทนาก็ดี ผู้บ่นว่าก็ดี ต้องปาจิตตีย์.
ในคัมภีร์วิภังค์กล่าวว่า ภิกษุโพนทนาก็ดี บ่นว่าก็ดี ต่อหน้า
อุปสัมบัน ต้องปาจิตตีย์ ต่อหน้าอนุปสัมบัน ต้องทุกกฏ. ท่าน
กล่าวอย่างนี้ หมายความอย่างไร ความแห่งสิกขาบทหาได้ระบุไว้
ชัดไม่ นักวินัยพึงดำริหาเหตุดูเถิด. โพนทนาหรือบ่นว่าภิกษุที่สงฆ์
ไม่ได้สมมติ แต่ทำการสงฆ์ตามลำพังตนเอง ต้องทุกกฏ. ถ้าท่านทำ
การไม่เป็นธรรม ลำเอียงด้วยอคติจริง ๆ โพนทนาบ่นว่า ท่านว่า
ไม่เป็นอาบัติ. ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าใจความข้อนี้ว่า ถ้าท่านทำ
การไม่เป็นธรรม พูดขึ้นตามเหตุ ไม่มีเจตนาจะแส่โทษหรือข้อนขอด
จึงไม่เป็นอาบัติ ถ้ามุ่งจะโพนทนาหรือบ่นว่าให้เสียชื่อ เห็นไม่พ้นจาก

อาบัติทุกกฏ เพราะไม่เป็นธรรมเนียมที่ดี ซึ่งจะพึงอำนวยให้ทำได้.
สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด วางไว้แล้วก็ดี ให้วางไว้
แล้วก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ฟูกก็ดี เก้าอี้ก็ดี อันเป็นของสงฆ์ใน
ที่แจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่งเสนาสนะที่วางไว้
นั้น หรือไม่บอกสั่ง ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.
ในสมัยมิใช่ฤดูฝน มีพระพุทธานุญาตให้วางเสนาสนะไว้ได้ ใต้
ปะรำ ใต้ต้นไม้ ที่นกกาจะไม่ถ่ายมูลรดได้. ของสงฆ์เป็นวัตถุแห่ง
ปาจิตตีย์ ของบุคคลนอกจากของตนเอง เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. ของ
ตนเอง เป็นวัตถุแห่งอนาบัติ. ในสิกขาบทระบุชนิดของไว้ชัด
เสนาสนะอย่างอื่น มีเสื่อและแผ่นกระดานเป็นต้น ทั้งของสงฆ์ ทั้ง
ของบุคคล ท่านว่าเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. เสนาสนะที่ระบุชื่อไว้ใน
สิกขาบทนั้น เพียงเอาไปใช้ในที่แจ้งไม่ห้าม แต่ไม่ให้ทอดทิ้งไว้
เพราะเหตุนั้น เมื่อจะหลีกไป เก็บเองหรือใช้ให้เขาเก็บ หรือเป็น
แต่เพียงบอกมอบหมายคนอื่นก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ. นั่งอยู่ก่อน มี
ใครมานั่งภายหลัง เป็นธุระของเขา หรือเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ไปโดยด่วน
ไม่เป็นอาบัติ. เอาของเช่นนั้นออกตาก ไม่นับเข้าในที่นี้.
สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติเพื่อจะกันความสะเพร่า และเพื่อให้รู้จัก
ถนอมของ ควรถือเป็นแบบอย่าง.
สิกขาบทที่ ๕ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ปูแล้วก็ดี ให้ปูแล้วก็ดี ซึ่ง
ที่นอน ในวิหารเป็นของสงฆ์ เมื่อหลีกไป ไม่เก็บก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี
ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกสั่ง ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.

ที่นอนในที่นี้ หมายเอาฟูกเสื่อและผ้าปูนอน และของชนิด
เดียวกัน ไม่ได้หมายเอาเตียงเอาม้าซึ่งเป็นของใช้ตั้ง. วิหารนั้น ได้แก่
ที่อยู่ ซึ่งในบัดนี้เรียกว่า กุฎี ทั้งนั้น. วิหารของสงฆ์ เป็นวัตถุ
แห่งปาจิตตีย์ ของบุคคลอื่นนอกจากของตน เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
ของตน เป็นวัตถุแห่งอนาบัติ. ส่วนที่นอนนั้น ไม่ได้ระบุชัด
ในสิกขาบทว่าของใคร ในอรรถกถากล่าวดูทีเป็นของสงฆ์เหมือนกัน
อธิบายความไปตามนิทานแห่งสิกขาบทว่า ทำอย่างนั้นทั้งที่นอน
ทั้งเสนาสนะ คือกุฎี อาจเป็นอันตรายเพราะปลวกกัด.
แต่ข้าพเจ้าเข้าใจว่า สิกขาบทนี้ เพ่งถึงการกีดที่กีดทาง ที่
นอนนั้น จึงไม่น่านิยมเจ้าของ เป็นของใครก็ตาม ก็เพ่งถึงการทำ
ของเสีย แก้ว่าเป็นของสงฆ์ก็ชอบอยู่. เพราะในสิกขาบทกล่าวถึง
ที่นอน ตั้งเตียง ตั้งตั่ง ทิ้งไว้ในวิหารแม้เป็นของสงฆ์ ท่านปรับ
เป็นเพียงทุกกฏ. เตียงตั่งเป็นของใหญ่ ตัวกีดที่มาก จัดเป็นวัตถุ
แห่งทุกกฏ อยู่ข้างจะเพลา. ในอรรถกถาแก้ว่า เตียงตั่งปลวกไม่อาจ
กัดทันที ตั้งทิ้งไว้ จึงเป็นเพียงทุกกฏ. อนึ่ง กล่าวถึงวิหาร ท่าน
จึงแก้ว่า อุปัฏฐานศาลา คือโรงฉันและที่อื่น เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
มีอธิบายในอรรถกถาว่า ในที่เช่นนั้นอาจเสียเพียงที่นอน เสนาสนะ
ไม่เสีย ท่านจึงกล่าวว่าเป็นเพียงทุกกฏ. กิริยาหลีกไปในสิกขาบทนี้
หมายความว่าไปไม่กลับ ถ้าไปยังจะกลับ ไม่นับว่าทิ้งของไว้ ยังไม่เก็บ
ก็ไม่เป็นอาบัติ. อธิบายนอกจากนี้ เหมือนในสิกขาบทก่อน.
สิกขาบทนี้ ควรเป็นแบบอย่างภิกษุผู้จะไปอยู่ที่อื่น ไม่ควรจะทอด

ทิ้งสิ่งของ ๆ ตนไว้ ให้กีดเสนาสนะของสงฆ์ที่ภิกษุอื่นจะอยู่ต่อไป.
สิกขาบทที่ ๖ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ สำเร็จการนอนเข้าไป
เบียดภิกษุผู้เข้าไปก่อน ในวิหารของสงฆ์ ด้วยหมายว่า ความคับ
แคบจัดมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นจักหลีกไปของ ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้น
ให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
อธิบายว่า ถ้าวิหารนั้นเป็นของสงฆ์ และมีภิกษุแก่กว่า หือ
ภิกษุไข้เข้าอยู่ก่อน ภิกษุใดรู้อยู่ เข้าไปอยู่ เข้าไปนอนแทรกแซง
ในอุปจาร คือที่ใกล้แห่งเตียงก็ดี แห่งตั้งก็ดี แห่งทางเข้าทางออกก็ดี
ไม่มีเหตุอย่างอื่นที่ควรจะทำอย่างนั้น ต้องปาจิตตีย์. ทำในวิหารของ
บุคคล นอกจากของตนเอง ต้องทุกกฏ. ทำในอุปจารแห่งวิหารก็ดี
ในที่อื่นอันไม่ใช่ที่อยู่เฉพาะตัว เช่นในอุปัฏฐานศาลาก็ดี ในประรำ
ในโคนไม้ ในที่แจ้งก็ดี ต้องทุกกฏ. ทำในวิหารของตน ไม่เป็น
อาบัติ. แม้ในวิหารของสงฆ์ เมื่อมีเหตุอื่นที่จำจะเข้าไป เช่นเจ็บไข้
ถูกหนาว ถูกร้อนเหลือทน หรือมีภัยอันตราย เช่นถูกคนไล่ตาม
จะทำร้าย เข้าไปขออาศัย ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติไว้ เพื่อจะให้นับถือกรรมสิทธิ์ของท่าน
ผู้อยู่ก่อน ในที่อันเป็นสาธารณ์แก่ภิกษุด้วยกัน.
สิกขาบทที่ ๗ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี
ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุ จากวิหารของสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์.
ความมุ่งหมายของสิกขาบทนี้ ดูเหมือนจะห้าไม่ให้แย่งที่อยู่กัน
จะเข้าใจว่า ติดต่อมาจากสิกขาบทก่อน คือเข้าไปนั่งเบียดนอนเบียด

ด้วยหมายจะให้ท่านผู้อยู่ก่อนหลีกไปเอง ครั้นไม่สำเร็จเข้าฉุดคร่าขับ
ไปเสีย ก็ไม่ผิด. ขนเอาบริขารออก ต้องทุกกฏ อธิบายนอกจากนี้
พึงรู้โดยนัยในสิกขาบทก่อน.
ขับสันธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกผู้ประพฤติไม่ชอบก็ดี ขับภิกษุ
ผู้ไม่สมควรจะให้อยู่ก็ดี จากสำนักของตน ไม่นับเข้าในสิกขาบทนี้.
สิกขาบทที่ ๘ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่ง
เตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ [ในตัวเตียง] บนร้าน ในวิหาร
เป็นของสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์.
เตียงมีหลายชนิด ชนิดที่กล่าวถึงในสิกขาบทนี้ เขาทำเอาเท้า
เสียบเข้าไปในแม่แคร่ ไม่ได้ตรึงสลัก เรียกทับศัพท์ว่า อาหัจจบาท.
ร้านในที่นี้ คือโครงที่ตั้งขึ้นในวิหาร ปักเสาเตาหม้อขึ้นแล้ววางรอด
บนนั้น สูงพอศีรษะไม่กระทบพื้น ถ้าไม่ใช้ปูพื้นข้างบน ก็เอาเตียง
วางลงไป ให้พื้นเตียงคานรอดอยู่ ขาเตียงห้อยลงไป ใช้อยู่ได้
ทั้งข้างบนข้างล่าง ร้านข้างบนนั้น เรียกทับศัพท์ว่า เวหาสกุฎี.
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เสนาสนะอย่างนี้ ใช้กันมาแต่ครั้งคนยังไม่รู้จัก
ทำเรือนหลายชั้น แม้ในภายหลังคงจะใช้ในโรงที่มีพื้นล่างเป็นดิน
อยู่บนนั้นจะได้ไม่ชื้น. ต้นบัญญัติแห่งสิกขาบทนี้ว่า ภิกษุรูปหนึ่ง
นั่งบนเตียงนั้นโดยแรง เท้าเตียงหลุดลงมาถูกศีรษะภิกษุข้างล่าง
จึงได้ทรงห้ามไม่ให้นั่งนอนบนเตียงเช่นนั้น อันอยู่บนร้าน ความ
ก็ชัดแล้ว แต่อย่างไรจึงกล่าวถึงวิหารของสงฆ์ซ้ำ ในคัมภีร์วิภังค์
ยกเอาเป็นวัตถุแห่งติกปาจิตตีย์ด้วย ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ เห็นความ

สำคัญอยู่ที่ชนิดของเตียงและร้านต่างหาก หรือจะถือว่าวิหารเป็น
ของสงฆ์ ที่เป็นที่อยู่ของภิกษุอื่นอีกด้วย เช่นภิกษุบางรูปจะได้รับแจก
เสนาสนะข้างบนร้าน บางรูปจะได้รับข้างล่าง เช่นนี้ก็พอไปได้ แต่
แปลว่า ทรงห้ามไม่ให้ใช้ร้านเช่นนี้เป็นเสนาสนะต่อไป เว้นไว้แต่
จะเป็นของที่ทำให้แน่นหนา. เพราะเหตุนั้น ในคัมภีร์วิภังค์จึงกล่าวว่า
ถ้าร้านสูงไม่พ้นศีรษะ ข้างล่างไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่ก็ดี ข้างบนปูพื้นไว้ก็ดี
เท้าเตียงเท้าตั่งนั้นได้ตรึงสลักกับตัวเตียง เมื่อนั่งลงไปจกไม่หลุดลงมา
ก็ดี นั่งทับนอนทับ ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๙ ว่า อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำซึ่งวิหารใหญ่ จะวางเช็ด
หน้าเพียงไรแต่กรอบแห่งประตู จะบริกรรมช่องหน้าต่าง พึงยืนใน
ที่ปราศจากของสดเขียว อำนวยให้พอกได้ ๒-๓ ชั้น. ถ้าเธออำนวย
[ให้พอก] ยิ่งกว่านั้น แม้ยืนในที่ปราศจากของเขียวสด ก็เป็น
ปาจิตตีย์.
บาลีแห่งสิกขาบทนี้ เข้าใจอยากทั้งศัพท์ทั้งความ ข้าพเจ้า
ไม่อาจรับรองว่า คำที่แปลไว้นั้นเป็นถูก จะกล่าวถึงแง่ที่ควรพิจารณา
ก็ยืดยาวเกินต้องการในที่นี้ จะขอกกล่าวไว้แต่เพียงมูลเหตุแห่งบัญญัติ
พอเป็นทางดำริของนักวินัย ในนิทานกล่าวไว้ว่า พระฉันนะให้พอก
ให้โบกวิหารทำสำเร็จแล้วบ่อย ๆ เข้า วิหารหนักทนไม่ไหวก็พังลง
ท่านจึงเก็บรวบรวมหญ้าและไม้ ได้ยังนาข้างเหนียวของพราหมณ์
ผู้หนึ่งให้เสียหาย พระศาสดาทรงปรารภเรื่องนี้ จึงได้ทรงบัญญัติ
สิกขาบทนี้ไว้.

สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ รดก็ดี
ให้รดก็ดี ซึ่งหญ้าก็ดี ซึ่งดินก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
น้ำมีตัวสัตว์นั้น หมายเอาตัวสัตว์เล็ก ๆ อันอยู่ในน้ำ เช่น
ลูกน้ำ. เพราะคำว่า รู้อยู่ อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ แม่น้ำ
มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มี รดลง ไม่เป็นอาบัติ.

โอวาทวรรคที่ ๓

สิกขาบทในวรรคนี้ ปรารภถึงภิกษุณีทั้งนั้น สมควรจะแสดง
ความเกิดแห่งภิกษุณีก่อน. ในเวลาที่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ แผ่พระ
ศาสนาได้กว้างขวางออกไปแล้ว อนุมานว่าราวในมัชฌิมโพธิกาล
คือนับแต่เวลาได้ตรัสรู้มาแล้วจนถึงนิพพาน แบ่งเป็น ๓ ตอน อยู่ใน
ตอนกลาง พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระราชเทวีของพรเจ้า
สุทโธทนะพระพุทธบิดา พระมาตุจฉาของพระศาสดา ผู้อภิบาล
พระองค์มาแต่ยังทรงพระเยาว์ ตั้งแต่พระนางมหามายาพระพุทธ-
มารดาทิวงคตแล้ว ทรงปรารถนาจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี ได้ทูล
ขอพระพุทธานุญาตมาหลายครั้ง ยังไม่ประทาน ด้วยทรงพระพุทธ-
ดำริเห็นกาลข้างหน้าว่า เมื่อมาตุคามอุปสมบทได้ พระศาสนาจะไม่
ถาวร แต่ภายหลังครั้งเสด็จอยู่ในเมืองไพศาลี ท่านพระอานนท์กราบ
ทูลถามปัญหาว่า มาตุคามผู้บวชแล้ว มีทางจะบรรลุธรรมพิเศษได้
หรือไม่ ? เมื่อประทานพระพุทธวินิจฉัยว่า อาจอยู่ พระอานนท์
จึงทูลขอเพื่อทรงอนุญาตอุปสัมปทาแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็น
ภิกษุณี ทรงปรารภข้อว่า สตรีเป็นภัพพบุคคลได้เท่ากับบุรุษ จึง

ได้ทรงอนุมัติ และประทานพระพุทธานุญาต ให้พระนางมหาปชาบดี
โคตมีอุปสมบทเป็นภิกษุณี ด้วยยอมรับประพฤติธรรมบางประการ
โดยใจความ ก็คือจะยอมอ่อนน้อมเป็นรองภิกษุอยู่เสมอไป ไม่วาง
ตนเสมอกัน และจะยอมมีความประพฤติเป็นไปเนื่องด้วยภิกษุสงฆ์
ไม่อยู่เป็นอิสระตามลำพัง พระนางเธอได้เป็นภิกษุณีพระองค์แรก
ในพระพุทธศาสนา. ในลำดับนั้น ประทานพระพุทธานุญาตให้ภิกษุ
สงฆ์อุปสมบทพวกนางสากิยานี ผู้บริวารของพระนางมหาปชาบดี-
โคตมี ด้วยญัตติจตุตถกรรม. ในลำดับมา พวกหญิงเข้ามาขอ
อุปสมบท ถูกซักไล่เลียงอันตรายิกธรรมในสำนักภิกษุสงฆ์ มี
ความอับอาย จึงประทานพระพุทธานุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ซักไซ้ไล่-
เลียง และอุปสมบทในภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียวก็ดี ในภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
ยังไม่ทันได้รับในภิกษุสงฆ์ก็ดี เรียก "เอกโต อุปสมฺปนฺน" ไม่
จัดเป็นภิกษุณีเต็มที่ในสิกขาบท. ภิกษุณีผู้ได้รับอุปสมบทครบใน
สงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย เรียก "อุภโต อุปสมฺปนฺนา" จัดเป็นภิกษุณีเต็มที่
ในสิกขาบท.
ภิกษุณี มีสิกขาบทและขนบธรรมเนียม ซึ่งเรียกว่าสาชีพ
ทำนองเดียวกับภิกษุ แต่ถือสิกขาบทบางอย่างต่างจากภิกษุก็มี.
สิกขาบทของภิกษุณีนั้น ทรงบัญญัติโดยกวดขัน ตัดทางที่จะมีแพร่
หลายเสีย เพราะเหตุนั้น ภิกษุณีจึงได้สาบสูญมานานแล้ว ในครั้ง


