วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กัณฑ์ที่ ๘ ปาฏิเทสนียะ

กัณฑ์ที่ ๘
ปาฏิเทสนียะ

ศัพท์นี้ เป็นชื่อของอาบัติ แปลว่า จะพึงแสดงคืน เป็นชื่อของสิกขาบท แปลว่า
ปรับด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ มี ๔ สิกขาบท.

สิกขาบทที่ ๑ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี
ด้วยมือของตน จากมือของนางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้วสู่
ละแวกบ้าน เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี อันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะ
เธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดง
คืนธรรมนั้น.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย รับนิมนต์ฉันอยู่ใน
สกุล. ถ้าภิกษุณีมายืนสั่งเสียอยู่ในที่นั้นว่า จงถวายแกงในองค์นี้
จงถวายข้าวในองค์นี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น พึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า
น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่. ถ้า คำ
ของภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่กล่าวออกไป เพื่อจะรุกรานภิกษุณีนั้นว่า
น้องหญิง เธอ จงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่ ภิกษุเหล่า
นั้น พึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบาย
ควรจะแสดงคืน พวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
สิกขาบทที่ ๓ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อน มิใช่
ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็น
เสขะ ด้วยมือของตนแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้น พึงแสดงคืน

ว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืน
ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
คำว่า เสขะนั้น เป็นชื่อเรียกบุคคลผู้ได้บรรลุมรรคผลเบื้องต่ำ
ขึ้นไปจนพระอรหัตตมรรค แปลว่า ผู้ยังศึกษา คือยังควรจะปฏิบัติ
เพื่อธรรมอันสูงขึ้นไปกว่า. สกุลใดมีศรัทธากล้า โดยฐานเป็นเสขะ
แต่ยากจน มีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์สวดประกาศสมมติตั้งว่าเป็นเสขะ
และห้ามไม่ให้ภิกษุเข้าไปรับบิณฑบาตในสกุลนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เขา
สึกหรอ เว้นไว้แต่เขานิมนต์เองหรืออาพาธ. เมื่อไม่มีปัจจัยขืนเข้าไป
ปรับอาบัติปาฏิเทสนียะด้วยสิกขาบทนี้.
สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่า
เป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อัน
เขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ
เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้น พึงแสดงคืนว่า แนะเธอ ฉันต้องธรรมที่
น่าติ ไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เสขิยะ
ศัพท์นี้ เป็นชื่อของธรรมที่ได้แก่วัตร หรือธรรมเนียมอย่าง
เดียว แปลว่าควรศึกษา จัดเป็นหมวดได้ ๔ หมวด หมวดที่ ๑
เรียกว่าสารูป ว่าด้วยธรรมเนียมควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน, หมวด
ที่ ๒ เรียกโภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยธรรมเนียมรับบิณฑบาตและฉัน

อาหาร, หมวดที่ ๓ เรียกธรรมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยธรรมเนียม
ไม่ให้แสดงธรรมแก่บุคคลแสดงอาการไม่เคารพ. หมวดที่ ๔ เรียก
ปกิณณกะ ว่าด้วยธรรมเนียมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. ในคัมภีร์วิภังค์
ท่านจัด ๑๐ สิกขาบท เข้าเป็นวรรคเหมือนในปาจิตติยกัณฑ์ แต่
ธรรมเนียมเหล่านี้ก้าวก่ายกันไปหมด ข้าพเจ้าจึงจัดตามแบบนี้.
สารูป หมวดที่ ๑
มี ๒๖ สิกขาบท จัดเป็นคู่ ๆ ได้ ๑๓ คู่ ดังต่อไปนี้ :-
คู่ที่ ๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล เราจักห่ม
เป็นปริมณฑล.
นุ่งห่มเป็นปริมณฑลนั้น คือ นุ่งห่มกลมกล่อมเรียบร้อย. นุ่ง
เบื้องบนปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก เบื้องล่างปิดหัวเข่าทั้ง ๒
ลงมาเพียงครึ่งแข้ง ไม่จึงกรอมข้อเท้า นี้เรียกว่านุ่งเป็นปริมณฑล,
ห่มอย่างไรเป็นปริมณฑลนั้น ท่านแสดงไว้ไม่ชัด เป็นแต่กล่าวว่า
ทำมุมผ้าทั้ง ๒ ให้เสมอกัน อย่าปล่อยให้เลื้อยหน้าเลื้อยหลัง. กล่าว
ตามธรรมเนียมที่ใช้อยู่บัดนี้ ในวัดห่มเฉวียงบ่า คือปิดบ่าและแขน
ซ้าย เปิดบ่าและแขนขวา ปกเข่าลงมาขนาดเท่าผ้านุ่ง. เข้าบ้านห่ม
ุคลุม ปิดบ่าและแขนทั้ง ๒ ข้าง ปิดหลุมคอ ข้างล่างปิดหัวเข่าทั้ง ๒
ดังกล่าวแล้ว สิกขาบทคู่นี้ หมายเอากิริยานุ่งห่มอย่างแบบของภิกษุ
แล้ว แต่ให้นุ่งเรียบร้อย ห้ามไม่ให้ทำรุ่มร่ามหือถกรั้ง ไม่นุ่งอย่าง
แบบภิกษุ แม้ถึงจะปิดมณฑล ๓ ได้เรียบร้อย เช่นนุ่งโจงกระเบน

