กัณฑ์ที่ ๒
พระวินัย
ในตอนแรกที่ยังมีภิกษุน้อยอยู่ การปกครองก็ไม่สู้ต้องการเท่าไรนัก สาวกทั้งปวงได้ประพฤติตามปฏิปทาของพระศาสดา และทราบพระศาสนาทั่วถึง ครั้นภิกษุมีมากขึ้นโดยลำดับกาล และกระจายกันอยู่ ไม่ได้รวมเป็นหมู่เดียวกัน การปกครองก็ต้องการมากขึ้นตามกัน. คนเราที่อยู่เป็นหมวดหมู่จะอยู่ตามลำพังไม่ไดเพราะมีอัธยาศัยต่างกัน มีกำลังไม่เท่ากัน ผู้มีอัธยาศัยหยาบและมีกำลังมาก ก็จะข่มเหงคนอื่น คนสุภาพและคนมีกำลังน้อย ก็จะอยู่ไม่เป็นสุข.
เหตุนั้น พระเจ้าแผ่นดินจึงทรงตั้งกฎหมายขึ้น ห้ามปรามไม่ให้คนประพฤติในทางผิด และวางโทษแก่ผู้ล่วงละเมิดไว้ด้วย.
นอกจากนี้ ในหมู่หนึ่ง ๆ เขาก็ยังมีธรรมเนียมสำหรับประพฤติอีก เช่นในสกุลผู้ดี เขาก็มีธรรมเนียมสำหรับคนในสกุลนั้น.
ในหมู่ภิกษุก็จำต้องมีกฎหมายและขนบธรรมเนียม สำหรับป้องกันความเสียหายและชักจูงให้ประพฤติงามเหมือนกัน. พระศาสดาทรงตั้งอยู่ในที่เป็นพระธรรมราชผู้ปกครอง และทรงตั้งอยู่ในที่เป็นพระสังฆบิดรผู้ดูแลภิกษุสงฆ์ พระองค์จึงได้ทรงทำหน้าที่ทั้ง ๒ ประการนั้น คือทรงตั้งพระพุทธบัญญัติเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด ด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง อย่างเดียว
เหตุนั้น พระเจ้าแผ่นดินจึงทรงตั้งกฎหมายขึ้น ห้ามปรามไม่ให้คนประพฤติในทางผิด และวางโทษแก่ผู้ล่วงละเมิดไว้ด้วย.
นอกจากนี้ ในหมู่หนึ่ง ๆ เขาก็ยังมีธรรมเนียมสำหรับประพฤติอีก เช่นในสกุลผู้ดี เขาก็มีธรรมเนียมสำหรับคนในสกุลนั้น.
ในหมู่ภิกษุก็จำต้องมีกฎหมายและขนบธรรมเนียม สำหรับป้องกันความเสียหายและชักจูงให้ประพฤติงามเหมือนกัน. พระศาสดาทรงตั้งอยู่ในที่เป็นพระธรรมราชผู้ปกครอง และทรงตั้งอยู่ในที่เป็นพระสังฆบิดรผู้ดูแลภิกษุสงฆ์ พระองค์จึงได้ทรงทำหน้าที่ทั้ง ๒ ประการนั้น คือทรงตั้งพระพุทธบัญญัติเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด ด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง อย่างเดียว
กับพระเจ้าแผ่นดินตั้งพระราชบัญญัติ อีกฝ่ายหนึ่งทรงแต่งตั้งขนบธรรมเนียมซึ่งเรียกว่าอภิสมาจาร เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ดุจบิดาผู้เป็นใหญ่ในสกุล ฝึกปรือบุตรของตนในขนบ
ธรรมเนียมของสกุลฉะนั้น.