ทำสังคายนาคราวแรก ไม่ได้กล่าวถึงเลย ในคราวที่ ๒ กล่าวถึงก็รัว
เต็มที ไม่ได้เกี่ยวในท้องเรื่อง ในคราวที่ ๓ กล่าวถึงนางสังฆมิตตา
ราชกุมารี พระราชบุตรีของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงผนวชเป็น
ภิกษุณี และมาประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ที่ลังกา ความจริงมีอยู่เพียงไร
ยังเป็นข้อจะพึงสันนิษฐาน. คราวนี้จักกล่าวถึงสิกขาบทต่อไป.
สิกขาบทที่ ๑ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับสมมติ สั่งสอนพวก
ภิกษุณี เป็นผาจิตตีย์.
เป็นธรรมเนียมของภิกษุณี จะต้องรับโอวาทจากภิกษุสงฆ์
ทุกกึ่งเดือน ถ้าล่วงคราว ต้องปาจิตตีย์ นี้เป็นธรรมประการหนึ่ง
ที่ตรัสอาสัญญาให้พระนางมหาปชาบดีโคตมียอมรับถือ เมื่อครั้งรับ
อุปสัมปทา. ภิกษุผู้จะสั่งสอนนางภิกษุณีนั้น ต้องเป็นผู้ที่สงฆ์สมมติ
ไว้, ภิกษุผู้ไม่ได้รับสมมติ สอนนางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า ถ้าภิกษุแม้ได้รับสมมติแล้ว เมื่อพระอาทิตยื
อัสดงแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๓ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณี
แล้วสั่งสอนพวกภิกษุณี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์. นี้สมัย
ในเรื่องนั้น คือภิกษุณีอาพาธ.
สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุ
สั่งสอนพวกภิกษุณี เพราะเหตุอามิส เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน เป็นปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด เย็บก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร
เพื่อภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๗ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนกันแล้ว เดินทางไกล
ด้วยกันกับภิกษุณี โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย
เป็นปาจิตตีย์. นี้สมัยในเรื่องนั้น ทางเป็นที่จะต้องไปด้วยพวกเกวียน
รู้กันอยู่ว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า.
สิกขาบทที่ ๘ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ชัดชวนแล้ว ขึ้นเรือลำเดียว
กับภิกษุณี ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก เป็น
ปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๙ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณี
แนะนำให้ถวาย เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่
ลับกับภิกษุณีผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทเหล่านี้ มีความกระจ่างแล้ว ทั้งล่วงเวลาเสียแล้ว
แม้มีข้อจะพึงกล่าวบ้าง ก็เกรงจะชักช้าด้วยไม่จำเป็น จึงงดไว้เสีย.
โภชนวรรคที่ ๔
สิกขาบทในวรรคนี้ ปรารภถึงโภชนะคือของฉัน สมควรจะ
แสดงโภชนะนั้นให้เข้าใจไว้ก่อน. ในคัมภีร์วิภังค์กล่าวโภชนะไว้ ๕
อย่าง คือข้าวสุก ๑ กุมมาส คือขนมสด ๑ สัตตุ คือขนมแห้ง ๑
ปลา ๑ เนื้อ ๑ ธัญญชาติทุกชนิดที่หุงให้สุกแล้ว เช่นข้าวจ้าว ข้าว
เหนียว หรือตกแต่งเป็นของต่างชนิด เช่นข้าวสุก ข้าวมัน ข้าวผัด

เป็นต้น นับเข้าในชื่อว่าข้าวสุกทั้งนั้น. กุมมาสนั้น คือขนมสด
มีอันจะบูดเมื่อล่วงกาลแล้ว เช่นแป้งจี่ ขนมด้วง ขนมครก เป็น
ตัวอย่าง. สัตตุนั้น ได้แก่ขนมแห้งที่ไม่บูด เช่นขนมที่เรียกว่าจันอับ
และขนมปังเป็นตัวอย่าง. ปลานั้น สงเคราะห์เอาหอย เอากุ้ง และ
สัตว์น้ำเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหารเข้าด้วย. เนื้อนั้น คือมังสะของสัตว์
บกและนกที่ใช้เป็นอาหาร. นี้เรียกว่าโภชนะ ๕ อย่าง. ส่วนผลไม้
ต่างชนิด และเง่าต่างชนิด มีเผือกมันเป็นต้น เรียกว่าขาทนียะ
ของขบของเคี้ยว ชะรอยจะเล็งความว่า เป็นของใช้กัดกินมาก่อน
ไม่นับเข้าในโภชนะ แต่จัดเป็นอาหารเหมือนกัน ท่านนับยิ่งหย่อน
กว่ากันอย่างไร จักมีแจ้งในสิกขาบท.
สิกขาบทที่ ๑ ว่า ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงฉันอาหารในโรงทาน
ได้ครั้งหนึ่ง ถ้าฉันยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.
อาหารในที่นี้ แสดงโดยศัพท์ว่าปิณฑะ แปลว่าก้อนข้าว ส่วน
คัมภีร์วิภังค์แก้ว่า โภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง. ความเข้าใจใน
โภชนะของผู้ศึกษาพระวินัยอยู่ข้างจะแคบ เพ่งเอาเฉพาะของกิน
ถ้าเพ่งตลอดมาถึงกิริยาที่กิน ความเข้าใจจะกว้างขวางออกไปกว่า.
กิริยาที่กินของสามัญชนมีต่างอย่าง เช่นเรียกว่ากินข้าวหรือกิน
อาหารบ้าง กินของว่างบ้าง. กินข้าวนั้น มีเวลาเป็นเครื่องกำหนด
เช่นเช้าเย็น หรือเติมกลางวันด้วย เป็นการกินเพื่ออิ่มหนำ เป็นเครื่อง
บำรุงชีวิต. ของที่กินในเวลานั้น คงมีข้าวและแกงกับ อันทำจากปลา
หรือเนื้อสัตว์ บ้างก็มีหวานเพิ่มขึ้นอีก. กินของว่างนั้น ไม่ใช่กิน

เพื่ออิ่มหนำเป็นเวลา ได้แก่อาการที่เรียกว่ากินจุบกินจิบในระหว่าง ๆ.
ของที่กินในเวลานั้น แม้เป็นของที่จัดว่าโภชนะก็มี เช่นขนม เป็น
ของกินแกล้มกับน้าชา แม้เช่นนั้น เขาก็ไม่เรียกว่ากินข้าวหรือกิน
อาหาร เพราะไม่ใช่กินจริงกินจัง. เมื่อเพ่งเฉพาะวัตถุที่กิน จึง
เข้าใจการกิน ๒ อย่างนั้นปนกันไปหมด ถ้าเพ่งกิริยาที่กิน คงจะ
เข้าใจได้ดี. กิริยาที่ฉันอาหารอันกล่าวถึงในสิกขาบทนี้ ได้แก่อย่าง
ที่เรียกว่ากินข้าว. อาหารในโรงทานนั้น ได้แก่ของที่เขาจัดไว้ไม่
เฉพาะบุคคล ไม่เฉพาะพวก เช่นไม่ได้เตรียมไว้ถวายภิกษุจำพวก
เดียว คนเดินทางหรือคนอดอยากก็อาศัยได้ อาหารในโรงทาน
เช่นนี้ ภิกษุไม่อาพาธ คืออาจจะออกจากโรงทานนั้นไปได้ พึงฉัน
ได้คราวเดียวในเวลามาถึงเข้า ถ้าฉันเกินกำหนดนั้น ต้องปาจิตตีย์.
ในคัมภีร์วิภังค์ ปรับอาบัติไว้ทุกคำกลืน. ความพอใจของข้าพเจ้าควรจะ
กำหนดด้วยครั้ง. ถ้าอาพาธจนถึงไปจากโรงทานนั้นไม่ได้ ฉันซ้ำไป
จนกว่าจะไปได้ ไม่เป็นอาบัติ. เว้นวันแล้วฉันอีกก็ได้ เช่นเดินทางมา
พักฉันวันหนึ่ง ขากลับพักฉันอีกวันหนึ่ง. เจ้าของเขานิมนต์แล้ว
อังคาสเอง ก็ฉันได้. ถ้าอาหารนั้น ไม่ได้ตั้งให้เป็นทนทั่วไป ไม่นับ
ในสิกขาบทนี้.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะ
ฉันเป็นหมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดู
ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่ขึ้นเรือไป
คราวใหญ่ คราวภัตรของสมณะ นี้สมัยในเรื่องนั้น.


ข้าพเจ้าจักอธิบายความตามเข้าใจกันมาก่อน. ในคัมภีร์วิภังค์
แก้ไว้ว่า ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป รบนิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ อย่างใดอย่าง
หนึ่งและกัน ตัดความสั้น รับนิมนต์ออกชื่อโภชนะแล้วฉัน ดังนี้
ชื่อว่าฉันเป็นหมู่. ตัวอย่าง เช่นเขานิมนต์ฉันขนมเบื้องหรือขนมจีน
ไม่มีสมัยดังระบุในสิกขาบท รับแล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์ทุกคำกลืน.
ในอรรถกถา ถือเอาการรับพร้อมกันในที่แห่งเดียวกันเป็นสำคัญ จะ
ฉันแห่งเดียวกัน หรือแยกกันไปฉัน ไม่เป็นประมาณ.
ในสมัยเหล่านั้น คราวอาพาธนั้น คือเวลาเจ็บ ไม่อาจจะไป
บิณฑบาตได้. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวรนั้น ไม่ได้กรานกฐิน เดือน ๑
ท้ายฤดูฝน ได้กรนกฐินเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือนในฤดูหนาว เรียกว่า
จีวรทานสมัยบ้าง จีวรกาลสมัยบ้าง. คราวที่จีวรนั้น คือเวลาที่
ภิกษุทำเอง. ในกาลก่อน ภิกษุตัดและเย็บจีวรใช้เองทั้งนั้น ชะรอย
จะไม่ชำนาญและมีกังวลมาก จึงได้ทรงอนุญาตประโยชน์พิเศษ
เฉพาะในเวลานั้นหลายประการ. คราวเดินทางไกลนั้น กำหนด
ตั้งแต่กึ่งโยชน์ขึ้นไป. คราวที่ขึ้นเรือไปนั้น คือเวลาไปทางเรือ
หาได้กำหนดว่าระยะไกลเท่าไรไม่ ควรจะเทียบกึ่งโยชน์ด้วยกัน.
คราวใหญ่นั้น คือภิกษุอยู่น้อยรูป บิณฑบาตพอฉัน ครั้นมาอยู่
มากขึ้น ได้ไม่พอ. คราวภัตรของสมณะนั้น คือเวลาที่พวกสมณะ
ด้วยกันนิมนต์ฉัน. เมื่อมีสมัยเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ฉันคณะโภชนะ
ได้ ไม่เป็นอาบัติ.
เมื่อถือเอาความเข้าใจอย่างนี้ จึงมีเป็นธรรมเนียมที่ถือกันมา

ว่า ทายกนิมนต์ออกชื่อโภชนะ ไม่รับ, ทายกผู้เข้าใจ จึงนิมนต์แต่
เพียงว่า นิมนต์รับบิณฑบาต หรือรับภิกษา หรือนิมนต์ฉันเช้า
ฉันเพล ดังนี้จึงรับได้.
เพราะคำว่าคณะในที่นี้ ท่านถือเอาความว่า ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป
ท่านจึงแก้ว่า ๒ รูป ๓ รูป ฉันด้วยกัน บิณฑบาตมาแล้วประชุมกัน
ฉัน ไม่เป็นอาบัติ. ภัตรมีชื่อต่าง ๆ มีนิตยภัตรเป็นต้น ไม่เป็นอัน
ออกชื่อโภชนะกระมัง ท่านจึงว่าไม่เป็นอาบัติ เพราะภัตรเหล่านั้น
ยกโภชนะทั้ง ๕ เสีย ไม่เป็นอาบัติทุกประการ.
ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่า แก้คณโภชนะเช่นนั้นถูก เพราะไม่ให้
ประโยชน์แก่ภิกษุผู้จะรับสมแก่สมัยก็มี มีทางจะเข้าใจได้อีกอย่างหนึ่ง
นั่งล้อมโภชนะฉัน เรียกสั้นว่า ฉันเข้าวง ชื่อว่าฉันเป็นหมู่.
ตามธรรมเนียมของพราหมณ์ก็ดี ของภิกษุก็ดี เวลาฉัน นั่งเรียง
เป็นแถว ไม่นั่งล้อมเป็นวง. บางทีจะห้ามการฉันเข้าวงอย่างนี้บ้าง
กระมัง. เมื่อถือเอาความเช่นนี้ ภิกษุผู้เดินทาง ผู้ไปทางเรือ
ผู้ตกอยู่ในคราวอัตคัด ได้รับประโยชน์จากพระพุทธานุญาต คงรู้สึก
สะดวกขึ้นมาก.
แต่เป็นความสะดวกแก่ภิกษุไข้อย่างไร ? เป็นความสะดวกใน
หน้าถวายจีวร และในคราวทำจีวรอย่างไร ? ยังไม่กระจ่างเหมือน
กัน. คณโภชนะนั้น คงหาเป็นของหรือกิจมีโทษแท้ไม่ จึงได
ประทานพระพุทธานุญาตเปิดให้บางสมัย และสมจะเป็นของหรือกิจ
เหมาะแก่สมัยทั้ง ๗ นั้นด้วย. ข้าพเจ้าขอฝากนักวินัยไว้เพื่อดำริต่อไป.


อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ ถ้าเป็นคณโภชนะ แม้
เข้าใจไปว่าไม่เป็น ก็คงเป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน. ไม่ใช่สมัยที่จะพึง
ได้รับอนุญาต แม้เข้าในไปว่าเป็นสมัย ก็คงไม่พ้นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๓ ว่า เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์เพราะโภชนะ
ทีหลัง. นี้สมยในเรื่องนั้น คือคราวเป็นไข้ คราวถวายจีวร คราว
ที่จีวร.
ในคัมภีร์วิภังค์อธิบายว่า ภิกษุรับนิมนต์ด้วยโภชนะทั้ง ๕
อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เว้นโภชนะนั้นเสีย ฉันโภชนะทั้ง ๕ อย่างใด
อย่างหนึ่งอื่น นี้เรียกว่าโภชนะทีหลัง. ถ้าเพ่งตลอดถึงกิริยาที่ฉัน ดัง
แนะไว้ในสิกขาบทต้นแห่งวรรคนี้ จึงเข้าใจได้ดีว่า ในสิกขาบทนี้
กล่าวถึงรับนิมนต์ฉันอาการไว้แห่งหนึ่งแล้วหาไปไม่ ไพล่ไปฉัน
อาหารในที่นิมนต์ทีหลังอันพ้องเวลากัน ดังนี้แล เรียกปรัมปรโภชนะ
หรือโภชนะทีหลัง. อย่างไรจึงทรงเปิดช่องให้ในสมัยทั้ง ๓ ดูน่าจะคิด
คงเป็นทางไม่ถึงเสียธรรมเนียม. อีกอย่างหนึ่ง ในนิทานแห่ง
สิกขาบททรงอนุญาตให้วิกัปได้ คือยกส่วนที่รับนิมนต์ไว้ก่อนนั้นให้
แก่ภิกษุอื่นเสีย ฉันโภชนะทีหลังได้. ในครั้งก่อนจะไม่ถือกันนัก
กระมัง แต่ในบัดนี้ ควรจะถือเอาอธิบายเช่นนี้ : ถ้าเขาไม่ได้
นิมนต์เฉพาะตน จะต้องการเพียงสักว่าภิกษุให้ครบจำนวนเท่านั้น
ภิกษุผู้เป็นภัตตุทเทสกะแจกส่วนมาถึงตน เช่นนี้จะรับวิกัปให้ภิกษุอื่น
ได้อยู่ แต่ถาเขานิมนต์เฉพาะตน จะวิกัปไม่ชอบ เว้นไว้แต่จะ
ตกลงกับผุ้นิมนต์ นิมนต์รับภิกษุที่เรียกว่ารับบาตร หรือบิณฑบาต

ไม่นับเข้าในสิกขาบทนี้. สิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะเหมือนกัน.
สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง เขาปวารณาภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล ด้วย
ขนมก็ดี ด้วยสัตตุผลก็ดี เพื่อนำไปได้ตามปรารถนา. ภิกษุผู้ต้อง
การ พึงรับได้เต็ม ๒-๓ บาตร. ถ้ารับยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์
ครั้นรับเต็ม ๒-๓ บาตรแล้ว นำออกจากที่นั้นแล้ว พึงแบ่งปันกับ
ภิกษุทั้งหลาย. นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
ขนมที่กล่าวถึงในสิกขาบทนี้ ท่านเพ่งเอาของขันหมาก ข้าว
สัตตุนั้น ท่านเพ่งเอาของเป็นเสบียงเดินทาง. รับเอาของเหล่านั้น
มากไป ทำให้ธุระเขาเสีย จึงทรงพระอนุญาตให้รับอย่างมากเพียง
เต็ม ๓ บาตร ออกมาจากที่นั้นแล้ว ให้บอกแต่ภิกษุอื่น แล้วแจก
ให้แก่เธอทั้งหลาย เพื่อจะได้ไม่เข้าไปอีก ไม่ทำตามนี้ ท่านปรับเป็น
ทุกกฏ. ฝ่ายภิกษุอื่นได้รับบอกแล้ว เข้าไปรับบ้าง ท่านปรับเป็นทุกกฏ
เหมือนกัน. เพราะท่านมุ่งเฉพาะของเป็นขันหมาก และของเป็น
เสบียงเดินทางเท่านั้น ท่านจึงแก้ว่า รับของที่ไม่ได้เตรียมไว้เพื่อธุระ
เช่นนั้นก็ดี รับของเหลือจากใช้ในธุระเช่นนั้นแล้วก็ดี รับของที่เตรียม
ไว้เพื่อธุระเช่นนั้น แต่เขาเลิกเสียแล้วก็ดี ไม่เป็นอาบัติ และท่าน
ปล่อยให้รับของญาติ ของคนปวารณา และรบเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
ได้. เมื่อรับของญาติ ของคนปวารณา ธุระของเขาย่อมจะเสียไป
ได้เหมือนกัน และรับเพื่อผู้อื่นได้นั้น ย่อมขัดต่ออธิบายข้างตน
ส่วนจัดหาเอาด้วยทรัพย์ของตนได้นั้น ไม่มีปัญหา.
ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าใจว่า สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติไว้เพื่อ