ก็จัดว่าใช้ไม่ได้.
คู่ที่ ๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี ไปในละแวด
บ้าน เราจักปกปิดกายดี นั่งในละแวกบ้าน.
ผ้านุ่งผ้าห่มที่จัดไว้เรียบร้อยแล้ว ในเวลานุ่งห่ม พึงระวังอย่า
ให้เลื่อนขึ้นเลื่อนลง คอยชักปกปิดอวัยวะนั้น ๆ ที่กำหนดให้ปิด นี้
เป็นคำสอนในสิกขาบทคู่นี้. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยสิกขาบทคู่นี้ เป็นอัน
ให้ห่มคลุมเข้าบ้าน.
คู่ที่ ๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน
เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน.
คำว่า สำรวมดีนั้น หมายเอารักษาอวัยวะสงบ ไม่คะนองมือ
คะนองเท้า ไม่ไหวมือไหวเท้าเพื่อจะเล่น เช่นแกว่งเท้า กระดิกมือ
เล่น เป็นต้น ใช้มือใช้เท้าในเวลามีกิจ ไม่ห้าม.
คู่ที่ ๔ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปในละแวดบ้าน
เราจักมีตาทอดลง นั่งในละแวกบ้าน.
ท่านสอนให้แลประมาณชั่วแอกหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่า ๔ ศอก
แต่ดวงตาอาจเห็นได้ไกลกว่านั้น ถ้าแลสั้นถึงปานนั้น ดูเป็นการแกล้ง
ทำ ไม่ใช่อาการโดยปกติ ไม่เพียงเกินงาน กลับงมงายไปอีก. ความ
ต้องการนั้น ให้รักษาเป็นอาการโดยปกติ แม้จะแลไกลก็ได้ แต่แลตา
ทอดลง อย่าแลเลิกตา. มีคำในพระสูตรบางแห่งว่าภิกษุผู้ไม่งมงาย
ย่อมแลเห็นช้างร้าย ม้าร้าย อันมาตามทางและรู้จักหลบหลีก อย่างคน
ทั้งหลายเขาทำกัน ไม่อวดดี.

คู่ที่ ๕ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้ง
เวิกผ้า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า.
การเวิกผ้านั้น หมายเอาเปิดสีขางให้เห็น เช่นถกจีวรขึ้นพาด
ไว้บนบ่า.
คู่ที่ ๖ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจกไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้ง
ความหัวเราะลั่น เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความหัวเราลั่น.
หัวเราะลั่นนั้น คือ หัวเราะเฮฮา. ความซิกซี้ คือหัวเราะคิกคัก
ก็สงเคราะห์ในข้อนี้เหมือนกัน. เป็นกิริยาเสียสังวรทั้งนั้น. เมื่อมีเรื่อง
ขันที่น่าหัวเราะ กลั้นไม่อยู่ พึงทำแต่ความยิ้มแย้มเท่านั้น.
คู่ที่ ๗ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อย ไปในละแวกบ้าน
เราจักมีเสียน้อย นั่งในละแวกบ้าน.
คำว่า เสียน้อยนั้น หมายเสียที่เป็นข้าศึกแก่เสียงดัง ไม่ใช่
เสียพูดซุบซิบ โดยความก็คือเสียงปกติ. ตามมติพระอรรถกถาจารย์
นั่งห่างกัน ๑๒ ศอก ห่างกันหนึ่งพูด อีกรูปหนึ่งได้ยินเสียงแต่ฟังไม่ถนัด
รูปอยู่ในระหว่าง ห่างกันเพียง ๖ ศอก ฟังถนัด เป็นเสียพอดี
เสียงเบาเพียงเท่านี้ ในเวลาพูดก็พอดี แต่ในเวลาเทศนาในที่ชุมนุม
คนมาก เห็นจะเบาเกินไป แม้จะว่าดังเกินพระอรรถกถาจารย์กำหนด
ไว้ แต่ไม่เสียสังวร คือไม่ได้ใช้เสียงตะเบ็ง ไม่ได้ใช้เสียงตะโกน
เห็นว่าใช้ได้.
คู่ที่ ๘ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่โยกกายไปในละแวกบ้าน
เราจักไม่โยกกายนั่งในละแวกบ้าน.