จะให้รู้จักประมาณ และเพื่อจะให้รักษาสกุลไม่ให้สึกหรอ แม้ใช่ใช่
ของเตรียมไว้เป็นขันหมาก หรือเป็นเสบียงเดินทาง เช่นของทำไว้
ขาย ก็น่าจะสงเคราะห์เข้าในสิกขาบทนี้ทั้งนั้น. เมื่อถือเอาความ
อย่างนี้ ปล่อยให้รับของญาติของคนปวารณาได้ ไม่สู้เป็นไร. นักวินัย
จงใคร่ครวญดูเถิด.
สิกขาบทที่ ๕ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ฉันเสร็จ ห้ามเสียแล้ว
เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี อันมิใช่แดน เป็น
ปาจิตตีย์.
สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติไว้ เพื่อจะรักษาหน้าของทายก. หากว่า
ภิกษุรับนิมนต์ไปฉันในที่แห่งหนึ่ง ได้อาหารไม่ถูกปาก จะฉันแต่
เล็กน้อย ห้ามของที่เขาเอามาอังคาสนั้นเสีย และจะไปฉันในที่อื่นอีก
ดูเหมือนทายกผู้นั้นไม่สามารถจะเลี้ยงให้อิ่มหนำ ทำให้เขาได้อับอาย
ดังมีแจ้งในนิทานต้นบัญญัตินั้นแล้ว เมื่อมีสิกขาบทนี้ขึ้น จะไม่สามารุ
ทำได้อย่างนั้น.
คำว่า ฉันเสร็จนั้น คือฉันอาหารอย่างที่เรียกว่ากินข้าว อิ่ม
หรือไม่อิ่มไม่เป็นประมาณ เป็นแต่เลิกเสียแล้ว. คำว่า ห้ามเสียแล้ว
นั้น คือห้ามโภชนะที่เขาเอามาประเคน ท่านแสดงไว้โดยลักษณะดังนี้:
กำลังฉันอาหารอยู่ เป็นองค์อัน ๑ เขาเอาโภชนะมาถวายอีก
เป็นองค์อัน ๑ เขาอยู่ในหัตถบาส เป็นองค์อัน ๑ เขาน้อยถวาย
เป็นองค์อัน ๑ ภิกษุห้ามเสีย เป็นองค์อัน ๑ พร้อมด้วยลักษณะนี้
ชื่อว่าห้ามอาหารเสียแล้ว. ภิกษุผู้เสร็จและห้ามเสียแล้วดังนี้ ใน

วันนั้นจะฉันอาหารได้เฉพาะของเป็นเดน.
ของเป็นเดนนั้น แจกเป็น ๒ คือของภิกษุไข้ฉันเหลือ เรียกว่า
เดนภิกษุไข้ ๑ ของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน ๑ ของเป็นเดนชนิดหลัง
นั้น คือของที่เป็นกัปปิยะควรฉันได้ ภิกษุรับประเคนแล้ว ฉันบ้าง
แล้ว ยังไม่ลุกจากอาสนะ ยกขึ้นส่งให้แก่ภิกษุผู้ห้ามอาหารแล้วใน
หัตถบาส บอกว่า พอแล้ว. เพราะเป็นของแกล้งทำดังนี้ ท่านจึง
เรียกว่า ของทำวินัยกรม ดูก็สมชื่อ. ของที่เป็นเดนอย่างนี้ น่าจะ
แลเห็นว่า ทรงอนุญาตเพื่อภิกษุผู้ฉันได้น้อย ไม่พอจะเลี้ยงร่างกาย
จำจะต้องฉันบ่อย ๆ แต่มีเหตุที่ต้องห้ามอาหารเสีย เช่นภิกษุมักเอาเจียน
มักอ้วก เป็นตัวอย่าง.
ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามเสียแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยว
ของฉัน อันมิใช่เดนอย่างใดอย่างหนึ่ง ขณะรับ ต้องทุกกฏ. ขณะ
กลืน ต้องปาจิตตีย์ ท่านปรับทุกคำกลืน. ของอื่นที่ไม่ใช้เป็นอาหาร
ไม่นับเข้าในสิกขาบทนี้.
สิกขาบทที่ ๖ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด นำไป ปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จ
ห้ามเสียแล้ว ด้วยของเคี้ยวก็ดี ด้วยของฉันก็ดี อันมิใช่เดน บอกว่า
เอาเถิด ภิกษุเคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม รู้อยู่ เพ่งจะหาโทษให้ พอเธอ
ฉันแล้ว เป็นปาจิตตีย์.
อธิบายทั้งปวง เหมือนในสิกขาบทก่อน เป็นแต่อาบัติในสิกขา-
บทนี้ เป็นสจิตตกะ.
สิกขาบทที่ ๗ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยว

ก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.
เวลาวิกาลในสิกขาบทนี้ ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า ตั้งแต่เที่ยงวันไป
แล้วจนอรุณขึ้น แต่เวลาวิกาลในสกขาบทที่ ๗ แห่งรัตตันธการวรรค
แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในภิกขุนีปาติโมกข์ ในคัมภีร์ภิกขุนีวิภังค์แก้ว่า
ตั้งแต่อาทิตย์อัสดงแล้ว จึงถึงอรุณขึ้น. ในสิงคาดลวาทสูตร
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค กล่าวถึงการเที่ยวซอกแซกในเวลาวิกาลว่า
เป็นอบายมุขนั้น ก็หมายความว่าเวลาค่ำ. โดยนัยนี้ เวลาวิกาลจึงมี
แก้เป็น ๒ ปริกัปต้น คงนับเวลาว่า กาลกับวิกาล, ปริกัปหลัง
คงนับเวลาว่า ปุเรภตร ก่อนฉัน คือเช้าชั่วเที่ยง ๑ ปัจฉาภัตร ทีหลัง
ฉัน คือในระหว่างเที่ยงแล้วก่อนค่ำ ๑ วิกาลคือค่ำ ๑ เวลาวิกาลใน
สกขาบทนี้ รับรองกันทั่วไปแล้วว่า ตั้งแต่เที่ยงวันไปแล้วจนอรุณขึ้น.
อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ. ในเวลาวิกาล ภิกษุเข้าใจ
ว่ายังเป็นกาล หรือสงสัย ฉันอาหาร คงไม่พ้นปาจิตตีย์ กาลิกอื่น
ไม่นับเข้าในสิกขาบทนี้ ฉันได้ตามกำหนดพระพุทธานุญาต.
สิกขาบทที่ ๘ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยว
ก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ทำการสั่งสม เป็นปาจิตตีย์.
การสั่งสมนั้น เรียกโดยศัพท์มคธว่า สันนิธิ ของเคี้ยวของ
ฉันอันรับประเคนแล้ว กล่าวคือถึงมือแล้วในวันนี้ เก็บไว้ล่วงคืน
เพื่อจะฉันในวันพรุ่ง ชื่อว่าเป็นสันนิธิ ฉันของนั้น เป็นปาจิตตีย์
ท่านปรับทุกคำกลืน. อาบัติในสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะเหมือนกัน.
สิกขาบทที่ ๙ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ใช่ผู้อาพาธ ขอโภชนะ

อันประณีตเห็นปานนี้ เช่นเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา
เนื้อ นมสด นมส้ม เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์.
ในของที่ระบุว่า เป็นโภชนะอันประณีตนั้น เป็นโภชนะอยู่ใน
ตัวก็มี คือ ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม, ที่เหลืออีก ๕ อย่าง เป็น
เภสัชก็ได้ ในที่นี้ พึงเข้าใจว่า เพ่งถึงของเหล่านี้ที่ใช้เป็นเครื่องปรุง
อาหาร. ภิกษุไม่ใช่ผู้อาพาธนั้น คือเว้นโภชนะอันประณีตเสีย ก็ยังมี
ผาสุกอยู่ได้.
อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะเหมือนกัน. ภิกษุผู้อาพาธ
เว้นของเหล่านี้เสีย ไม่มีผาสุก ขอเขาฉันได้. เมื่อภิกษุผู้อาพาธขอ
มาเพื่อประโยชน์ตน ภิกษุไม่ใช่ผู้อาพาธ พลอยฉันด้วยก็ได้ ภิกษุ
ไม่ใช่ผู้อาพาธ ขอต่อญาตหรือต่อคนปวารณาเพื่อประโยชน์ตนเอง
ขอต่อคนอื่นเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้อาพาธ ได้ทั้งนั้น ไม่เป็นอาบัติ
จ่ายเอาด้วยทรัพย์ของตน ไม่มีปัญหา.
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้
ล่วงช่องปาก เว้นไว้แต่น้ำและไม่ชำระฟัน เป็นปาจิตตีย์.
อาหารนั้น ในที่อื่นหมายเอาของที่เป็นยาวกาลิก แต่ในที่นี้
มียกเว้นแต่น้ำและไม่ชำระฟัน จึงหมายเองของที่จะพึงกลืนกินทั่วไป.
น้ำมัน พึงเข้าใจว่า น้ำโดยปกติ ไม่ใช่อาหารที่เป็นของเหลว
เช่นน้ำแกงหรือน้ำอ้อย. ไม้ชำระฟันนั้น พึงเข้าใจว่า ไม่ใช่เป็นของ
จะพึงกลืน. คำว่า ที่เขาไม่ได้ให้นั้น คือไม่ได้ประเคนให้ถึงมือ.
พึงรู้ลักษณะการประเคนนั้น ดังนี้ : ของที่จะพึงประเคนนั้น

ไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป พอคนปานกลางยกได้คนเดียว เป็นองค์
อัน ๑ ผู้ปะเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส เป็นองค์อัน ๑ เขาน้อมเข้า
มา เป็นองค์อัน ๑ กิริยาที่น้อมเข้ามาให้นั้น ด้วยกายก็ได้ ด้วย
ของเนื่องด้วยกายก็ได้ ด้วยโยนให้ก็ได้ เป็นองค์อัน ๑ ภิกษุรับด้วย
กายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ เป็นองค์อัน ๑.

การให้และการรับต้องตามลักษณะนี้ เว้นแต่โยนให้ ย่อมเป็น
ไปโดยเคารพในกันและกันทั้ง ๒ ฝ่าย เป็นกิริยางาม แต่โยนให้นั้น
ท่านจะหมายความอย่างไรไม่รู้ บางทีจะเป็นอาการให้ที่ใช่ให้ของเล็ก
น้อยแก่คนมากมาย ไม่ถือว่าเป็นการเสียกิริยากระมัง ? ตามลักษณะนี้
บิณฑบาตที่ทายกตักด้วยทัพพีถวาย ซึ่งนับว่าให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย
และภิกษุรับด้วยบาตร ซึ่งนับว่าด้วยของเนื่องด้วยกายเหมือนกัน
ชื่อว่าประเคนแล้ว. ของที่สตรีถวาย และภิกษุรับด้วยผ้าก็เหมือนกัน
เว้นแต่ห่างเกินงามที่จัดว่านอกหัตถบาส.
อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะเหมือนกัน. ภิกษุบวชใหม่เสมอ
ฉันของที่ไม่ได้รับประเคน คงไม่พ้นจากปาจิตตีย์.
มีพระพุทธานุญาตเฉพาะอาพาธในที่อื่นว่า เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
เช่นงูกัด กัปปิยการกไม่มี ถือเอายามหาวิกัติ ๔ อย่าง คือ มูตร
คูถ เถ้า ดิน ฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ. ในอรรถกถากล่าวว่า ภิกษุจะ
ตัดไม้เผาทำเถ้า หรือจะขุดปฐพีเพื่อจะเอาดินก็ได้ ไม่เป็นอาบัติปาจิตตีย์
เพราะโทษตัดไม้และขุดดิน.

อเจลกวรรคที่ ๕
สิกขาบทที่ ๑ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี
แก่อเจลกก็ดี แต่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือของตน
เป็นปาจิตตีย์.
อเจลกนั้น คือชีเปลือย. ปริพาชกนั้น คือนักบวชผู้ชาย นอก
พระพุทธศาสนา. ปริพาชิกานั้น คือนักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนา
ให้ของที่จะพึงกลืนกินแก่พวกนักบวชเหล่านั้นคนใดคนหนึ่งด้วยมือของ
ตน ต้องปาจิตตีย์. สั่งให้ ๆ ก็ดี วางให้ก็ดี ให้ของอนไม่พึงกลืนกินก็ดี
ท่านว่าไม่เป็นอาบัติ.
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า การถือประเคนนั้น คงเป็นธรรมเนียมใช่อยู่
ในพวกนักบวชเหล่าอื่นด้วย. ต่างพวกคงไม่ฉันของอันพวกอื่นรบ
ประเคน คงต้องการรับประเคนจากพวกนั้น เหมือนดังรับจากคฤหัสถ์.
เมื่อภิกษุให้ของเคี้ยวของกินด้วยมือตน ชื่อว่าวางตนเป็นอนุปสัมบัน
แก่นับบวชเหล่านั้น เขาคงหมิ่นได้ จึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามไว้
เพราะเหตุนั้น สั่งให้ ๆ ก็ดี วางให้ก็ดี ให้ของอย่างอื่นนอกจากของ
อันจะพึงกลืนก็ดี ท่านจึงว่าไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวต่อภิกษุอย่างนี้ว่า
ท่านจงมา เข้าไปสู่บ้านหรือสู่นิคมเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน. เธอยังเขาให้
ถวายแล้วก็ดี ไม่ให้ถวายแล้วก็ดี แก่เธอ แล้วส่งไปด้วยคำว่า ท่าน
จงไปเสีย การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นผาสุก
เลย การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมเป็นผาสุก ทำ

ความหมายอย่างนี้เท่านั้นแล ให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่ เป็น
ปาจิตตีย์.
ในคัมภีร์วิภังค์แสดงว่า ปรารถนาจะซิกซี้ ปรารถนาจะเล่น
ปรารถนาจะนั่งในที่ลับกับมาตะคาม หรือปรารถนาจะประพฤติอนาจาร
จึงไล่กลับเสีย. มีความปรารถนาเช่นนี้ ขับไล่เสีย เพื่อจะปิดบัง
ความนั้น ต้องปาจิตตีย์. เมื่อมีเหตุอย่างอื่น นอกจากจะปิดบังความ
เสียส่วนตัว เช่นบาตรของภิกษุนั้นเต็มแล้ว บอกให้กลับมาก่อน
ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๓ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนั่งแทรกแซงใน
สโภชนสกุล เป็นปาจิตตีย์.
ในสิกขาบทนี้ มีปาฐะอันจะพึงพิจารณาอยู่บทหนึ่ง คือ
"สโภชเน" อันเป็นคุณบทของปาฐะว่า "กุเล" ชะรอยท่านจะสัน-
นิษฐานว่า เป็นบทมีสนธิแทรกอยู่ และเข้าใจว่าเป็น "สอุโภชเน"
แปลว่า "มีคน ๒ คน" ในคัมภีร์วิภังค์จึงได้แก้ความไปตามนั้นว่า
สโภชนสกุลนั้น คือมีหญิงกับชาย ทั้ง ๒ คนยังไม่ออกจากกัน ทั้ง ๒
คนหาใช่ผู้ปราศจากราคะไม่ ฐานที่นั่งนั้น ก็แก้เป็นเรือนนอน. ใน
นิทานต้นบัญญัติ ก็เล่าเรื่องไปตามทำนองนี้ โดยใจความ ก็คือไป
นั่งกีดเขา ในเวลาที่เขาจะสุงสิงกัน. พระอรรถกถาจารย์เห็นแล้วว่า
เข้าในปาฐะนั้นว่า "สอุโภชเน" ผิด จึงแก้อีกปริกัปหนึ่ง "เป็น สะ
อักษร นำ โภชนะ ศัพท์ เข้าสมาสเป็น "สโภชเน" ซึ่งแปลว่า "เป็น
ไปกับด้วยโภชนะ" หรือ "มีโภชนะ" แต่แปลศัพท์โภชนะว่า โภคะ

และอธิบายความว่า หญิงกับชาย ชื่อว่าเป็นโภคะของกันและกัน
ฟังไม่ได้เสียจริง ๆ สู่อย่างก่อนก็ไม่ได้.
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ปาฐะนั้นเป็น สะ อักษร นำ โภชนะ ศัพท์ เข้า
สมาสเป็น "สโภชเน" แปลว่า "เป็นไปกับด้วยโภชนะ" หรือ
"มีโภชนะ" ถูกโดยไม่ต้องสงสัย แต่ไม่หมายความดังพระอรรถกถา-
จารย์อธิบาย. ความก็ตรงอยู่ตามศัพท์นั้นเอง อธิบายว่า กำลังบริโภค
อาหารอยู่ ภิกษุเข้าไปหาสกุลกำลังบริโภคอาหารอยู่ เป็นความเสีย
มรรยาทเพียงไร. สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพื่อห้ามความประพฤติ
ไม่สมควรเช่นนั้นกระมัง. ข้าพเจ้าขอฝากความเรื่องนี้ไว้เพื่อพระวินัยธร
สอดส่องต่อไป.
สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือใน
อาสนะกำลับกับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ ว่า อนึ่ง ภิกษุใดผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ
กับมาตุคามผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์.
ที่ลับ ๒ ชนิด พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วในอนิยตสิกขาบททั้ง ๒
กิริยาที่นั่งนั้น หมายเอาถึงกิริยาที่นอนด้วย แต่ไม่หมายเอากิริยาที่
ยืนและเดิน. ในสิกขาบทแรก หมายเอานั่งในที่ลับตา เพราะไม่มี
คำว่า ตัวต่อตัว จึงถือกันมาว่า ถานั่งในห้องเรือนกับหญิงมากคน
ต้องมีชายผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย หญิงแม้มาก คุ้มอาบัติไม่ได้. แต่อัน
ที่จริง คำว่า ตัวต่อตัว จะตกด้วยเผลอมาแต่เดิม หือตกในเวลา
จำทรง หรือจำลองฉบับต่อ ๆ กันมา ก็เป็นได้. สิกขาบทนี้เทียบ



กันได้กับอนิยตสิกขาบทที่ ๑ ซึ่งมีคำว่าตัวต่อตัว. ในคัมภีร์วิภังค์ไม่ได้
กล่าวถึงเลย เข้าใจว่า คำว่าตัวต่อตัว คงจะตกในชั้นหลัง. ในสิกขาบท
หลัง หมายเอาที่ลับหู เทียบกันได้กับอนิยตสิกขาบทที่ ๒. เพราะมีคำ
ว่า ตัวต่อตัว จึงนำความเข้าใจว่า ถ้านั่งกลางแจ้งกับหญิงหลายคน
หญิงเหล่านั้นคุ้มอาบัติได้. ถ้าคำว่า ตัวต่อตัว ในสิกขาบทแรกตกแน่
อธิบายนี้ก็ใช้ได้ที่นั้นด้วย. ฝ่ายหนึ่งยืน ฝ่ายหนึ่งนั่ง หรือยืนด้วย
กันทั้ง ๒ ท่านว่าไม่เป็นอาบัติ แต่พึงรู้อธิบายดังนี้ :-
ยืนรับบาตร ผู้หญิงเขายืนใส่ก็ตาม นั่งใส่ก็ตาม ในที่ห่างคน
อันเรียกว่าที่ลับหูได้ ในการเปิดเผยเช่นนี้ทำได้. อยู่ในที่กำลัง หรือ
ในที่แจ้งตัวต่อตัวกับหญิง โดยอาการอันซ่อนเร้น แม้จะยืนเสีย
ชื่อว่าไม่ต้องอาบัติก็จริงอยู่ แต่ความเสียหายอันจะเกิดเพราะต้องอาบัติ
เช่นนั้น ยังจะเกิดขึ้นได้เหมือนกัน เช่นนี้ไม่ควรทำ. ภิกษุผู้รู้
จักรักษาอาจาระไม่ให้เป็นเหตุรังเกียจกินแหนง ท่านสรรเสริญว่า
"อาจารสมฺปนฺโน" แปลว่า "ถึงพร้อมด้วยมรรยาท" เป็นคู่กับสำรวม
ในพระปาติโมกข์ แสดงไว้ในนิทเทสแห่งศีลของภิกษุ นี้ควรถือเป็น
แบบอย่าง.
ภิกษุในเพ่งการลับ หรือนั่งส่งใจไปในอารมณ์อื่น แม้นั่งกับ
หญิง ท่านว่าไม่เป็นอาบัติ. ในคำต้นพึงเห็น เช่นภิกษุนั่งในห้อง
เรือนกับหญิงหลายคน มีชายอยู่เป็นเพื่อน แต่บางทีเขาออกไปจาก
ห้อง ภิกษุห้ามไว้ไม่ทัน เช่นนี้เรียกว่าไม่เพ่งการลับ. ในคำหลัง

พึงรู้เช่นภิกษุนั่งอยู่ผู้เดียว มัวนึกอะไรอยู่ ไม่ทันรู้ตัว ผู้หญิงเข้า
มาหา.
สิกขาบทที่ ๖ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตรอยู่
แล้ว ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย
ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยใน
เรื่องนั้น คือคราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร.
ตามความในนิทานต้นบัญญัติ ดูเหมือนจะถือเอาความว่า ข้อ
ที่รับนิมนต์นั้น เป็นเหตุห้ามเที่ยวในที่อื่นในเวลาก่อนฉัน เวลาภาย
หลังแต่ฉันแล้ว ห้ามไม่ให้เข้าบ้าน เว้นไว้แต่สมัย ๒ อย่างนี้ กับ
ภิกษุเจ็บไข้ จะต้องออกไปหายา เว้นไว้จะได้ลาภิกษุอื่น. แต่รูป
ความแห่งสิกขาบทไม่เป็นเช่นนั้น มีคำปริกัปคือ ก็ดี เข้าประกอบคำ
ว่า ก่อนฉันและทีหลังฉันทั้ง ๒ แห่ง และการรับนิมนต์ฉัน คงเป็น
เหตุเกี่ยวข้องในเรื่องนี้.
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ภิกษุรับนิมนต์ฉันไว้ ถูกห้ามไม่ให้เที่ยวไปที่
อื่นในเวลาก่อนฉันนั้น คือเมื่อจะไปฉัน ห้ามมิให้เชือนไปในที่อื่น
ก่อน เพื่อจะกนไม่ให้ไปล่าหรือตามตัวไม่พบ ข้อที่ห้ามไม่ให้เที่ยว
ไปที่อื่น ภายหลังแต่ฉันแล้วนั้น คือกลับจากบ้านที่นิมนต์นั้นแล้ว ไม่
ให้ถือเอาโอกาสที่รับนิมนต์นั้นเลยไปเที่ยวที่อื่นต่อไป. เมื่อมีกิจจำเป็น
จะต้องทำใน ๒ อย่างนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงให้บอกลาภิกษุไว้
เป็นหลักฐาน สมัยทั้ง ๒ นั้น ก็เคยเป็นเวลาได้รับยกเว้นในสิกขาบท
ทั้งหลายอื่นแล้ว.

หนทางจะต้องผ่านไปทางเรือนของผู้อื่น เดินไปตามทางนั้น ไม่
นับว่าเชือนไปอื่น. ถ้าภิกษุไม่มี คือยู่ผู้เดียว เมื่อมีกิจจำเป็นเกิดขึ้น
ไปได้. เพราะในสิกขาบทกล่าวถึงเฉพาะเที่ยวในสกุล ในคัมภีร์วิภังค์
ท่านจึงว่า ไปสู่อารามอื่น ไปสู่ ที่อาศัยภิกษุณี ไปสู่ที่อยู่เดียรถีย์ ไม่
เป็นอาบัติ แต่ในเรื่องเช่นนี้ที่ทำให้เสียผล ท่านเคยปรับเป็นอาบัติ
ทุกกฏ ในที่นี้ก็อาจจะทำให้เสียผลได้เหมือนกัน แก้ว่าไม่เป็นอาบัตินั้น
อย่างไรอยู่. แวะเรือนอันอยู่ตามทางเมื่อขากลับนับว่าไม่ได้เลยเที่ยว
ต่อไป ท่านอนุญาต ถ้ามีภิกษุ คงต้องบอกลาแท้ เพราะมีสิกขาบท
อื่นอันให้ทำเช่นนั้น. ในการไปเรือนที่นิมนต์ฉัน ไม่มีปัญหาที่จะพึง
ยกขึ้นพูด.
สิกขาบทที่ ๗ ว่า ภิกษุไม่ใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วย
ปัจจัยเพียง ๔ เดือน เว้นไว้แต่ปวารณาอีก เว้นไว้แต่ปวารณาเป็น
ินิตย์ ถ้าเธอยินดียิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.
คำว่า ปัจจัยนั้น กล่าวโดยสามัญโวหาร เป็นชื่อสาธารณ์แต่
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสช แต่ในที่นี้ ในคัมภีร์วิภังค์
แก้ว่า ได้แก่เภสัช เรียกว่าคิลานปัจจัย เหตุที่ทำให้แก้อย่างนี้ บางที
จะเป็นศัพท์ว่า มิใช่ผู้ไข้นั้นเอง. ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าใจให้กว้าง
กว่านี้. การขอปัจจัยต่อคนปวารณาผู้มิใช่ญาติ แต่ไม่มีอนุญาตเป็น
พิเศษในสิกขาบทนั้น ๆ เลย. ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทรงอนุญาตให้ขอ
ต่อผู้ปวารณาได้ด้วยสิกขาบทนี้เอง แต่ให้ขอได้เพียง ๔ เดือน เพื่อ

จะให้รู้จักประมาณ เว้นไว้แต่เขาปวารณาซ้ำ ขอได้ต่อไปอีก ๔ เดือน
แต่ถ้าเอาปวารณาเป็นนิตย์ ขอได้ตลอดไป. เหตุไฉนจึงต้องกล่าว
ถึงภิกษุไม่ใช่ผู้อาพาธไว้ด้วยเล่า ? คำนั้นนำให้เข้าใจว่า ทรงอนุญาต
ภิกษุไขให้ขอได้เสมอไป. จริงอย่างนั้น ทรงอนุญาตให้ภิกษุไข้ขอ
บิณฑบาตได ในสิกขาบทอื่น ให้ขอเภสัชได้ ในนิทานต้นบัญญัติ
แห่งสิกขาบทก่อน ภิกษุผู้ไม่เจ็บไข้ จะขอทัพพสัมภาระมาทำเสนาสนะ
ดังกล่าวถึงในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ ก็ได้แล้ว เหตุไฉนภิกษุไข้จะ
ขอไม่ได้ คงยังขาดไม่มีในสิกขาบทอื่นแต่ขอจีวร.
คนปวารณานั้น แสดงโดยนัยอันกล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์ มีเป็น
๔ คือ ปวารณากำหนดปัจจัย ๑ ปวารณากำหนดกาล ๑ ปวารณา
กำหนดทั้ง ๒ อย่าง ๑ ปวารณาไม่กำหนดทั้ง ๒ อย่าง ๑.

ปวารณากำหนดปัจจัยนั้น คือกำหนดชนิดของ เช่นจีวร หรือ
บิณฑบาต น้ำมันหรือน้ำผึ้ง หรือกำหนดจำนวนแห่งของ ผ้ากี่ผืน
บิณฑบาตมีราคาเท่าไร เขาปวารณาปัจจัยชนิดไร มีประมาณ
เท่าไร ขอเขาได้ในกำหนด แต่เพราะไม่ได้กำหนดกาล พึงขอได้เพียง
๔ เดือน. ปวารณากำหนดกาลนั้น คือกำหนดน้อยกว่า ๔ เดือน
ก็ตาม มากกว่า ๔ เดือนก็ตาม พึงขอเขาได้ในกำหนดนั้น ไม่ต้องเอา
๔ เดือนเป็นเขตขั้น. ปวารณากำหนดทั้งของทั้งกาลนั้น พึงถือเอา
อธิบายใน ๒ ข้อข้างต้นรวมกันเถิด. ปวารณาไม่กำหนดทั้งของทั้งกาล
นั้น เช่นปวารณาว่า ต้องการด้วยสิ่งอะไรของจงบอก. หรือว่า
ข้าพเจ้าปวารณาด้วยปัจจัย ๔ ดังนี้ เรียกว่าไม่กำหนดของ เขาไม่ต้อง

อ้างถึงกาลว่าจะให้ขอได้เพียงไร เรียกว่าไม่ได้กำหนดกาล เช่นนี้ ต้อง
การอะไรขอเขาได้ แต่พึงขอเพียง ๔ เดือนตามสิกขาบทนี้ ถ้า
เขาปวารณาซ้ำอีก ขอได้เพียงคราวละ ๔ เดือน. ถ้าเขปวารณาเป็น
นิตย์ขอได้เสมอไป.
สิกขาบทที่ ๘ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออก
แล้ว เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.
เสนานั้น คือ กองทัพ ครั้งโบราณสงเคราะห์ด้วยพลช้าง
พลม้า มลรถ พลเดิน แม้ในภายหลังจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร
ก็เรียกว่าเสนาอยู่นั่นเอง. เสนาอันยกออกนั้น คือยกออกไปในการ
รบกับศัตรู เพื่อจะรุกหรือเพื่อจะรับ. ปัจจัยที่กล่าวไว้ในสิกขาบทนั้น
ในนิทานต้นบัญญัติแสดงว่า ญาติของภิกษุเป็นไข้ เขาขอพบ แม้จะ
ปรารภเหตุอื่นก็ได้ แต่การไปเป็นกรณียะ ไม่ใช่ไปดูเล่น. เสนายก
มาทางอาราม หรือเดินสวนทางไปพบแลเห็น ไม่เป็นอาบัติ. มี
อันตรายเกิดขึ้น เช่นถูกจับไปเป็นเชลย ไม่มีปัญหา.
สิกขาบทที่ ๙ ว่า ก็ถ้าปัจจัยบางอย่างเพื่อจะไปสู่เสนา มีแก่
ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ในเสนาเพียง ๒-๓ คืน. ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น
เป็นปาจิตตีย์.
ปัจจัยนั้น พึงรู้ดังกล่าวในสิกขาบทก่อน.
วิธีนับคืนนั้น กำหนดเวลาพระอาทิตย์อัสดง ปรับเป็นอาบัติ
ในวันที่ ๔ ต่อเมื่อตะวันตกแล้ว. อยู่เพียง ๓ วันแล้วกลับเสีย ภาย
หลังไปอยู่ได้อีก. มีเหตุจำเป็น เช่นเจ็บอยู่ในกองทัพ หรือเสนา

ถูกข้าศึกล้อม และมีเหตุขัดขวางอย่างอื่น ๆ อีก อยู่เกินกว่ากำหนด
นั้นได้.
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒-๓ คืน ไปสู่สนามรบ
ก็ดี ไปสู่ที่พักพลก็ดี ไปสู่ที่จัดขนวนทัพก็ดี ไปดูหมู่อนึก คือช้าง
ม้า รถ พลเดิน อันจัดเป็นกอง ๆ แล้วก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
สุราปานวรรคที่ ๖
สิกขาบทที่ ๑ ว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย.
ในที่นี้ควรรู้อธิบายว่า น้ำอันมีรสหวานเจืออยู่ทุกอย่าง ที่เป็น
เอง เช่นน้ำตาลสด ที่เขาปรุงขึ้นก็ตาม เมื่อล่วงเวลาแล้ว รสหวาน
นั้นกลายเป็นรสเมา แรงหรืออ่อน ตามรสหวานที่เจืออยู่มาก หรือ
น้อย นี้เรียกว่าเมรัย เป็นของที่เขาทำด้วยหมักหรือดอง. เมรัยนั้น
เขากลั่นสกัดเอาน้ำออกเพื่อให้รสเมาแรงขึ้น ตามแต่จะกำหนดว่า
เท่าไรเป็นพอดี นี้เรียกสุรา. รวมทั้ง ๒ อย่างนั้น เรียกมัชชะ แปล
ว่า น้ำยังผู้ดื่มแล้วให้เมา ตัดสั้นว่า น้ำเมา. แต่ในสิกขาบทนี้
เรียกตามประเภท ไม่เหมือนในที่อื่น. อาบัติในสิกขาบทนี้ ท่านว่า
เป็นอจิตตกะ เพราะไม่มีคำบ่งเจตนา ไม่เหมือนในสิกขาบทของ
สามเณรและของคฤหัสถ์. ฝ่ายภิกษุ แม้สำคัญว่ามิใช่น้ำเมา ดื่ม
เข้าไป ก็คงเป็นอาบัติ. ของอันมิใช่น้ำเมา แต่มี สี กลิ่น รส ดุจ
น้ำเมา เช่นยาดองบางอย่าง ไม่เป็นวัตถุแห่งอาบัติ. น้ำเมาที่เจือ
ในแกงในเนื้อหรือในของอื่น เพื่อชูรสหรือกันเสีย แต่เล็กน้อย ไม่
ถึงกับเป็นเหตุเมา ชื่อว่าเป็นอัพโพหาริก ฉันหรือดื่มของเช่นนั้น
ไม่เป็นอาบัติ.