กิริยาโยกกาย เพราะทำพูมก็ตาม เพราะอ่อนแอก็ตาม ห้าม
ทั้งนั้น ท่านต้องการให้เดินและนั่งตั้งตัวตรง.
คู่ที่ ๙ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบาน
เราจัดไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน.
ไกวแขนก็เหมือนกัน เพื่อทำพูมก็ตาม เพื่อแสดงลีลาก็ตาม ห้าม
ทั้งนั้น ท่านสอนให้แข็งแขนไว้ ในเวลาเดิน. แต่อันที่จริง แขนนั้น
ย่อมเป็นกำลังเครื่องทานตัว เช่นเวลาไต่สะพาน กางแขนออก ย่อม
จะทานตัวได้ทรงอยู่ได้ ดีกว่าหุบแขน แต่เมื่อถึงคราวจะต้องใช้แขน
ในกิจเช่นนี้ ทำไม่มีโทษ.
คู่ที่ ๑๐ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวก
บ้าน. เราจักไม่โคลงศีรษะมั่งในละแวกบ้าน.
ข้อนี้สอนให้ตั้งศีรษะตรง อย่าให้เดินหรือนั่งคอพับดังคนไม่มี
กำลังจะทานศีรษะ. ท่านต้องการให้มีท่าทางองอาจเป็นสง่า.
คู่ที่ ๑๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำไปในละแวก
บ้าน เราจักไม่ทำความค้ำนั่งในละแวกบ้าน.
คำว่า ทำความค้ำนั้น หมายเอาเดินเอามือค้ำบั้นเอว นั่งเท้าแขน
ข้างเดียวก็ตาม ๒ ข้างก็ตาม.
คู่ที่ ๑๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่คลุม [ศีรษะ] ไปใน
ละแวกบ้าน เราจักไม่คลุม [ศีรษะ] นั่งในละแวกบ้าน.
กิริยาที่ปิดกายในที่ควรจะปิด เป็นธรรมเนียมที่ดี แต่ปิด หรือ
คลุมอวัยวะที่ควรเปิด เป็นกิริยาที่น่าติ จึงห้ามไว้ด้วยสิกขาบทคู่นี้.

คู่ที่ ๑๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วย
ทั้งความกระโหย่ง เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความรัด.
กิริยาที่เดินกระโหย่ง คือเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า ห้ามในข้อต้น
ท่านต้องการให้เดินเหยียบพื้นเต็มเท้า. กิริยาที่นั่งยอง เอามือกอกเข่า
ก็ดี เขาผ้ารัดรอบก็ดี ห้ามในข้อหลัง. นั่งกอดเข่านั้น ในประเทศนี้
ก็ใช้กันอยู่ ส่วนนั่งเอาผ้ารัดนั้นหาใช้กันไม่ ได้เห็นในรูปภาพโบราณ
คนอ้วนใช้กันมาก เป็นเครื่องช่วยกำลังทรงกาย.
ในเสขิยสิกขาบท ไม่ได้ปรับอาบัติไว้โดยตรง มีแต่เพียงว่า พึง
ทำศึกษา. ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำให้ผิด
ธรรมเนียมไป ต้องทุกกฏ. มีตั้งใจจะทำให้ถูกธรรมเนียม แต่ล่วงไป
ด้วยไม่แกล้ง ด้วยเผลอ ด้วยไม่รู้ตัว หรือไม่รู้จักจะทำให้ถูก และ
อาพาธ ไม่อาจจะรักษากิจวัตรให้เรียบร้อยได้ ท่านยกเว้นให้ ไม่ปรับ
อาบัติ. และภิกษุผู้เข้าพักอยู่ในบ้าน เป็นการแรมคืนหรือแรมวัน จะ
ละจากอาการนั้น ๆ อันจะทำเสมอไปไม่ได้ เช่นปกปิดกาย และทอด
จักษุเป็นต้นก็ได้ ไม่มีโทษ อาการเช่นใดทำในวัดได้ อาการเช่นนั้น
ทำในบ้านที่เข้าอยู่แรมได้ แต่พึงทำในห้องที่พักที่เขาจัดให้สำหรับตน
ออกพ้นจากสำนักตน เช่นไปสู่เรือนหรือห้องของผู้อื่น ควรประพฤติ
ตามธรรมเนียมเข้าบ้าน.
โภชนปฏิสังยุต หมวดที่ ๒
มี ๓๐ สิกขาบท แต่ไม่ได้จัดเป็นคู่อย่างสารูป.
ข้อ ๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.