สิกขาบทที่ ๒ ว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ.
ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า ภิกษุเป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์ อนุปสัมบัน
เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ แต่ในสิกขาบทกล่าวเป็นกลาง ไม่ไดระบุลงไป
ชัด. เพราะคำว่านิ้วมือ เอาของเนื่องด้วยกายจี้ ท่านปรับเพียงทุกกฏ.
เมื่อตั้งเกณฑ์ว่า ของเนื่องด้วยกายเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ จี้บนผ้าท่านก็
ปรับเป็นทุกกฏอย่างเดียวกัน ไม่ได้มุ่งความหัวเราะ มีกิจจับต้องกาย
ของกันและกัน ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๓ ว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะธรรมคือหัวเราะในน้ำ.
ธรรมคือหัวเราะในน้ำนั้น หมายเอาเล่นน้ำ ในคัมภีร์วิภังค์
ถือเอาน้ำพ้นข้อเท้าขึ้นไป เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์ แต่ไม่สมกับแสดง
ประโยคไว้ว่า ดำลง ผุดขึ้น ว่ายไป เพราะน้ำพ้นข้อเท้า แต่ทำ
อย่างนั้นไม่ได้ก็มี. ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าใจว่า น้ำลึกพอที่จะดำได้
มิดตัว ลึกพอที่จะว่ายได้สะดวก จึงเป็นวัตถุของปาจิตตีย์. อนึ่ง
การเล่นในเรือ ท่านกล่าวว่าเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ ถ้าเพ่งว่าเป็น
ประเภทหนึ่งจากการเล่นน้ำ ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่เป็นกิริยาที่จะต้อง
ป้องกันมากกว่า และให้โทษได้มากกว่า ถ้าจะยกสิกขาบทนี้ขึ้นปรับ
ก็ดูไม่มีอะไรขัดขวาง. เอามือวักน้ำ เอาเท้าแกว่งน้ำ เอาไม้ขีดน้ำ
เอากระเบื้องปาน้ำเล่น ท่านกล่าวว่าเป็นทุกกฏ ชอบแล้ว. น้ำตื้น
ไม่ถึงกำหนดเป็นปาจิตตีย์ก็ดี น้ำในภาชนะก็ดี เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
ภิกษุไม่ปรารถนาจะเล่น อาบน้ำโดยปกติ จะดำให้เปียกทั่วตัวก็ได้
มีกิจจะต้องทำในน้ำ ลงดำ ลงว่าย เพื่อจะทำกิจนั้นก็ได้. เรือล่ม

หรือคิดจะช่วยคนตกน้ำ ในอันตรายเช่นนี้ ไม่มีปัญหา.
สิกขาบทที่ ถ ว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.
ในคัมภีร์วิภังค์แก้ความไม่เอื้อเฟื้อเป็น ๒ อย่าง ไม่เอื้อเฟื้อใน
บุคคล ๑ ไม่เอื้อเฟื้องในธรรม ๑. บุคคลนั้น มุ่งเอาผู้กล่าวสั่งสอน
กล่าวเตือน. ธรรมนั้น มุ่งเอาบัญญัติและธรรมอันมิใช่บัญญัติ. ถ้า
อุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ด้วยบัญญัติ คือ ข้อพระวินัย แสดงความ
ไม่เอื้อเฟื้อ ปรารภบุคคลก็ดี พระบัญญัติก็ดี ต้องปาจิตตีย์. ถ้าว่า
กล่าวด้วยข้ออื่นจากพระบัญญัติ แม้ว่าผู้นั้นเป็นอุปสัมบัน ท่านว่า
ต้องเพียงทุกกฏ. อนุปสัมบัน ท่านกล่าวว่าเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ
ท่านคงหมายเอาสามเณร แต่ไม่น่าจะปรารภถึงเลย. กล่าวชี้เหตุ
ที่ประพฤติอย่างนั้น โดยนัยว่า ได้รับแนะนำสั่งสอนมาจากอาจารย์
อย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติไว้ เพื่อจะห้ามไม่ให้ภิกษุเป็นผู้ดื้อดึง
ได้รับคำแนะนำหรือตักเตือนแล้ว ให้แสดงความเอื้อเฟื้อ ถือเอาแต่
การที่ถูกเป็นประมาณ ไม่ให้หมิ่นบุคคลผู้พูด หรือข้อที่ยกขึ้นพูด
ประพฤติเช่นนี้เป็นความดีงาม.
สิกขาบทที่ ๕ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด หลอนภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
กิริยาว่าหลอนนั้น คือ พูดก็ดี แสดงอาการอย่างอื่นก็ดี ให้
ตกใจกลัวผี. พูดขู่ให้ตกใจกลัวโจร กลัวสัตว์ร้าย ท่านนับเข้า
ในกิริยานี้เหมือนกัน. ผู้ถูกหลอน จะตกใจหรือไม่ตกใจ ไม่เป็น
ประมาณ. หลอนอุปสัมบัน ต้องปาจิตตีย์. หลอนอุปสัมบัน


ต้องทุกกฏ. ไม่ตั้งใจหลอน เล่าเรื่องปีศาจ บอกข่างโจร ข่าว
สัตว์ร้าย ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๖ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ใช่ผู้อาพาธ มุ่งการผิง
ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป เป็น
ปาจิตตีย์.
คำว่าไม่ใช่ผู้อาพาธนั้น คือ ไม่ผิงไฟก็อยู่เป็นผาสุกได้. คำว่า
ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูปนั้น หมายเอาเหตุอย่างอื่นอันให้ต้องการติดไฟ
นอกจากการผิง เช่น ตามไฟเพื่อใช้แสงสว่างในกลางคืน และ
ติดไฟต้มน้ำเป็นต้น. ในที่อื่น ทรงอนุญาตเรือนไฟเป็นที่อบกาย
อย่างวิธีเข้ากระโจม ซึ่งใช้อยู่ในเมืองเราแต่ก่อนมา. ในเรือนไฟนั้น
ใช้ไฟถ่าน ผิงได้ ทั้งภิกษุผู้อาพาธ ทั้งภิกษุผู้ไม่อาพาธ. แต่ใน
สิกขาบทนี้ ห้ามการผิงไฟ แย้งกันอยู่ ท่านจึงแก้ว่า ติดไฟเป็น
เปลวผิง ต้องห้าม ติดไฟถ่านใช้ได้.
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า การห้ามผิงไฟในสิกขาบทนี้ เพื่อจะกันไฟ
ไหม้กุฎีที่ทำด้วยไม้และมุงด้วยหญ้า การผิงในที่ทำไว้สำหรับ ซึ่ง
เรียกว่าเรือนไฟ ห่างจากอันตรายเช่นนั้น จึงได้ทรงพระอนุญาต
สำเร็จความสันนิษฐานว่า ผิงในเรือนไฟ ไม่เป็นอาบัติ ผิงในที่อื่น
นอกจากเรือนไฟ เป็นอาบัติ เว้นแต่ภิกษุผู้อาพาธ ไม่อาจเว้นจาก
ผิงไฟได้. การติดไฟเพื่อกิจอย่างอื่น จำเป็นแท้ จึงได้รับยกเว้น.
สิกขาบทที่ ๗ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ
เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์. นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดู

ร้อน เดือนต้นแห่งฤดูฝน ๒ เดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราว
กระวนกระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงาน คราวไปทางไกล
คราวฝนมากับพายุ นี้มัยในเรื่องนั้น.
สิกขาบทนี้ ท่านว่าเป็นประเทศบัญญัติ คือ ทรงตั้งไว้เฉพาะ
ในมัธยมประเทศ จังหวัดกลางแห่งชมพูทวีป. เหตุต้นบัญบัตินั้น
ในนิทานกล่าวว่า พระเจ้าพิมพิสาร ผู้ครองแคว้นมคธ จะเสด็จ
ลงสนานพระเศียรเกล้าในแม่น้ำตโปทา พวกภิกษุไปอาบกีดขวาง
อยู่เสียจนค่ำ แต่ในที่อื่น ทรงอนุญาตให้อาบน้ำได้เป็นนิตย์ ใน
ปัจจันตชนบทนอกเขตมัธยมประเทศ ตามความนิยมของพวกคน
ในชนบทเหล่านั้น อันถือว่าไม่อาบน้ำสกปรก. เรื่องห้ามอาบน้ำนี้
แปลกมาก แม้ไม่เกี่ยวกับพวกเรา ผู้อยู่ในจังหวัดที่ได้อนุญาต ก็
น่าจะคิดหาเหตุ. ธรรมเนียมของพราหมณ์ เขาอาบน้ำวันหนึ่งถึง ๓
ครั้ง ฝ่ายพวกภิกษุ ต่อกึ่งเดือนจึงอาบได้หนหนึ่ง มิโสมมนักหรือ ?
ข้าพเจ้าเข้าใจไปว่า สิกขาบทนี้ จะบัญญัติเฉพาะประเทศที่อัตคัดน้ำ
เฉพาะกาลที่กันดารน้ำ เช่น ในประเทศดอนในคราวฤดูแล้ง.
สิกขาบทที่ ๘ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ได้จีวรมาใหม่ พึงถือเอา
วัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ของเขียว
ครามก็ได้ ตมก็ได้ ของดำคล้ำก็ได้. ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับ
ทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้จีวรใหม่ เป็นปาจิตตีย์.
ความมุ่งหมายของสิกขาบทนี้ ในนิทานกับในตัวสิกขาบทเอง
แย้งกันอยู่. ในนิทาน ดูเหมือนทรงบัญญัติให้ทำเครื่องหมาย เพื่อ

จะได้จำได้ว่าของตน. ส่วนในตัวสิกขาบทเอง เพ่งความให้เสียสี
อนุโลมตามลูขปฏิบัติ คือ ประพฤติปอน ใช้ของเศร้าหมอง. คำว่า
ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ใน
อรรถกถา สอนให้จุดเป็นวงกลม ใหญ่เท่าแววตานกยูง เล็กเท่า
หลังตัวเรือ เรียกว่าทำพินทุกัปปะ แปลว่าทำจุดกลมหรือดวงกลม
ข้อที่ท่านสอนให้จุดเป็นวงกลมนั้น เช่นเดียวกับวิธีขีดแกงได้ อันคน
เขียนหนังสือไม่เป็นใช้อยู่ ในเวลานั้น พวกพระก็คงไม่สันทัดเขียน
หนังสือเหมือนกัน.
ภิกษุได้จีวรมาใหม่ ต้องทำหมายก่อน จึงนุ่งห่มได้ เมื่อทำ
ไว้แล้ว รอยหายสูญไป ไม่ต้องทำใหม่. เอาผ้าอื่นเย็บติดกับจีวร
ที่ทำหมายแล้ว ไม่ต้อพินทุผ้าใหม่. เพราะในสิกขาบทไม่ได้ระบุไว้
ว่าให้ทำได้แต่จุดหรือดวง ถ้าต้องการสำหรับให้เสียสี เอาของ ๓
อย่างนั้น อย่างใดอย่างหนึ่งป้ายเข้าก็ได้ ถ้าต้องการหมายให้จำได้
แม้หมายเป็นตัวอักษรก็จะได้ เพื่อจะให้สำเร็จประโยชน์ทั้ง ๒ ทาง
ทำอย่างนั้นก็ได้เหมือนกัน. เรื่องนี้ตกมาถือเป็นพิธีเสียแล้ว จึงไม่มี
ใครนึก มัวขีดแกงไดดังสอนไว้ในอรรถกถาเรื่อยมา.
สิกขาบทที่ ๙ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด วิกัปจีวรเอง แก่ภิกษุก็ดี
แก่ภิกษุณีก็ดี แก่นางสิกขมานาก็ดี แก่สามเณรก็ดี แก่นางสามเณรี
ก็ดี แล้วใช้สอย [จีวรนั้น] ไม่ให้เขาถอนก่อน เป็นปาจิตตีย์.
นางสามเณรีนั้น คือหญิงโดยมากอายุยังไม่ครบ ๒๐ รับ
บรรพชาในสำนักภิกษุณี ถือสิกขาบท ๑๐ เหมือนสามเณร. นาง

สิกขมานานั้น คือ นางสามเณรีนั่งเอง แต่อายุถึง ๑๘ แล้ว อีก ๒ ปี
จะครบกำหนดอุปสมบท ภิกษุณีสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติ คือยอม
ให้สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ ตั้งแต่ ปาณาตปาตา เวรมณี
จนถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ไม่มีเวลาล่วงเลย ตลอด ๒ ปีเต็ม
ถ้าล่วงข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทานตั้งต้นไปใหม่อีก ๒ ปี ต่อรักษา
ไม่ขาดเลยครบ ๒ ปีแล้ว ภิกษุณีสงฆ์จึงสมมติให้อุปสมบทได้ นาง
สิกขมานานี้ อยู่ในลำดับรองภิกษุณีลงมา เหนือสามเณรี.
วิกัปนั้น โดยความก็คือทำให้เป็นของ ๒ เจ้าของ. วิกัปมี ๒
คือวิกัปต่อหน้าและวิกัปลับหลัง. วิกัปต่อหน้านั้น คือ วิกัปต่อ
หน้าผู้รับ ว่าดังนี้ :- "อิมํ จีวรํ ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า
วิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน." หลายผืนว่า "อิมานิ จีวรานิ " แทน
"อิมํ จีวรํ" อยู่นอกหัตถบาสว่า "เอตํ" แทน "อิมํ" ว่า
"เอตานิ" แทน "อิมานิ." วิกัปลับหลังนั้น คือ วิกัปให้สหธรรมิก
รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ไม่ได้อยู่เฉพาะหน้า เปล่งวาจาต่อหน้าสหธรรมิก
รูปอื่นว่า "อิมํ จีวรํ อิตฺถนฺนามสฺส วิกปฺเปมิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า
วิกัปจีวรผืนนี้แก่สหธรรมมิกชื่อนี้" ถ้าวิกัปแก่ภิกษุ ต่างว่าชื่อ
อุตตระ ก็บอกชื่อว่า "อุตฺตรสฺส ภิกฺขุโน" หรือ "อายสฺมโต
อุตฺตรสฺส" แทน "อิตฺถนฺนามสฺส" โดยสมควรแก่ผู้รับอ่อนกว่า
หรือแก่กว่า. แต่ในคัมภีร์วิภังค์ท่านว่า วิกัปอย่างหลังนี้ ก็จัดว่า
วิกัปต่อหน้า. ท่านแดสงวิกัปลับหลังนั้น เข้าใจยาก ท่วงที
ดูเหมือนจะฝากภิกษุที่ ๒ ให้ช่วยวิกัปกับภิกษุที่ ๓ แต่พูดไปพูดมา

ก็ไม่พ้นจากวิกัปต่อหน้านั่นเอง คือทำพิธีเสร็จกันในระหว่าง ๒ รูป
นั้น รูปที่ ๓ ไม่รู้ไม่เห็นด้วย.
จีวรที่วิกัปไว้แล้ว ผู้รับยังไม่ได้ถอน ห้ามไม่ให้ใช้สอยนุ่งห่ม
ด้วยสิกขาบทนี้ ถอนแล้วจึงใช้ได้. คำถอนว่า "อิมํ จีวรํ มยฺหํ
สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ" ถ้า
ผู้ถอนอ่อนกว่า ว่าดังนี้ :- "อิมํ จีวรํ มยฺหํ สนฺตกํ ปริภุญฺชถ วา
วิสชฺเชถ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรถ" ความเดียวกัน เป็นแต่ใช้
แสดงเคารพ แปลว่า "จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอยก็ตาม
จงสละก็ตาม จงทำตามปัจจัยก็ตาม." คำถอนลับหลัง ไม่เห็นน่าจะมี.
ในเรื่องวิกัปนี้ มติของพระอาจารย์ทั้งหลายต่างกัน บาง
อาจารย์เข้าใจว่า จีวรที่ถอนวิกัปแล้ว กลับเป็นอติเรกจีวรไปใหม่
บางอาจารย์เข้าใจว่า คงเป็น วิกัปปิตจีวรอยู่นั่งเอง พวกที่ถือว่า
เป็นอติเรกจีวร ไม่เกิน ๑๐ วัน คงวิกัปอีกเสมอไป. พวกที่ถือว่า
เป็นวิกัปปิตจีวรอยู่นั่นเอง วิกัปหนเดียวแล้ว ก็เป็นแล้วกัน ไม่
วิกัปซ้ำ. พิจารณาตามปาฐะในสิกขาบท คำว่าไม่ถอนนั้น ดูเหมือน
จะหมายความว่า ไม่ถอนจากวิกัป. ส่วนคำถอน ในคัมภีร์วิภังค์
ผูกไว้เป็นคำถอนลับหลังว่า "เตสํ สนฺตกํ ปริภุญฺช วา ฯลฯ" แปลว่า
"ท่านจงใช้สอยของเธอทั้งหลายก็ตาม ฯลฯ" ดูเหมือนแสดงว่า
เธอทั้งหลายยังเป็นเจ้าของอยู่. คำถอนต่อหน้าที่ผู้ขึ้นตามนั้น ก็ยัง
ไม่ปล่อยความเป็นเจ้าของเหมือนกัน. ความเข้าใจเสียว่า วิกัป ก็
เป็นวินัยกรรม คือทำไปตามธรรมเนียม ไม่ได้เพ่งอรรถรส พิจารณ์

แต่พยัญชนะ จึงพาให้เข้าใจต่างกันไป. เพ่งถึงอรรถรส การวิกัป
นั้น ก็คือทำให้เป็นของ ๒ เจ้าของ คำว่าถอนนั้น ในคราวแรก น่าจะ
หมายความว่า ถอนจากความเป็นเจ้าของ ตกมาเป็นอติเรกจีวรจริง
แต่เมื่อความเข้าใจของทั้ง ๒ รูปนั้นว่า เป็นของวิกัป ยังมีอยู่ คำ
ถอนนั้น ก็เป็นเหมือนคำอนุญาตให้ใช้สอยเป็นต้นนั่นเอง ไม่น่าจะมี
อำนาจลบล้างความเป็นของกลางนั้นได้. เพียงเท่านี้ ก็ลงสันนิษฐาน
ได้ว่า ถ้าผู้รับวิกัปถอนจากความเป็นเจ้าของ จีวรที่วิกัปไว้นั้น
เป็นอติเรกจีวรไปใหม่ ถ้าเป็นแต่อนุญาตให้ใช้สอยเป็นต้น คงเป็น
วิกัปปิตจีวรอยู่นั่นเอง. หากจะมีผู้พูดสอดเข้ามาว่า ถ้าไม่ปล่อยจาก
ความเป็นเจ้าของ ชื่อว่าไม่เป็นอันถอน. คำนี้ชอบอยู่ ถึงอย่างนั้น
ใช้สอยจีวรที่ผู้รับวิกัปอนุญาตไว้ ยังนับเข้าในฐานว่า ใช้สอยด้วย
วิสาสะได้อยู่ ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่ง
บาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคตเอวก็ดี แห่ง
ภิกษุ โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ เป็นปาจิตตีย์.
เพราะในสิกขาบทระบุบริขาร ซ่อนบริขารอื่น จึงเป็นทุกกฏ.
ซ่อนบริขารของอนุปสัมบัน เป็นทุกกฏอย่างเดียว. ไม่ได้หมายจะ
ล้อเล่น เห็นของวางไว้ไม่ดี ช่วยเก็บไว้ให้ ไม่เป็นอาบัติ.