ข้อนี้สอนให้แสดงความเอื้อเฟื้อในบุคคลผู้ให้ ไม่ดูหมิ่น และให้
แสดงความเอื้อเฟื้อในของที่เขาให้ ไม่ทำดังรับเอามาเล่น หรือเอามา
ทิ้งเสีย.
ข้อ ๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักจ้องในบาตรรับบิณฑบาต.
ข้อนี้ห้ามไม่ให้แลดูหน้าทายก หรือแลเหม่อไปทางอื่น.
ข้อ ๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
ศัพท์ว่า สูปะนี้ ในที่อื่นแปลว่าแกง แต่พระคันถรจนาจารย์จะ
เห็นว่าเป็นของเหลวรับมาไม่ได้กระมัง จึงแก้ไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า สูปะ
นั้น ทำด้วยถั่วเขียวบ้าง ด้วยถั่วขาวบ้าง จับได้ด้วยมือ ดูเป็นทีกบ
ข้าว แต่กับข้าวในที่อื่น เรียกว่าพยัญชนะ. เพราะท่านแกไว้อย่างนี้
ความถือของภิกษุทั้งหลาย จึงเป็นไปเฉพาะแกงที่เข้าถั่ว เป็นการที่
แคบเกินไป. ท่านแก้ไว้ดังนั้น ชะรอยจะเพ่งของที่ใช้กันอยู่ในครั้งนั้น.
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ธรรมเนียมบิณฑบาตในครั้งนั้น คงไม่เหมือนทุกวัน
นี้. ทายกคงไม่ได้คอยถวาย ภิกษุคงไปยืนตามบ้านตามร้าน เขาคง
เอาของที่มีอยู่โดยปกติ หรือที่สำหรับขายใส่บาตร จึงได้มีห้ามไม่ให้
เลือกรับสูปะมากเกินพอดี. ในบัดนี้ ของใส่บาตรเขาเตรียมไว้ต่างหาก
ภิกษุไม่อาจเลือกรับได้. แต่มีกิริยาที่ควรจะปฏิบัติอนุโลมข้อนี้ได้อยู่
คือรับไปตามลำดับที่ถึงเข้า อย่าผ่านทายผู้ใส่แต่ข้าวเปล่าเสีย เพื่อ
จะรีบไปรับแต่รายที่มีกับข้าวด้วย.
ข้อที่ ๔ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ.
ขอบนั้น หมายเอาขอบล่าง. ห้ามไม่ให้รับจนล้นขึ้นมา อันเป็น

กิริยาส่อความโลภ แต่ของห่อใบตองหรืออย่างอื่น ที่ปลายห่อพ้นจาก
ปากบาตรขึ้นมา ไม่นับว่ารับล้นบาตร กล่าวตามธรรมเนียมในบัดนี้
รับมากที่ส่อความโลภ ใช้ไม่ได้ รับมากที่ส่อความเมตตา ไม่เป็นการ
เสีย เช่นภิกษุบวชใหม่ เข้าไปรับบาตรในสกุล รับแต่เพียงบาตรเดียว
คนใส่ได้ไม่ทั่วกัน เขารับเอาบาตรไปถ่ายเสีย เธอรับต่อไปกว่าจะทั่ว
ดังนี้ไม่เสียกิริยา ไม่มีใครติเตียนว่าโลภ.
ข้อ ๕ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
แม้บิณฑบาตนั้นเป็นของเลว ก็ไม่แสดงอาการวิการ ฉันโดย
ปกติ อย่างพระศาสดาทรงรับแป้งจี่ของนางปุณณทาสีของเขาอื่นแล้ว
เสวยโดยมิได้ทรงรังเกียจ เช่นนี้จัดว่าฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ. อนึ่ง
เมื่อฉันตั้งหน้าฉัน ไม่ฉันพลาง ทำอื่นพลาง แม้อย่างนี้ ก็จัดว่า ฉัน
บิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
ข้อ ๖ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต.
ข้อนี้ห้ามการแลดูอื่นพลางฉันพลาง แลดูเกี่ยวด้วยการฉัน เช่น
แลดูด้วยคิดว่าสิ่งใดยังไม่พอ จะได้ให้แก่ภิกษุผู้นั่งฉันอยู่ใกล้ ไม่ห้าม.
ข้อ ๗ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง.
ข้อนี้ห้ามไม่ให้หยิบในที่เดียว จนข้าวแหว่งลงไป แนะให้กวาด
ตะล่อมข้าวเป็นคำ.
ข้อ ๘ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
คำว่า เสมอกันนั้น พระอรรถกถาจารย์แก้ว่าพอดี หมายเอา
สูปะเท่า ๑ เสี้ยวที่ ๔ แห่งข้าวสุก ข้อนี้ห้ามการฉันตะกลามอย่างเด็ก

แม้ฉันแกงกับมากกว่า ๑ เสี้ยวที่ ๔ แต่ไม่เกินข้าวสุก ก็ใช้ได้ ไม่ผิด
บาลี ไม่เป็นตะกลาม แต่ความเข้าใจว่า ห้ามเฉพาะแกงถั่วเท่านั้น
แคบเกินไป. เขาเลี้ยงแต่ของอื่น ไม่มีข้าวสุก ฉันก็ได้.
ข้อ ๙ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต.
เป็นธรรมเนียมของภิกษุ เมื่อฉันเกลี่ยข้าวสุกในบาตรให้หน้า
เสมอกันก่อน. ส่วนกับข้าวหือขนมที่เขาจัดบนจานเรียงเป็นลำดับ
ขึ้นไป ทำอย่างนั้นใช้ไม่ได้ พึงหยิบลงมาแต่ยอดได้.
ข้อ ๑๐ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี
ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก.
ข้อนี้หมายความเอาการฉันในกิจนิมนต์ ที่ทายกองคาส คอยเติม
ของที่ฉันได้ถวาย.
ข้อ ๑๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี
ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน.
คำว่า ขอในที่นี้ หมายเอาขอต่อคฤหัสถ์ผู้มิใช่ญาติ มิใช่คน
ปวารณา. อาพาธ ขาดอาหารอันถูกปาก ไม่ผาสุก ขอได้. ไม่อาพาธ
ขอเพื่อภิกษุอาพาธ ได้อยู่.
ข้อ ๑๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่เพ่งโพนทนาและดูบาตร
ของผู้อื่น.
แลดูด้วยตั้งใจจะข้อนขอดว่าฉันมูมมาม ห้ามในข้อนี้ และดูด้วย
คิดจะให้ของฉันอันยังไม่มี ไม่ห้าม.
ข้อ ๑๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.


คำข้าวที่คับปาก นำเข้าไปไม่ได้หมด จัดว่าใหญ่นัก ควรทำแต่
เพียงเข้าปากได้พอดี. ของอื่นท่านไม่ห้าม แต่ถ้าเสียกิริยา เห็นใช้
ไม่ได้เหมือนกัน.
ข้อ ๑๔ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
ในข้อนี้ควรเข้าใจว่า ในครั้งรจนาเสขิยวัตร เขาใช้กินข้าวชนิด
ไรกัน. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ [ปาน] เทียบที่สมเด็จพระพุฒาจารย์
ผู้ครองวัดพระเชตุพน ได้เคยพูดปรารภถึงเรื่องนี้แก่ข้าพเจ้า ท่านเห็น
สมด้วยข้าวเหนียว. ข้าพเจ้าก็พลอยอนุโมทนา แม้ไม่ใช่ข้าวเหนียว ก็
คงเป็นธัญญชาติที่มีคติเดียวกัน หรือข้าวจ้าวแต่หุงเปียก จึงปั้นทำเป็น
คำกลมได้ ซ้ำในคัมภีร์วิภังค์ห้ามไม่ให้ทำคำข้าวยาวไว้ด้วย แปลว่า
เป็นของปั้นได้. กิริยาบริโภคที่จัดว่าเรียบร้อย ก็คงปั้นเป็นคำกลม ๆ
จึงได้สอนไว้ในข้อนี้. เข้าใจข้าวที่กินแล้ว อาจเข้าใจข้อต่อไปง่าย.
ข้อ ๑๕ ว่า พึงทำศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจก
ไม่อ้าช่องปาก.
ข้อนี้บ่งให้รู้ธรรมเนียมฉันอาหารว่า หุบปากเคี้ยว อ้าปากเฉพาะ
เวลานำคำข้าวเข้าไป.
ข้อ ๑๖ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้า
ในปาก.
คำว่า มือนั้น ในฎีกาแก้ว่า นิ้วมือ ชอบอยู่. ข้อนี้ห้ามสกปรก
ปล่อยให้นิ้วเข้าในปาก แม้ไม่ทั้งหมด ก็ไม่ดี.
ข้อ ๑๗ ว่า พึงทำศึกษาว่า ปากยังมีคำข้าว เราจักไม่พูด.