สัปปาณวรรคที่ ๗
สิกขาบทที่ ๑ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากสัตว์จากชีวิต

เป็นปาจิตตีย์.
สัตว์ในที่นี้ เรียกในบาลีว่า "ปาโณ" แปลว่า "อินทรีย์อัน
มีปราณ คือลมหายใจและความเป็นอยู่" ในที่นี้ หมายเอาสัตว์
ดิรัจฉานชนิดใหญ่เล็ก เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์เสมอกันหมด. เพราะ
มีสิกขาบทบัญญัติไว้เฉพาะเรื่องดังนี้ ในตติยปาราชิกสิกขาบทจึงไม่ได้
กล่าวว่า เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ โดยอนุโลมกันลงมา.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์
เป็นปาจิตตีย์.
ดื่มกินก็ดี อาบก็ดี ใช้สอยอย่างอื่นก็ดี นับว่าบริโภคทั้งนั้น.
สิกขาบทที่ ๓ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ พื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จ
แล้วตามธรรม เพื่อทำอีก เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องจัดต้องทำ เรียกว่าอธิกรณ์. ท่าน
แจกประเภทเป็น ๔ คือ วิวาท ได้แก่การเถียงกัน ปรารภพระ
ธรรมวินัย เรียกวิวาทาธิกรณ์ นี้จะต้องได้รับชี้ขาดว่าถูกว่าผิด. ความ
โจทหากันด้วยอาบัติ เรียกอนุวาทาธิกรณ์ นี้จะต้องได้รับวินิจฉันว่าจริง
หรือไม่จริง. กิริยาที่ต้องอาบัติหรือถูกปรับอาบัติ เรียกอาปัตตาธิกรณ์
นี้จะต้องทำคืน คือทำให้พ้นโทษ. กิจธุระที่สงฆ์จะพึงทำ เช่นให้
อุปสมบท เรียกกิจจาธิกรณ์ นี้จะต้องทำให้สำเร็จ. เมื่ออธิกรณ์
เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น สงฆ์ก็ดี บุคคลก็ดี ได้จัดได้ทำ
สำเร็จโดยชอบแล้ว คือทำโดยควรแก่เหตุผล หรือได้ทำถูกต้องตาม
แบบอย่างแล้ว ภิกษุใด รู้อยู่ ถือว่าเป็นอิสระ ฟื้นเอาขึ้นทำใหม่


ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่เข้าใจว่ากรรมที่ทำนั้น ไม่เป็นธรรม.
สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ปิดอาบัติชั่วหยาบของ
ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
อาบัติชั่วหยาบนั้น ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า ได้แก่ปาราชิก ๔
และสังฆาทิเสส ๑๓, แต่ในอรรถกถาว่า ได้แก่สังฆาทิเสสอย่างเดียว
คำว่า ของภิกษุนั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่า หมายเอาตลอดผู้ปฏิญญาว่า
เป็นภิกษุ. ถ้าเข้าใจแคบเฉพาะสังฆาทิเสส ต่างว่าภิกษุรู้อยู่ว่า ภิกษุ
ผู้สหายของตนต้องปาราชิกแล้ว แต่ยังปฏิญญาว่าเป็นภิกษุอยู่ ไม่
เป็นผู้เห็นแต่พระธรรมวินัยเพียงไรนัก ปิดความเรื่องนี้เสีย จะยก
เอาบทอะไรขึ้นปรับโทษเธอ ข้าพเจ้าเห็นว่า ยกสิกขาบทนี้ขึ้นปรับ
ได้. ในสังฆาทิเสสสิกขาที่ ๘ อันว่าด้วยโจทอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
นั้น ในวิภังค์ของสิกขาบทนั้นแก้ว่า ถ้าบุคคลไม่บริสุทธ์ คือต้อง
ปาราชิกแล้ว แต่ตนสำคัญว่าบริสุทธ์ โจทด้วยปาราชิกอื่นอันไม่มี
มูล ผู้โจทต้องสังฆาทิเสสเหมือนกัน. นี้เป็นตัวอย่างจะพึงเอามา
เทียมในที่นี้ว่า คำว่าของภิกษุนั้น หมายความตลอดถึงผู้ปฏิญญาว่า
เป็นภิกษุ. ไม่ตั้งใจจะปิด แต่มีเหตุ ก็ไม่ได้บอกผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่เป็น
อาบัติ. ถ้าคิดเห็นว่า บอกไปผลจะร้ายกว่าที่นิ่งเสีย แล้วไม่บอก ใน
คัมภีร์วิภังค์ท่านอนุญาต เมื่อเพ่งถึงเจตนา ก็หวังจะป้องกันผลอัน
ร้ายกว่าต่างหาก ไม่จัดว่าปิด.

สิกขาบทที่ ๕ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ยังบุคคลมีปีหย่อน ๒๐

ให้อุปสมบท บุคคลนั้นไม่เป็นอุปสัมบันด้วย ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น

ถูกติเตียนด้วย นี้เป็นปาจิตตีย์ในเรื่องนั้น.
มีอธิบายว่า ภิกษุทั้งหลาย รู้อยู่ เข้าประชุมเป็นสงฆ์ ยังบุคคล
อายุหย่อน ๒๐ ให้อุปสมบท อุปัชฌายะต้องปาจิตตีย์ ภิกษุนอก
จากนั้นต้องทุกกฏ. บุคคลผู้อุปสมบทนั้น ไม่เป็นภิกษุ ต้องถือว่า
เป็นสามเณรตามเดิม.
สิกขาบทที่ ๖ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทาง
ไกลสายเดียวกัน กับพวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้สิ้น
ระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.
พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจรนั้น คือพวกคนค้าขาย ผู้ลักซ่อน
ของต้องห้ามเข้ามา เช่นในบัดนี้ ลอบเอาฝิ่นเถื่อนเข้ามา หรือซ่อน
ของควรเสียค่าภาษี. ในคัมภีร์วิภังค์ แก้ตลอดมาถึงพวกโจร ผู้ทำ
โจรกรรมมาหยก ๆ ก็ดี ไม่ได้ทำดังนั้นก็ดี. คำนี้ชอบ เพราะเดิน
ทางร่วมกัน ไม่พ้นไปจากโทษอันจะพึงมี.
ระยะบ้านหนึ่งนั้น ท่านกำหนดชั่วไก่บินถึง แต่ในที่คนอยู่คบคั่ง
น่าจะต้องกำหนดตามเครื่องกำหนดที่มีอยู่โดยปกติ อย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่นกำหนดเอาตามเจ้าของเป็นต้น. ในป่าหาบ้านมิได้ ท่านกำหนด
กึ่งโยชน์เป็นเขต. ไม่ได้ชัดชวนกันไป ต่างคนต่างเดิน แม้ในทางสาย
เดียวกัน ไม่เป็นอาบัติ.

สิกขาบทที่ ๗ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนแล้ว เดินทางไกล
สายเดียวกันกับมาตุคาม โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็น
ปาจิตตีย์.

มาตุคามในที่นี้ ท่านแก้ว่า หญิงมนุษย์รู้เดียงสา. ในสิกขาบท
นี้ ไม่มีคำว่า รู้อยู่ เป็นมาตามความมุ่งหมายเดิม หรือตกเสียเมื่อ
ครั้งไร ข้าพเจ้าไม่แน่ใจ แต่เพราะขาดบทนี้ ท่านจึงแก้ว่าอาบัติ
ในสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ. อธิบายนอกจากนี้ เหมือนในสิกขาบทก่อน.
สิกขาบทที่ ๘ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ถึง
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการว่า เป็นธรรม
ทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมนั้น หากอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้
[จริง] ไม่. ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
อย่าได้พูดอย่างนั้น ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าว
ตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอก พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้น
เลย แน่ะเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมอันทำอันตรายไว้โดย
บรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมนั้น อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้
[จริง]. และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น ขืนถือ
อย่างนั้นแล ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดประกาศห้ามจนหน
ที่ ๓ เพื่อสละการนั้นเสีย. ถ้าเธอถูกสวดประกาศห้ามอยู่จนหนที่ ๒
สละการนั้นเสีย การสละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นดี ถ้าไม่สละ เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๙ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี
สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี กับภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น ยังไม่ได้ทำธรรม
อันสมควร ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น เป็นปาจิตตีย์.
การกินร่วมนั้น หมายความว่าคบหา. ในคัมภีร์วิภังค์แจกไว้
เป็น ๒ คือ คบหากันในทางอามิส ได้แก่ให้หรือรับอามิส เรียก

อามิสสมโภค ๑ คบหากันในทางเรียนธรรม ได้แก่บอกธรรมให้เธอ
หรือขอเรียนจากเธอ เรียกว่าธรรมสมโภค ๑. อยู่ร่วมนั้น คือทำ
อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี กับเธอ. สำเร็จการนอน
ด้วยกันนั้น คือเหยียดกายร่วมกัน ในที่มีหลังคาเดียวกัน. เหล่านี้
เป็นประโยคแห่งปาจิตตีย์ แต่ละอย่าง ๆ.
อธิบายความแห่ง ๒ สิกขาบทนี้ว่า หากจะมีภิกษุอวดดี คัด
ค้านพระธรรมวินัยว่าไม่ถูก อันเป็นเหตุเกิดแก่งแย่งขึ้นในหมู่ เป็น
หน้าที่ของภิกษุทั้งหลายจะต้องห้ามปราม เพื่อสละการนั้นเสีย. ให้ทำ
โดยละม่อมละไม่ก่อน คือว่ากล่าวแนะนำตักเตือน ถ้ายังขืนถือรั้น
อยู่เช่นนั้น มีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์สวดประกาศห้ามด้วยอาณาสงฆ์
ถ้าไม่ฟัง ชื่อว่าเป็นผู้อันสงฆ์ยกเสียแล้วจากการเข้าสมาคม เรียกว่า
"อุกฺขิตฺตโก." ภิกษุผู้ถูกยกเช่นนี้ ภิกษุอื่นคบหาร่วมกินร่วมนอน
ไม่ได้ ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ผู้ทำ. แต่การยกขึ้นเช่นนั้น เป็นเพียง
ชั่วคราว ถ้าเธอสมาคมกับภิกษุอื่นไม่ได้ กลับทำดี สละทิฏฐินั้นเสีย
สงฆ์สวดประกาศระงับโทษ ยอมให้เข้าสมาคมอีกได้. สิขาบทหลัง
ห้ามการสมาคมกับภิกษุนั้น ตลอดเวลาที่ยังขืนถืออยู่อย่างนั้น.
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า ถ้าแม้สมณุทเทสกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
รู้ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็น
ธรรมทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมนั้น หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพ
ได้ [จริง] ไม่. สมณุทเทสนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว
อย่างนี้ว่า สมณุทเทศ เธอย่าได้พูดอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวตู่

พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ดีดอก พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย แน่ะสมณุทเทส เธอ พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แล
ธรรมเหล่านั้น อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ [จริง]. และสมณุทเทส
นั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น ขืนถืออย่างนั้นเทียว
สมณุทเทสนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะสมณุทเทส
เธออย่างอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า เป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่
วันนี้ไป และพวกสมณุทเทสอื่น ย่อมได้การนอนร่วมเพียง ๒-๓
คืนกันภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยาที่ได้การนอนร่วมนั้น ไม่มีแก่
เธอ เจ้าคนเสีย เจ้าจงไปเสีย เจ้าจงฉิบหายเสีย. และภิกษุใด
รู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูกให้ฉิบหายเสียอย่างนั้นแล้วก็ดี ให้
อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
อธิบายความแห่งสิกขาบทนี้ ต่ออนุสนธิจากสิกขาบทก่อนว่า
ถ้าสมณุทเทสคือสามเณร กล่าวคัดค้านพระธรรมวินัยอย่างนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายห้ามปรามไม่ฟัง จะสวดประกาศยกจากสมาคมเหมือนอย่างทำ
แก่ภิกษุไม่ได้ จึงมีพระพุทธานุญาตให้นาสนะเสีย และห้ามไม่ได้ภิกษุ
เอามาเลี้ยงไว้ ปรับโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน เป็นปาจิตตีย์.
สหธรรมิกวรรคที่ ๘
สิกขาบทที่ ๑ ว่า ภิกษุใด อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดย
ชอบธรรม กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้
กว่าจะได้ถามภิกษุอื่นผู้ฉลาดผู้ทรงวินัย เป็นปาจิตตีย์. อันภิกษุ

ศึกษาอยู่ ควรรู้ถึง ควรสอบถาม ควรตริตรอง นี้เป็นสามีจิกรรม
ในเรื่องนั้น.
พระบัญญัติและผู้ว่ากล่าวเป็นอุปสัมบันประกอบกัน เป็นวัตถุ
แห่งปาจิตตีย์. ธรรมอันมิใช่พระบัญญัติก็ดี อนุปสัมบันก็ดี เป็น
วัตถุแห่งทุกกฏ.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อมีใครสวดปาติโมกข์อยู่
กล่าวอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้ ที่สวด
ขึ้นแล้ว ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความ
ยุ่งยิ่งนี่กระไร เป็นปาจิตตีย์ เพราะก่นสิกขาบท.
ไม่ปรารถนาจะก่น พูดตามเหตุที่ปรารภถึง ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๓ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อปกติโมกข์สวดอยู่ทุก
กึ่งเดือน กล่าวอย่างนี้ว่า ฉันเพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า เออ ธรรมแม้นี้
ก็มาแล้วในสูตร เนื่องแล้วในสูตร มาสู่อุทเทส [คือการสวด] ทุก
กึ่งเดือน. ถ้าภิกษุทั้งหลายอื่น รู้จักภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้ เคยนั่งเมื่อ
ปกติโมกข์กำลังสวดอยู่ ๒-๓ คราวมาแล้ว กล่าวอะไรอีก ความ
พ้นด้วยอาการที่ไม่รู้ หามีแก่ภิกษุนั้นไม่ พึงปรับเธอตามธรรม
ด้วยอาบัติที่ต้องในเรื่องนั้น และพึงยกความหลงขึ้นแก่เธอเพิ่มอีกว่า
แน่ะเธอ ไม่ใช่ลาภของเธอ เธอได้ไม่ดีแล้ว ด้วยเหตุว่า เมื่อปาติโมกข์
กำลังสวดอยู่ เธอหาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ดีไม่. นี้เป็นปาจิตตีย์
ในความเป็นผู้แสร้งทำหลงนั้น.
อธิบายความแห่งสิกขาบทนี้ว่า ภิกษุใด เคยฟังปาติโมกข์อัน

สวดอยู่ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน อย่างน้อย ๒-๓ คราวมาแล้ว เมื่อ
สวดถึงสิกขาบทที่ตนล่วง ปรารถนาจะแก้ตัว แกล้งไขสือว่า เพิ่งได้
ยินในบัดนี้เองว่า ธรรมเช่นนั้น ๆ เป็นข้อห้ามมาในปาติโมกข์ ซึ่ง
เรียกว่าสูตรในที่นี้ เพราะเป็นหลักสิกขาบท เธอคงต้องอาบัติตาม
วัตถุที่ทำส่วนหนึ่งแล้ว ไม่พ้นได้ด้วยอำนาจทำไขสือ ส่วนเพราะทำ
ไขสือนั้น ให้ภิกษุผู้รู้เท่า สวดประกาศความข้อนั้น ยกโทษเธอ
เพิ่มขึ้นอีก ตั้งแต่สวดประกาศแล้วไป ยังขืนทำไขสืออยู่อย่างนั้นอีก
ต้องปาจิตตีย์ เพราะสิกขาบทนี้เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง. กิริยาที่สวด
ประกาศยกโทษว่า แสร้งทำหลงดังนี้ เรียกโมหาโรปนกรรม ยังไม่
เคยฟังปาติโมกข์พิสดารเลยก็ดี หรือเคยฟังพิสดาร แต่ไม่ถึง ๒-๓ คราว
ก็ดี หรือไม่ปรารถนาจะแสร้งทำนอง ไม่ใช่ผู้ที่สงฆ์จะลงโมหาโรปน-
กรรม.
ตามอธิบายนี้พึงรู้ว่า พวกภิกษุในครั้งนั้น ฟังปาติโมกข์เข้าใจ
กัน ในทุกวันนี้ จะถือเอาอย่างนั้นไม่ได้.
สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ ให้ประหาร
แก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ เงื้อหอก คือฝ่ามือ
ขึ้นแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
การให้ประหารนั้น ให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือ
ด้วยของที่โยนไป จัดว่าให้ประหารทั้งนั้น ทำแห่ภิกษุ ต้องปาจิตตีย์
เพราะสิกขาบทที่ ๔. ไม่ใช่แต่ให้ประหาร เพียงเงื้อมือทำท่าดังจะให้

ประหารเท่านั้น ก็ต้องปาจิตตีย์เหมือนกัน ด้วยสิกขาบทที่ ๕. ใน
อรรถกถากล่าวว่า ปรารถนาจะทำให้เสียโฉม เชือดตัดหูหรือจมูก
แห่งอุปสัมบัน ต้องเพียงทุกกฏ. คำนี้ท่านกล่าวไว้ด้วยไม่ทันพิจารณา
ให้รอบคอบ เพ่งแต่เพียงว่าให้ประหาร คือตี การทำให้เสียโฉม
เช่นนั้น เพราะตัดหรือเชือด. แต่อันที่จริง การตัดหรือเชือดนั้น หรือ
ฟันก็ตาม มือต้องจับศัสตรา จัดว่าให้ประหารด้วยของเนื่องด้วยกาย
และผลที่ผู้ต้องประหารได้รับนั้น ก็กลับร้ายกว่าถูกตีเสียอีก จะปรับ
โทษที่เบากว่าอย่างไรได้. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุโกรธ หมายเพียงจะทำท่า
ขู่พอให้ตกใจ ไม่ได้คิดจะประหารจริง ครั้นเงื้อมือขึ้นแล้ว พลั้ง
ให้ประหารลงไปแก่ภิกษุ แม้อวัยวะมีมือเป็นต้นแตกหักไป พระ
อรรถกถาจารย์กล่าวว่า เป็นทุกกฏอย่างเดียว เพราะไม่ปรารถนา
จะประหาร. คำนี้ก็กล่าวไว้เพราะขาดวิจารณ์เหมือนกัน เพราะมุ่ง
แต่เพียงว่า ผิดเจตนา. แต่เพียงเงือดเงื้อขึ้นเท่านั้น ก็สมเจตนา
แล้ว ปรับปาจิตตีย์ได้ด้วยสิกขาบทที่ ๕, เมื่อพิจารณาถึงอาการที่ทำ
เพียงโกรธและให้ประหารแก่อุปสัมบัน ก็ปรับเป็นปาจิตตีย์ ด้วย
สิกขาบทที่ ๔ ได้แล้ว ไม่น่าจะถามด้วยว่า ควรจะปรับด้วยสกขาบท
ไหน เพราะอาการที่ทำถึงที่สุดนั้น เป็นประหาร. อนุปสัมบันเป็น
วัตถุแห่งทุกกฏ. ในอรรถกถากล่าวว่า สงเคราะห์สัตว์ดิรัจฉาน
เข้าด้วย. ข้อนี้ใช้ได้ เพราะแสดงความดุร้ายแก่สัตว์ดิรัจฉาน มี
สุนัขและแมวเป็นต้น ย่อมเป็นการละสังวร. อาบัติในสิกขาบทที่ ๔
น่าจะเห็นว่า เป็นสาณัตติกะ คือใช้ผู้อื่นให้ตีเขา ก็ต้องอาบัติ

เหมือนกัน ในอรรถกถาท่านเทียบด้วยปฐมปาราชิก อย่างไรอยู่
ชะรอยจะเพ่งว่า ในสิกขาบทกล่าวเฉพาะทำเอง. ส่วนในอทินนาทาน
สิกขาบท ก็กล่าวเฉพาะทำเองเหมือนกัน เหตุไฉนอาบัติจึงเป็น
สาณัตติกะ เพราะสำเร็จเป็นโจรกรรมได้เท่ากัน. ในสิกขาบทนี้
ใช้ผู้อื่นทำ ก็สำเร็จเป็นให้ประหารเหมือนกัน จึงเห็นควรเทียบด้วย
อทินนาทานสิกขาบท. ส่วนอาบัติในสิกขาบทที่ ๕ นั้น เพ่งกิริยา
ที่เป็นไปโดยปกติ จะเป็นอนาณัตติกะได้อยู่ เพราะการเงือดเงื้อมือ
ไปด้วยกำลังโกรธ มีปกติจะต้องทำเอง. อันผู้หนึ่งสั่งคนที่ ๒ ให้
ไปทำท่าดังจะให้ประหารแก่คนที่ ๓ แต่กำชับว่า อย่าทำลงไปจริงนะ
เป็นแต่จะทำขู่ให้ตกใจ หากจะมีได้บางคราว ก็ยังต้องพิจารณา
ถึงความโกรธอีก คนกำลังโกรธอยู่ จะมีความคิดสั่งได้เช่นนั้น
หรือ ? อนึ่ง ในอรรถกถาท่านกล่าวสมุฏฐานแห่งสิกขาบทที่ ๔ เทียบ
ด้วยปฐมปาราชิก แปลว่า จัดอาบัติในสิกขาบทที่ ๔ เป็นสจิตตกะ
แย้งกับวิภังค์เอง ที่แก้เป็นติกปาจิตตีย์ ในสิกขาบทที่ ๒ ไม่มีอะไร
บ่งว่าเป็นสจิตตกะเลย. ในคัมภีร์วิภังค์แก้ไว้ว่า ถูกคนอื่นเข้ามา
เบียดเบียน ปรารถนาจะพ้น ให้ประหารก็ดี เงือดเงื้อมือก็ดี ไม่เป็น
อาบัติ. กิริยานี้ เรียกในบัดนี้ว่า ต่อสู่เพื่อจะป้องกันตัว. คำนี้
กล่าวชอบ ถูกทางที่ควรจะเป็น. ถ้าจะอ้างหลัก ก็เพราะความโกรธ
และน้อยใจไม่ปรากฏในขณะนั้น ไม่ต้องด้วยลักษณะให้ประหารใน
สิกขาบท. การให้ประหารในสิกขาบทเพื่อให้สมแค้น การให้ประหาร
ที่กล่าวถึงนี้ เพื่อจะป้องกันตัว.

สิกขาบทที่ ๖ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด กำจัด (คือโจท) ภิกษุด้วย
อาบัติสังฆาทิเสสหามูลมิได้ เป็นปาจิตตีย์.
การโจทด้วยอาบัติสังฆาทเสสไม่มีมูลนี้ อนุโลมตามโจทอาบัติ
ปาราชิก น่าจะปรับด้วยอาบัติถุลลัจจัย แต่เพราะมีสิกขาบทนี้ จึง
ต้องปรับด้วยปาจิตตีย์. ในคัมภีร์วิภังค์กล่าวว่า โจทอุปสัมบัน
ด้วยเสียอาจาระอย่างอื่น ไม่ถึงอาบัติสังฆาทิเสส ต้องทุกกฏ. ไม่
ทันพิจารณา ก็น่าจะเห็นความเป็นเช่นนั้น เพราะลดจากปาจิตตีย์
ก็ต้องเป็นทุกกฏ ครั้งพิจารณาละเอียดลงไป การโจทเช่นนี้ เป็น
มุสาวาทอยู่ในตัว. พูดมุสาพล่อย ๆ ไม่ได้ให้ร้ายแก่ผู้หนึ่ง ยัง
ต้องปาจิตตีย์ พูดมุสาใส่ความเขา กลับต้องอาบัติเบาลงมากกว่า
ดูอย่างไรอยู่. มติของข้าพเจ้าว่า เพราะมีสิกขาบทอื่นปรับโทษแรง
กว่าอยู่แล้ว แจกแบ่งโทษดังนั้นไม่ได้ ต้องปรับด้วยปาจิตตีย์ ใน
มุสาวาทสิกขาบท เช่นเดียวกับมีสิกขาบทนี้อยู่ แจกแบ่งโทษจาก
อาบัติสังฆาทิเสส เพราะโจทด้วยปาราชิกไม่มีมูล ลงมาหาถุลลัจจัย
ไม่ได้ฉะนั้น.
สิกขาบทที่ ๗ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งก่อนความรำคาญแก่
ภิกษุ ด้วยหมายว่า ด้วยเช่นนี้ ความไม่ผาสุกจักมีแก่เธอ แม้ครู่
หนึ่ง ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่
เป็นปาจิตตีย์.
คำว่า แกล้งก่อความรำคาญนั้น ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า ปรารภ
พระบัญญัติ. มีคนบางคน มีปกติมักหนักอกหนักใจ ปรารภเรื่อง

ราวอะไรต่าง ๆ ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ในพวกวิตกจริต. ภิกษุที่เป็น
คนเช่นนี้ มีใครมาพูดปรารภเหตุการณ์ อันขัดต่อพระบัญญัติ และ
ไม่สามารถจะรู้ได้ เช่นกล่าวว่า ในเวลาท่านอุปสมบท อย่างไรจะ
รู้ได้ว่า กรรมนั้นพร้อมด้วยสมบัติทุกประการ ถ้าบกพร่องไป มิ
เป็นอันไม่ได้อุปสมบทหรือ ? เพียงเท่านี้ จะถือเอามาเป็นเหตุหนักอก
หนักใจ และได้ความร้อนใจเพียงไร. ภิกษุผู้ไม่ตั้งอยู่ในสังวร
มุ่งแต่ความสนุก ไม่นึกถึงความทุกข์ของเพื่อนกัน เก็บเอาข้อ
เช่นนั้นเข้าไปพูดให้ฟัง ท่านปรับด้วยอาบัติปาจิตตีย์ในสิกขาบทนี้.
ไม่ได้แกล้วจะก่อความรำคาญ พูดแนะนำตามเหตุ เช่น อุปสมบท
เมื่ออายุพอหวุดหวิด แนะให้ทำเสียให้มั่นเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๘ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อภิกษุทั้งหลายเกิดหมาง
กัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ยืนแอบฟัง ด้วยหมายว่า จัก
ได้ฟังคำที่เธอพูดกัน ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย
หาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
ข้อว่าเมื่อภิกษุเกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน วิวาทกันนั้น ตน
เกี่ยวข้องด้วยก็ตาม ไม่เกี่ยวข้องด้วยก็ตาม ห้ามไม่ให้เข้าไปแอบ
เพื่อจะฟังความ และเก็บเอามาเป็นเครื่องโต้เถียง หรือหาโทษใส่กัน
หรือเป็นเครื่องมือสำหรับจะได้ยุยง เพื่อเธอจะได้แตกกัน ตนจะได้
เข้าสนิทสนม. กิริยาที่แอบฟังความนี้ โลกถือว่าเป็นการเลวทราม
ที่สุด จนคนสอดแนมรับจ้างสืบความลับของคนทั้งหลาย ถึงยังต้อง
ใช้อยู่ เขาก็ไม่นิยมว่าเป็นคนดี ไม่มีใครจะไว้ใจคนเช่นนั้น. พระ

ศาสดาทรงเล็งเห็นเหตุนี้แล้ว จึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ เพื่อป้องกัน
ไว้ง แม้ไม่ได้มุ่งจะแอบฟัง เผอิญเดินผ่านไปโดยทางที่เขานั่งพูดอยู่
และรู้ว่าเป็นความงุบงิบ เขาปิดตน ท่านสอนให้แสดงอาการเป็นต้น
ว่ากระแอมหรือไอ เพื่อเขาจะได้รู้ว่าตนผ่านไปทางนั้น. คำที่ว่า
ทำอย่างนั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่นั้น ให้สันนิษฐาน
ว่า แอบฟังอันไม่มีโทษ ไม่ทรงห้าม. ตัวอย่าง ภิกษุสนทนากัน
ด้วยธรรมวินัย หรือวินิจฉัยอธิกรณ์ ตนไม่ใช่ผู้จะเข้าชุมนุมในที่นั้น
ด้วย นั่งฟังอยู่ในเอาเทศหนึ่ง เช่นนี้ไม่เป็นอาบัติ มีธุระจะจับภิกษุ
ประพฤติอัชฌาจาร แอบฟังเธอนั่งพูดกับหญิงสองต่อสอง ไม่เป็น
อาบัติเหมือนกัน.
สิกขาบทที่ ๙ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็น
ธรรมแล้ว ถึงธรรมคือความบ่นว่าในภายหลัง เป็นปาจิตตีย์.
มีอธิบายว่า กรรมอันสงฆ์จะพึงทำนั้น ต้องทำด้วยความพร้อม
เพรียง ภิกษุผู้อยู่ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่าสีมา มีสิทธิที่จะเข้าในที่
ประชุมสงฆ์ หรือในอันจะให้ฉันทะคือความยอมให้ทำกิจนั้น ถ้า
สงฆ์วันภิกษุบางรูปเสีย ไม่เชิญเข้าชุมนุม หรือไม่ขอฉันทะของ
เธอไปทำกิจนั้น ดังนี้ชื่อว่าทำกรรมเป็นพวก กรรมนั้นใช้ไม่ได้. ใน
สิกขาบทนี้กล่าวถึงภิกษุให้ฉันทะอย่างนั้น เพื่อกรรมอันเป็นธรรม
แล้ว ภายหลังรู้ว่าสงฆ์ทำไม่ถูกใจตนและบ่นว่า ถ้ากรรมนั้นสงฆ์ทำ
เป็นธรรมแล้ว ต้องปาจิตตีย์. ท่านกล่าวว่า อาบัติเป็นสจิตตกะ
แต่ไม่มีอะไรบ่งให้รู้ความข้อนี้. ถ้ากรรมที่สงฆ์ทำนั้นไม่ถูกธรรม


บ่นว่า ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็น
ไปอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.
อธิบายต่อจากสิกขาบทก่อนว่า ภิกษุผู้เข้าไปชุมนุมสงฆ์แล้ว
เมื่อสงฆ์ยังกำลังทำกิจค้างอยู่ ปรารถนาจะให้เสียกรรม ไม่ให้ฉันทะ
ก่อน ลุกไปเสียเฉย ๆ พอละจากหัตถบาส ต้องปาจิตตีย์. ท่าน
กล่าวว่าอาบัติเป็นสจิตตกะเหมือนกัน แต่ไม่มีอะไรบ่งอย่างเดียวกัน.
เห็นสงฆ์ทำกรรมไม่เป็นธรรมก็ดี เห็นว่าจะเกิดวิวาทกันขึ้นก็ดี หลีก
ไปเสียไม่เป็นอาบัติ ไม่ได้ตั้งใจจะทำกรรมให้เสีย ปวดอุจจาระ
ปัสสาวะ ไม่ทันจะให้ฉันทะ หลีกไปด้วยคิดว่าจะกลับมาอีก หรือ
ไม่สบายขึ้น จะนั่งต่อไปไม่ได้ก็ดี มีธุระอันจะพึงทำแก่ภิกษุไข้ เช่น
ถึงเวลาให้ฉันยา ให้ฉันทะแล้วหลีกไปก็ดี ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.
สิกขาบทที่ ๑๑ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด [พร้อมใจ] ด้วยสงฆ์ผู้
พร้อมเพรียงกัน ให้จีวร [แก่ภิกษุ] แล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า
ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภจะสงฆ์ไปตามชอบใจ เป็นปาจิตตีย์.
มีอธิบายว่า เมื่อลาภเกิดขึ้นแก่สงฆ์ แต่เป็นของน้อย ไม่พอ
จะแจกให้ทั่วกัน มีธรรมเนียมว่า ถ้าเป็นบิณฑบาตหรือเภสัช อัน
จะเก็บไว้ไม่ได้ เช่นนี้แจกตามลำดับผลัดกันไป ถ้าเป็นของที่จะเก็บ
ไว้ได้เช่นจีวร ก็เก็บไว้กว่าจะได้มาพอแจกกันคราวหนึ่ง จึงแจกให้
ได้ทั่วกัน ถ้าเหลือเศษหรือได้น้อยไม่พอจะดำดังนั้น สงฆ์อปโลกน์
กัน ยกให้แก่ภิกษุที่ทำกิจสงฆ์ เป็นต้นว่าผู้จัดเสนาสนะและผู้แจก

ของ. ในสิกขาบทนี้ กล่าวถึงสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุรูปหนึ่งด้วยอาการ
อย่างนี้. ในสิกขาบทกล่าวจีวร ท่านจึงแก้ว่า ให้บริขารอื่นแล้ว
บ่นว่า ต้องทุกกฏ. ความแห่งสิกขาบท น่าจะตกบทสัมปทานการก
คือภิกษุผู้รับให้. ในคัมภีร์วิภังค์ท่านแก้ว่า ภิกษุผู้ได้รับสมมติ เป็น
วัตถุแห่งปาจิตตีย์, ภิกษุผู้ไม่ได้รับสมมติ และอนุปสัมบัน เป็น
วัตถุแห่งทุกกฏ. บางทีบทนั้นจะตกทีหลัง ตั้งแต่รจนาคัมภีร์วิภังค์
แล้วมา.
สิกขาบทที่ ๑๒ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ น้อยลาภที่เขาน้อม
ไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล เป็นปาจิตตีย์.
อธิบายทั้งปวง พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วในสิกขาบทว่าด้วย
น้อมลาภมาเพื่อตน ในที่สุดแห่งปัตตวรรค.
รตนวรรคที่ ๙
สิกขาบทที่ ๑ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน ก้าวล่วง
ธรณีเข้าไป ในห้อง ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว
ที่พระราชยังไม่เสด็จออก ที่รัตนะยังไม่ออก เป็นปาจิตตีย์.
คำว่า ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษกแล้วนั้น กล่าว
ตามประเพณีของบ้านเมือง. เขาแบ่งคนเป็น ๔ เหล่า คือ กษัตริย์
ผู้ป้องกันบ้านเมืองเหล่า ๑ พราหมณ์ ผู้ฝึกสอนเหล่า ๑ แพศย์ ผู้ค้าขาย
เหล่า ๑ ศูทร ผู้เป็นลูกจ้างเหล่า ๑. พวกกษัตริย์และพวกพราหมณ์
จัดเป็นพวกมีสกุล. คนในพวกนั้น สมสู่กันในพวกของตนเอง เช่น

ผู้เป็นกษัตริย์ ก็คงหานางกษัตรีเป็นคู่ พราหมณ์ก็คงหานางพราหมณี
เป็นคู่ ไม่สมสู่ด้วยหญิงในสกุลที่ต่ำลงมา. เชื้อสายที่สืบลงมาจาก
ท่านผู้เป็นเทือกเถาได้ ๗ ชั่ว ไม่ปะปน ถือว่าเป็นคนมีสกุลอย่างสูง
ในพวกของตน. พวกกษัตริย์นั้น ตรงกับพวกเจ้า มีหัวหน้า
ในพวกของตน มียศเป็นพระราชาผู้ครองแผ่นดิน. เมื่อกษัตริย์ผู้หนึ่ง
จะรับยศนั้น มีพิธีสมมติด้วยหลั่งน้ำลงบนพระเศียร หรือด้วยให้
สงสนานทั่วพระองค์ตั้งแต่พระเศียรลงมา อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า
มูรธาภิเษก ครั้งได้รับสมมติอย่างนี้แล้ว จัดว่าเป็นพระราชาเต็มที่.
ในสิกขาบทนี้ กล่าวถึงพระราชาชาติกษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วอย่าง
นั้น เพื่อจะแสดงว่าไม่หมายเอากษัตริย์เป็นเพียงชั้นเจ้า ไม่พึงเข้าใจ
ว่า หมายเอากษัตริย์ที่สืบเนื่องไม่ลักลั่นมา ๗ ชั่ว. แม้หากจะเป็น
กษัตริย์เพิ่งตั้งพระวงศ์ใหม่และรับสมมติโดยวิธีอื่น ก็นับว่าเป็นพระ-
ราชาในสิกขาบทนี้.
บทว่า ที่รัตนะยังไม่ออกนั้น บาลีแห่งสิกขาบทนี้ เรียกพระ
มเหษีว่ารัตนะ พระมเหษีอันเป็นคู่ควรแก่พระราชา จัดว่าเป็นรัตนะ
ประการหนึ่ง สงเคราะห์เข้าในรัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิราช
และคำว่า "อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตมํ" แปลว่า "สตรีเป็นสูงสุดแห่ง
ภัณฑะทั้งหลาย" ก็หมายว่าเป็นรัตนะนั่นเอง. ในสิกขาบทนี้ ดู
เหมือนมีบทตกอยู่แห่งหนึ่ง คือห้องหรือตำหนัก ในคัมภีร์วิภังค์
กล่าวว่า ตำหนักที่ผทม และแก้ต่อไปว่า ในที่ใดที่หนึ่งก็ตาม ที่แต่ง
พระที่ผทมของพระราชาไว้ โดยที่สุดแม้วงด้วยม่าน.