ข้าวที่มีอยู่ในปาก พูดเสียงยังไม่เป็นปรกติเพียงใด อย่าเพิ่งพูด
เพียงนั้น กว่าจะได้กลืนแล้ว หรือคายแล้ว จึงพูด.
ข้อ ๑๘ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเดาะคำข้าว.
ข้อนี้ห้ามการเดาะคำข้าวขึ้นจากมือ อ้าปากงับ อันเป็นกิริยาซน.
ข้อ ๑๙ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
กัดของอื่น เช่นขนมแข็งหรือผลไม้ ท่านอนุญาต, แต่ข้อนี้
ห้ามการมูมมาม กัดของอื่นก็น่าเกลียดเหมือนกัน ควรเว้น ยกไว้
แต่ในประเทศที่เขาไม่เห็นเป็นเสียกิริยาก็ตามที. บางทีในครั้งรจนา
คัมภีร์วิภังค์ในประเทศนั้น เขาไม่ถือว่าเสียกิริยากระมัง ท่านจึงอนุญาต.
ข้อ ๒๐ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.
ข้อนี้ห้ามการฉันทีละมาก ๆ คนตุ่ยแก้ม เหมือนคนเป่าขลุ่ย ของ
อื่นท่านอนุญาต แต่ต้องรู้จักผ่อน ควรปล่อยแต่ที่จำเป็น.
ข้อ ๒๑ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ.
ถ้าข้าวสุกติดกรังมือ ให้ล้างด้วยน้ำ.
ข้อ ๒๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก.
ข้อนี้ห้ามไม่ให้ปล่อยเมล็ดข้าวอันเหลือจากที่เข้าปาก ตกร่วงลง
มาในบาตรก็ดี ที่พื้นก็ดี.
ข้อ ๒๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลลิ้น.
ข้อ ๒๔ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดับจับ ๆ.
ข้อ ๒๕ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซูด ๆ.
เสียงดังจับ ๆ นั้น เกิดในขณะเคี้ยวของแข้น เสียงดังซูด ๆ นั้น

เกิดในขณะซดของเหลว พึงระวัง.
ข้อ ๒๖ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
คำว่าเลียมือในที่นี้ ไม่หมายเอาเพียงแลบลิ้นเสียอามิสอันติดมือ
แม้เอานิ้วเล็มอามิสอันติดมือนั้นเข้าปาก ก็จัดว่าเลียมือเหมือนกัน.
ข้อ ๒๗ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันของบาตร.
ข้าวสุกเหลือน้อยไม่พอเป็นคำ ห้ามไม่ให้กวาดตะล่อมรวมเป็น
คำฉัน ทำเช่นนั้นเรียกว่าฉันขอดบาตร.
ข้อ ๒๘ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
ข้อ ๒๙ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อน
อามิส.
ธรรมเนียมพระฉันในครั้งก่อน ฉันอิ่มแล้วจึงรับน้ำ ห้ามไม่ให้
รับด้วยมือข้างที่เปื้อน. ในบัดนี้ รับน้ำพร้อมกับอาหาร พึงเข้าใจว่า
ห้ามไม่ให้เอามือเปื้อนจับโอน้ำนั้น ถ้ามือเปื้อนทั้ง ๒ ข้าง จะต้อง
ล้างเสียก่อนแท้.
ข้อครบ ๓๐ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ด
ข้าวในละแวดบ้าน.
ข้อนี้ หมายเอาการฉันในบ้านเสร็จแล้ว ล้างบาตรเทที่นั่น. ใน
ครั้งนั้นน้ำไม่มีกากข้าว ท่านคงเห็นไม่เป็นอะไร จึงห้ามแต่ที่มีเมล็ดข้าว
ในบัดนี้ แม้น้ำไม่มีกากข้าว ก็หาควรเทไม่. เทในกระโถนที่เขาจัดไว้
ได้อยู่ เขาคงเอาไปเทอีกต่อหนึ่ง ถ้าเทเองในที่ไม่ใช่สำหรับเทของ
ก็ไม่ควรเหมือนกัน.

ธรรมเนียมฉันอาหารนี้ ควรถือเป็นหลักได้แต่ใจความ คือต้อง
การความเรียบร้อย อย่ามัวหลงในพลความ คืออาการที่กล่าวไว้ เพราะ
อาการที่กล่าวไว้นั้น กล่าวตามนิยมในครั้งนั้น ครั้นธรรมเนียมเปลี่ยน
แปลงมา ขืนทำไปตามนั้น กลายเป็นสกปรกหรือมูมมามไปก็มี ชี้
ตัวอย่างให้เห็นได้ ในชั้นผู้ดี เขาใช้บริโภคอาหารด้วยช้อนกับซ่อม
หรือด้วยช้อนกับตะเกียบ ฝ่ายพระมัวหลงไปตามอาการที่กล่าวในเสขิยะ
ยังใช้เปิบด้วยมือ ดูเป็นเปรอะเปื้อนสกปรก เป็นที่รังเกียจของผู้อังคาส
อันเป็นชั้นผู้ดี ควรสำเหนียกวิธีฉันให้ถูกตามนิยมในสมัย.
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อในธรรมเนียมฉัน ฉันมูมมามสกปรก น่าชัง
ถูกปรับอาบัติทุกกฏ. ภิกษุผู้ตั้งใจจะรักษาธรรมเนียม แต่ทำพลาด
ด้วยไม่แกล้ง ด้วยเผลอ ด้วยไม่รู้ และภิกษุผู้อาพาธ ได้รับยกเว้น
ตามเคย.
ธัมมเทสนาปฏิสังยุต หมวดที่ ๓
มี ๑๖ สิกขาบท ๑๑ ข้างต้น ว่าด้วยอาการของบุคคลดังนี้ :-
พึงทำศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้
๑. มีร่มในมือ ๒. มีไม้พลองในมือ ๓. มีศัสตราในมือ ๔. มีอาวุธ
ในมือ ๕. สวมเขียงเท้า ๖. สวมรองเท้า ๗. ไปในยาน ๘. อยู่บน
ที่นอน ๙. นั่งรัดเข่า ๑๐. พันศีรษะ. ๑๑. คลุมศีรษะ.
ไม่พลองนั้น ยาวขนาด ๕ ศอก สำหรับใช้ตี เป็นคู่กับไม้
ตะบองหรือไม้สั้น ขนาด ๑ ศอก อันสำหรับใช้ตีเหมือนกัน แต่
หาได้กล่าวไว้ในที่นี้ไม่. ศัสตรากับอาวุธเป็นคู่กัน ต่างกันอย่างนี้