ถ้าสิกขาบทที่ ๓ แห่งจาริตตวรรค๑ ห้ามไม่ให้เข้านั่งแทรกแซง
ในสกุลที่มีแต่สามีกับภรรยา สิกขาบทนี้ ก็ไม่จำเป็นจะต้องบัญญัติ
ซ้ำ ข้าพเจ้าจึงเห็นความว่า สิกขาบทโน้นห้ามการนั่งแทรกแซงใน
เวลาเขาบริโภคอาหาร.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง
รัตนะก็ดี ซึ่งของสมมติว่ารัตนะก็ดี เว้นไว้แต่วัดที่อยู่ก็ดี ในที่
อยู่พักก็ดี เป็นปาจิตตีย์. และภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง
รัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี
แล้วพึงเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจะได้เอาไป นี้เป็นสามี-
ิจิกรรมในเรื่องนั้น.
รัตนะนั้น ได้แก่ทองเงินและเพชรพลอย ของที่สมมติว่ารัตนะ
นั้น คือไม่ใช่ของที่เป็นตัวรัตนะแท้ เป็นของทำเทียม เช่น ของ
รูปพรรษอันชุบทองชุบเงิน และของเครื่องประดับ เช่น ฝังพลอยหุง
หมายความตลอดมาถึงเครื่องใช้สอยของคนทั่วไป. ของเหล่านี้ ตก
อยู่ในที่อื่นนอกจากวัดและที่พัก ห้ามไม่ให้ภิกษุเก็บเอา ด้วยถือว่า
เป็นของเก็บได้ก็ตาม ด้วยหมายจะให้เจ้าของก็ตาม เพราะการเก็บ
ของเช่นนี้ มีทางจะต้องสำนอง อาจถูกสงสัยในโจรกรรมก็ได้.
คนมักง่าย มักถือว่าเป็นลาภ แต่เป็นการเสียอยู่. ธรรมเนียมบ้าน
เมืองในบัดนี้ ผู้เก็บของตกได้ ต้องเอาไปมอบแก่เจ้าหน้าที่ในกอง
รักษา. ภิกษุฝ่ายสิกขาบทนี้ ต้องปาจิตตีย์. ในอรรถกถากล่าวว่า

อเจลกวรรค.

ถ้าของนั้นเป็นนิสสัคคิยวัตถุ ต้องนิสัคคิยปาจิตตีย์. ถ้าภิกษุไม่ต้อง
สำนองเพราะของนั้นต่อไป ก็ชอบอยู่ ถ้ายังจะต้องสำนอง เห็น
ต้องปรับด้วยสิกขาบทนี้. ถ้าของเช่นนั้นตกในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่พัก
อยู่ก็ดี ไม่เก็บไว้ หายไป ไม่เป็นความดีความงามแก่เจ้าถิ่น อาจถูก
สงสัยว่าเอาเสียก็ได้ จึงทรงพระอนุญาตให้เก็บไว้ให้เจ้าของ. รัตนะ
อันเป็นอนามาส ก็ชื่อว่าได้รับอนุญาตเป็นพิเศษ เพื่อจะถือได้ หาก
มีใครมาตามเอาว่า เป็นเจ้าของ อย่าพึงให้ไปโดยง่าย ผิดตัวจะ
ต้องสำนองเหมือนกัน พึงไล่เลียงให้เชื่อได้ก่อนจึงให้. ในคัมภีร์
วิภังค์แนะไว้ว่า ให้กำหนดจำรูป หรือเครื่องหมายอย่างอื่นไว้ ถ้า
มีใครมาตามเอา พึงสอบถาม ถ้าเขาบอกรูปหรือเครื่องหมายถูก
ต้อง จึงให้ ถ้าบอกไม่ถูก พึงบอกให้เขาหาเอาเอง. จะหลีกไปจาก
อาวาสนั้น พึงมอบไว้ในมือคฤหบดีผู้สมควร. คำแนะนำนี้กล่าวชอบ
เป็นหลักฐาน. ของตกอยู่ในอารามหรือที่พัก ภิกษุไม่เก็บไว้ ชื่อว่า
ละกิจวัตร ท่านปรับอาบัติทุกกฏ.
ในสิกขาบทนี้ พระอรรถกถาจารย์ สงเคราะห์การรับของฝาก
ของคฤหัสถ์เก็บไว้ด้วย อธิบายตามเค้านี้มากมาย. การรับของฝาก
ของคฤหัสถ์เก็บไว้นั้น บางคราวก็นำมาซึ่งความเสียหายได้เหมือนกัน
แม้อย่างนั้น ก็ต่างประเภทจากการเก็บของตก เห็นจัดเข้าพวกกัน
ไม่ได้.
สิกขาบทที่ ๓ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ไม่อำลาภิกษุผู้มีอยู่แล้ว เข้า

ไปสู่บ้านในเวลาวิกาล เว้นไว้แต่กิจรีบ [คือธุระร้อน] มีอย่างนั้น
เป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.
เวลาวิกาลในสิกขาบทนี้ น่าจะหมายเอาเวลาค่ำ เพราะ
สิกขาบทห้ามการเที่ยวในสกุล ในจาริตตวรรค๑ กล่าวเวลาบ่ายว่า
ปัจฉาภัตร และในที่นี้ ก็ห้ามการเที่ยวกลางคืนนั่นเอง แต่ในคัมภีร์
วิภังค์แก้ว่า ตั้งแต่เที่ยงแล้วจนถึงอรุณใหม่ เหมือนในสิกขาบทที่
ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล ในโภชนวรรค. กิจรีบมีตัวอย่างดังท่าน
แสดงไว้ เช่น ภิกษุถูกงูกัด แม้เหตุอย่างอื่น เช่น ภิกษุอาพาธ
อันจะถึงความสิ้นชีวิตได้โดยรวดเร็ว จะรีบเข้าไปหายา หรือไปตาม
หมอ หรือเกิดไฟไหม้ขึ้นข้างวัด จะรีบไปพาคนมาช่วยระวัง ก็
สงเคราะห์เข้าในกิจรีบนี้ได้. อยู่รูปเดียว ไม่มีภิกษุอื่นในวัด ไปได้.
เข้าบ้านในกาล ไม่ต้องอำลาเพราะสิกขาบทนี้. เข้าในวิกาลแต่อำลา
แล้ว หรือเพราะกิจรีบ ไม่เป็นอาบัติ. เดินไปตามทางอันผ่านบ้าน
ไม่ได้แวะ และไปสู่อารามอื่น ไม่ห้าม.
สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำกล่องเข็ม แล้วด้วย
กระดูกก็ดี แล้วด้วยงาก็ดี แล้วด้วยเขาก็ดี เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้
ต่อยเสีย.
นิทานต้นบัญญัติกล่าวว่า ภิกษุเกิดเล่นกล่องเข็มกันขึ้น จึงได้
ทรงบัญญัติห้าม เพื่อจะตัดการรบกวนช่างกลึง เพราะเหตุนั้น
สิกขาบทนี้ จึงเป็นบัญญัติเฉพาะเรื่อง. ให้ทำเอง เป็นปาจิตตีย์

ในจาริตตสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค.

ต้องต่อยกล่องเข็มนั้นให้แตกเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ปาจิตตีย์
ชนิดนี้ เรียกเภทนาปาจิตตีย์ มีสิกขาบทเดียวเท่านี้. ได้กล่องเข็ม
เช่นนั้น อันคนอื่นทำไว้แล้วมาใช้สอยเป็นกล่องเข็ม ต้องทุกกฏ. เพราะ
ในสิกขาบทกล่าวถึงกล่องเข็มอย่างเดียว ของอื่นเช่นลูกดุม ลูกถวิน
ตะบันไฟ กลักยาตา ไม้ป้ายยาตา และอื่น ๆ ท่านอนุญาต แต่พึง
เข้าใจว่า ไม่ใช่ของที่เล่นฮือกัน ถ้าทำขึ้นในเวลาที่เล่นฮือกัน อนุโลม
ตามต้นบัญญัติ ไม่พ้นจากทุกกฏกระมัง.
สิกขาบทที่ ๕ ว่า อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ใหม่ พึง
ทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ เธอ
ทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.
เตียงนั้น เป็นของที่ทำยาวพอนอนได้. ตั่งนั้น เป็นของที่ทำสั้น
ไม่พอจะนอน ใช้เป็นที่นั่ง ตรงกับม้า. ทำเองก็ดี ให้ทำก็ดี ให้ล่วง
ประมาณ ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดเท้าเตียงเท้าตั่ง ซึ่งเกินประมาณ
นั้นเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้. ปาจิตตีย์ชนิดนี้ เรียกว่าเฉทนก-
ปาจิตตีย์ มีหลายสิกขาบท นอกจากนี้ กล่าวถึงผ้าทั้งนั้น. ได้ของ
ที่เขาทำเกินประมาณไว้มา ใช้สอยนั่งนอนทั้งอย่างนั้น ต้องทุกกฏ.
ตัดเท้าให้ได้ประมาณเสียก่อน ใช้ได้. ส่วนม้า ๔ เหลี่ยมพอเฉพาะ
ก้นนั่ง เรียกว่า อาสันทิ และตั่งมีพนัก ๓ ด้าน ตรงกับเก้าอี้มีแขน
เรียกสัตตังคะ เป็นของที่ทรงอนุญาตไว้แผนกหนึ่ง และตั่งมีพนัก
ด้านเดียว ตรงกับเก้าอี้ไปมีแขน เรียกปัญจังคะ เป็นของอนุโลม
สัตตังคะ มีเท้าสูงกว่าประมาณ ก็ใช้ได้.

สิกขาบทที่ ๖ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี เป็น
ของหุ้มนุ่น (คือยัดนุ่น) เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้รื้อเสีย.
คำว่า นุ่นนั้น หมายเอาของที่เป็นปุย เกิดจากต้นไม้ เกิดจาก
เถาวัลย์ แม้ดอกหญ้าเลา แม้ฝ้าย ก็นับเข้าในนี้. เตียงตั่งหุ้มนุ่นนั้น
พึงเห็นดังเก้าอี้เบาะ.
สิกขาบทที่ ๗ ว่า อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง พึงให้ทำให้
ได้ประมาณ. นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง
ชายคืบหนึ่ง ด้วยคืบสุคต. เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็น
ปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.
ผ้าสำหรับนั่งนี้ เรียกชื่อตามบาลีว่า นิสีทนะ ทรงอนุญาตเป็น
บริขารพิเศษ อธิฐานไว้ได้ผืนหนึ่ง. ในสิกขาบทนี้ มีกำหนด
ประมาณ เดิม ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ภายหลัง ภิกษุอ้วนโต
นั่งไม่พอ ทรงอนุญาตเพิ่มชายอีกคืบหนึ่ง. เพราะคำว่า คืบหนึ่ง
เฉย ๆ ไม่มีด้านยาวหรือด้านกว้าง จึงพาให้นักวินัยสันนิษฐาน
ต่างกัน. ข้าพเจ้าจะยกไว้กล่าวถึงในหมวดบริขารบริโภคในเล่ม ๒.

ถ้าเพ่งว่า ชายนั้น ทรงอนุญาตให้ต่อ เพื่อจะได้พอนั่ง ก็น่าจะ
เข้าใจว่า ให้ต่อด้านไหน แต่ถ้ากำหนดประมาณแห่งชายให้เกินคืบ
หนึ่ง ๔ เหลี่ยม ก็เป็นข้อน่าจะดำริอยู่. อธิบายพึงรู้โดยนัยอันกล่าว
แล้วในสิกขาบทที่ ๕.

สิกขาบทที่ ๘ ว่า อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝี พึงทำให้ได้
ประมาณ. นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ

ด้วยคืบสุคต. เธอให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้
ตัดเสีย.
ผ้าสำหรับปิดฝีนั้น ทรงอนุญาตเป็นบริขารพิเศษ อธิษฐาน
ใช้ได้ชั่วคราว อาพาธเป็นเม็ดยอด เช่นฝีดาษ สุกใส หิด ตะมอย
หรือเป็นพุพอง อันมีหนอง มีน้ำเหลืองเปรอะเปื้อน. มีจำกัด
ประมาณไว้ในสิกขาบทนี้.
สิกขาบทที่ ๙ ว่า อนึ่ง ภิกษุให้ทำผ้าอาบน้ำฝน พึงให้ทำให้
ได้ประมาณ. นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ
ครึ่ง ด้วยคืบสุคต. เธอทำให้ล่วงประมาณนั้น เป็นปาจิตตีย์ มีอัน
ให้ตัวเสีย.
เรื่องผ้าอาบน้ำฝนนั้น ได้กล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๔ แห่งปัตต-
วรรค อันว่าด้วยการแสวงหาและทำนุ่ง.
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่า
สุคตจีวรหรือยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย. นี้ประมาณ
แห่งสุคตจีวรของพระสุคต ในคำนั้น โดยยาว ๙ คืบ โดยกว้าง ๖ คืบ
ด้วยคืบพระสุคต.
อนุมานตามส่วนนี้ สำเร็จสันนิษฐานว่า ในครั้งก่อนคงใช้จีวร
เล็ก ขนาดผ้าห่มหนาวชนิดใหญ่หน่อย, ข้าพเจ้าจักงดไว้กล่าวใน
บริขารบริโภคในเล่ม ๒.

สรูปข้อห้ามในกัณฑ์นี้
การละเมิดข้อห้ามในกัณฑ์นี้ ให้ต้องอาบัติปาจิตตีย์เสมอกัน

แม้อย่างนั้น ความเสียยังยิ่งหย่อนกว่ากัน มีฉันของไม่ได้ประเคน
กับพูดมุสาเป็นตัวอย่าง ภิกษุผู้ไม่ได้พิจารณาให้แจ้งอรรถรสนี้ ที่
สะเพร่า ก็จะสำคัญเห็นว่าล่วงได้ทั้งนั้น ไม่เสียหายเพียงไร ที่เคร่ง
ก็จะถือเป็นสำคัญไปทุกอย่าง จนเสียความสะดวก ข้าพเจ้าปรารถนา
จะให้ผู้ศึกษาวินัยหยั่งเห็นอรรถรส โดยถ่องแท้ จะได้ปฏิบัติให้สำเร็จ
ประโยชน์จริง ๆ จึงแสดงข้อห้ามในกัณฑ์นี้ จัดเป็นหมวดตาม
ความเสียหนักเบาอย่างไร วางไว้พอเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นทางสันนิษ-
ฐานดังต่อไปนี้ :-
๑. ข้ออันทำให้เป็นคนเลว คือ กล่าวมุสา กล่าวส่อเสียด ดื่ม
สุราเมรัย โจทด้วยสังฆาทิเสสไม่มีมูล.
๒. ข้อแสดงความดุร้าย คือ กล่าววาจาเสียดแทงให้เจ็บใจ ให้
ประหาร เงื้อมือทำอาการดุจเช่นนั้น ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน.
๓. ข้ออันทำให้เสียหาย คือ ประจานความชั่วของกันและกัน
ปิดความชั่วของกันและกัน นั่งในที่ลับกับหญิงสองต่อสอง นอน
ร่วมในเขตกับหญิง เดินทางกับพ่อค้าผู้ซ่อนเอาของต้องห้ามเข้ามา
เดินทางกับหญิง แอบฟังความของผู้อื่น เห็นของตกถือเอาเป็นของ
เก็บได้.
๔. ข้ออันส่อความซุกซน คือ เล่นจี้ เล่นน้ำ หลอนภิกษุ
ซ่อนของเพื่อล้อเล่น พูดเย้าให้เกิดรำคาญ.
๕. ข้ออันทำให้เสียกิริยา คือ รับนิมนต์ฉันไว้ก่อนแล้วไปฉันใน
ที่นิมนต์ทีหลัง ไม่แบ่งขนมที่เขาถวายมามากแก่ภิกษุอื่น เข้า

ไปนั่งแทรกแซงในสกุลที่เขากำลังบริโภคอาหาร รับปวารณาเกินกำหนด
บริโภคจีวรซึ่งวิกัปไว้อันยังไม่ได้ถอน น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มา
เพื่อบุคคล ติเตียนภิกษุเจ้าหน้าที่ผู้ทำกิจสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อในพระวินัย
ให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้วบ่นว่าเมื่อภายหลัง คุ้ยอธิกรณ์ขึ้น
ทำใหม่ เมื่อสงฆ์กำลังวินิจฉัยกิจการอยู่ ไม่ให้ฉันทะลุกไปเสีย พร้อมใจ
กับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุรูปหนึ่งแล้วบ่นว่าเมื่อภายหลัง.
๖. ข้ออันส่อความสะเพร่า คือ เอาเสนาสนะของสงฆ์ไปตั้งใช
ในที่แจ้งแล้วไม่เก็บ เอาที่นอนปูไว้ในวิหารของสงฆ์ให้กีดที่ เอาน้ำ
มีตัวสัตว์เทรดหญ้ารดดิน บริโภคน้ำมีตัวสัตว์.
๗. ข้อที่ล่วงแล้วให้เสียธรรมเนียมของภิกษุ คือ นอนร่วมกับ
อนุปสัมบัน ขุดดิน พรากภูตคาม ฉันคณโภชนะ ห้ามโภชนะ
แล้วกลับฉันอีก ฉันอาหารในวิกาล ฉันอาหารเป็นสันนิธิ ฉันของ
ไม่ได้รับประเคน ขอโภชนะอันประณีต ไม่เจ็บและผิงไฟ นุ่งห่ม
ผ้าไม่ได้ทำพินทุ ไม่บอกลาก่อนเข้าบ้านในวิกาล ทำกล่องเข็มงา
ทำเตียงดั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ ทำเตียงตั่งหุ้มนุ่น ทำจีวรและผ้าบริขา
บางอย่างให้ล่วงประมาณ.

พระศาสดาทรงบัญญัติสิกขาบท เพื่อจะป้องกันโทษเหล่านี้ และ
นำความดีความงามมาแก่สาวก.