ศัสตรานั้น ได้แก่เครื่องประหารมีคม เช่นดาบและหอก. อาวุธนั้น
ได้แก่เครื่องยิง เช่นศรและปืน. คำว่ามีของเหล่านี้ในมือนั้น หมาย
อาตลอดถึงผูกสอดของเหล่านี้อยู่ในตัว. แต่ในอรรถกถา ท่านอนุญาต
ศัสตราวุธที่สวมอยู่ในตัว แต่ไม่ได้กุม. ข้อนี้น่าจะหมายเอาพวกทหาร
ผู้ผูกสอดศัสตราวุธ และพวกพลเมืองผู้พกศัสตราอยู่กับตัว เช่นพวก
มลายูและพวกชวาพกกฤชฉะนั้น. การผูกสอดและพกศัสตราวุธเช่นนี้
เป็นตามธรรมเนียมของพวกชอบรบชอบสู้ ไม่ใช่แสดงความดุร้าย
ท่านผ่อนให้ก็ชอบอยู่. เขียงเท้ากับรองเท้าต่างกันอย่างนี้ : เขียงเท้า
มีส้น, รองเท้าไม่มีส้น. แต่บางทีรองเท้าชนิดที่ห้ามไม่ให้ภิกษุใช้
ก็พลอยถูกเรียกว่าเขียงเท้าด้วย. ร่มและเขียงเท้ารองเท้านี้ ครั้งโบราณ
ถือว่าเป็นเครื่องไม่เคารพ จึงห้ามไม่ให้กั้นร่มและสวมรองเท้าผ่านลาน
พระเจดีย์ แต่ธรรมเนียมนี้ ย่อมเปลี่ยนแปลงมา ชั้นคนสุภาพใช้สวม
เขียงเท้าเข้าสมาคมนั้น ๆ ตลอดถึงราชสมาคม กิริยาที่ไม่สวมเสียอีก
กลับเป็นหมิ่นหรือเลว. เพ่งความนี้แล้วควรอนุญาตเขียงเท้าที่สวมแล้ว
เป็นแสดงความสุภาพหรือความเคารพ เว้นไว้แต่เขียงเท้ารองเท้าที่
สำหรับสวมอยู่ที่บ้านที่เรือน สวมเข้าสมาคมเป็นดูหมิ่น. ยานนั้น คง
หมายเอาชนิดที่ใช้หามหรือใช้ลาก อย่างไปคนเดียว ถ้าเป็นชนิดใหญ่
นั่งไปด้วยกัน แสดงได้อยู่. ผ้าโพกนั้น ในบางประเทศ เขาใช้กัน
เป็นพื้นเมือง เช่นแขกบางพวก และพวกพม่าเป็นต้น เพ่งธรรมเนียม
นี้กระมัง พระอรรถกถาจารย์จึงจำกัดห้ามเฉพาะผู้โพกศีรษะมิด ไม่
เห็นปลายผมจุก แปลว่า ถ้าไม่พันจนมิดปลายผมจุก ใช้ได้. ในบัดนี้

คนทั้งหลายใช้หมวกกันเป็นพื้น ควรจะเทียบด้วยผ้าโพก เขาสวมหมวด
แสดงความไม่เคารพ ใช้ไม่ได้. ถ้าสวมตามธรรมเนียมของเขา เช่น
พวกทหารในสนาม เห็นว่าใช้ได้.
ข้อ ๑๒ ว่า พึงทำศึกษาว่า เรานั่งอยู่ที่แผ่นดิน จักไม่แสดง
ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ.
ข้อ ๑๓ ว่า พึงทำศึกษาว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดง
ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง
ข้อ ๑๔ ว่า พึงทำศึกษาว่า เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่
คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งอยู่.
ข้อ ๑๕ ว่า พึงทำศึกษา เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดง
ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า.
ข้อ ๑๖ ว่า พึงทำศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดง
ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไปอยู่ในทาง.
ธรรมเนียมภิกษุ ถืออิริยาบถยืนเป็นเคารพ จึงห้ามไม่ให้ยืน
แสดงธรรมแก่ผู้นั่ง ยืนทั้งผู้แสดงทั้งผู้ฟัง ได้อยู่. แม้ในอิริยาบถเสมอ
กัน ยังถือสูงถือต่ำ ถือหน้าถือหลัง, นั่งต่ำ แสดงธรรมแก่คนนั่ง
สูงกว่า ห้าม, ยอมแต่นั่งเสมอกัน. เดินหน้าเดินหลัง เดินในทาง
นอกทาง ก็เหมือนกัน.
ในบาลีกล่าวถึงคนไม่เจ็บไข้ไว้ทุกแห่ง แปลว่า ยกเว้นให้ใน
เมื่อเขาเจ็บไข้ เช่น นั่งแสดงธรรมแก่คนเจ็บผู้นอนอยู่บนที่นอนก็ได้
แต่บางอย่างหรือโดยมาก ไม่เกี่ยวกับคนเจ็บเลย เช่น มีพลอง หรือ

ศัสตราวุธในมือ. น่าจะเห็นว่า บทว่าไม่เจ็บไข้ เติมขึ้นทีหลัง ใน
เมื่อปรารภถึงประโยชน์พิเศษอันจะพึงให้แก่คนไข้ เมื่อเติมเข้า ไม่เติม
ทั้งหมด ก็ลักลั่น ครั้นเติมเข้าทั้งหมด ก็เป็นอย่างนี้. ตามความ
พอใจของข้าพเจ้า ไม่เติมเสียเลยดีกว่า ในสิกขาบทใด คนไข้ควร
ได้รับประโยชน์พิเศษ ก็แก้ไว้ในอนาบัติวาร. เมื่อไม่แก้ตามนี้ จึงไม่มี
อะไรจะแก้ เก็บเอาข้อยกเว้นตามเคยมาแก้ ดูเขวไป. อนึ่ง การ
ห้ามแสดงธรรมแก่คนมีอาการไม่เคารพนั้น ก็ด้วยความนับถือเชิดชู
ธรรม น่าจะเห็นว่า เป็นข้อที่พระสาวกตั้งมากกว่าพระศาสดาทรงเอง.
นี้เป็นข้ออันหนึ่ง ซึ่งนักวินัยควรดำริ. ในหมวดนี้ มีปรับอาบัติ
ทุกกฏแก่ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ขืนล่วงตามเคย.

ปกิณณกะ หมวดที่ ๔
มี ๓ สิกขาบท แสดงโดยสังเขปดังนี้ :-
พึงทำศึกษาว่า เราไม่อาพาธ ๑. จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ หรือ
ปัสสาวะ ๒. จักไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะบนของสด
เขียว ๓. จักไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะในน้ำ.
เป็นธรรมเนียมของภิกษุ นั่งถ่ายปัสสาวะ และทิ้งสิ่งโสโครก
ในนาในไร่ที่เขาปลูกพืช และในน้ำที่บริโภคใช้สอยไม่ได้. ลานหญ้าที่
เขารักษาในบัดนี้ สงเคราะห์เข้าในของเขียวสด ภูตคามที่เขาไม่ได้รักษา
เป็นแต่ขึ้นรก หาได้จัดเข้าในที่นี้ไม่. น้ำนั้น ไม่บ่อในสระที่คนขุด
ไว้ใช้ก็ตาม ในที่ขังอยู่เอง เช่นในหนองในบึงก็ตาม ในที่น้ำไหล
เช่นในคลองในแม่น้ำก็ตาม ห้ามทั้งนั้น เว้นไว้แต่น้ำที่ไม่ใช้บริโภค

เช่นน้ำเน่า น้ำทะเล. ในคราวที่มีน้ำท่วม ไม่มีที่บกจะถ่าย ห่าน
อนุญาต. คนสามัญ มักเห็นการถ่ายของโสโครกลงในน้ำไหลไม่เป็นไร
แต่พวกภิกษุเข้าใจมาก่อนแล้วว่า ทำน้ำให้เสีย จึงมีธรรมเนียมห้าม
ตลอดถึงน้ำไหล แต่ธรรมเนียมนี้ ละเอียดเกินไปสำหรับคนพื้นเมือง
จึงไม่มีใครรู้ถึง. ในหมวดนี้ มีปรับอาบัติทุกกฏ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
และมีข้อยกเว้นตามเคย.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น