พระพุทธบัญญัติและอภิสมาจารทั้ง ๒ นี้ รวมเรียกว่าพระวินัยพระวินัยนี้ ท่านเปรียบเหมือนด้ายร้อยดอกไม้ อันควบคุมดอกไม้ไว้ไม่ให้กระจัดกระจาย เพราะเหตุรักษาสงฆ์ให้ตั้งอยู่เป็นอันดี. อีก
อย่างหนึ่ง คนที่มาบวชเป็นภิกษุจากสกุลต่าง ๆ สงบ้าง กลางบ้างต่ำบ้าง มีพ้นเพต่างกันมาแต่เดิม มีน้ำใจต่างกัน หากจะไม่มีพระวินัยปกครอง หรือไม่ประพฤติตามพระวินัย จะเป็นหมู่ภิกษุที่เลวทราม
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาและเลื่อมใส ถ้าต่างรูปประพฤติตามพระวินัยอยู่แล้ว จะเป็นหมู่ภิกษุที่ดี นำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใส เหมือนดอกไม้ต่างพรรณ เก็บคละกันมาในภาชนะ แม้บางดอกจะมีสีสัณฐานอัน
งามมีกลิ่นหอม เพราะโทษที่คละกัน ย่อมเป็นของไม่น่าดูไม่น่าชมเลย ดอกไม้เหล่านั้น อันช่างผู้ฉลาด จัดให้เข้าระเบียบวางไว้ในพานย่อมเป็นของน่าดูน่าชม อย่าว่าแต่ดอกไม้ที่งามเลย แม้แต่ดอกไม้
ที่ไม่งาม ก็ยังพลอยเป็นของได้ ระเบียบนั่นเองทำให้เป็นของงาม.
มูลแห่งพระบัญญัติ
พระวินัยนั้น ไม่ได้ทรงวางไว้ล่วงหน้า ค่อยมีมาโดยลำดับตามเหตุอันเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่านิทานบ้าง ปกรณ์บ้าง.
เมื่อใดความเสียหายเกิดขึ้น เพราะภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ทำอย่างใดอย่างหนึ่งลงเมื่อนั้น พระองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามความประพฤติเช่นนั้นเป็นอย่าง ๆ ไป เช่นพระธนียะถือเอาพระวาจาของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเปล่งตามพระราชประเพณี เมื่อครั้งราชาภิเษกว่า "หญ้าไม้และน้ำเราให้แก่พวกสมณพราหมณ์ละ" ดังนี้ เป็นเลศ ถือเอาไม้หลวงไปทำกุฎี ด้วยอ้างว่าได้รับพระราชทาน เมื่อเกิดเหตุนี้ขึ้น จึงทรงตั้งพระบัญญัติห้ามอทินนาทาน.
แม้อภิสมาจารก็ทรงวางไว้โดยนัยนั้นครั้นตั้งพระบัญญัติขึ้นแล้ว แต่ยังไม่เหมาะด้วยประการใดประการหนึ่งคือยังหลวมอยู่ ไม่พอจะห้ามความเสียหายนั้นได้ขาด เช่นนี้ทรงบัญญัติซ้ำรัดเข้าอีก เช่นทรงตั้งพระบัญญัติห้ามไม่ให้ล้างผลาญชีวิตมนุษย์ยังไม่พอจะให้เข้าใจว่า ทรงห้ามตลอดถึงพรรณนาคุณแห่งความตายหรือยังให้เขาฆ่าตัวเสียเอง จึงทรงบัญญัติซ้ำเติมความข้อนั้นเข้าด้วยหรือตึงเกินไป เช่นนี้ทรงบัญญัติซ้ำผ่อนให้เบาลง เช่นทรงตั้งพระบัญญัติห้ามไม่ให้อวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มีจริง ข้อนี้กินความกว้างไปถึงการอวดด้วยสำคัญว่าได้บรรลุ แต่เป็นคุณที่ไม่มีจริง จึงทรงบัญญัติซ้ำยกผู้พูดด้วยสำคัญผิดดังนั้นเสีย ไม่ให้ต้องอาบัติ.
พระบัญญัติที่ทรงตั้งไว้แล้ว แม้ไม่เป็นไปสะดวก ก็ไม่ทรงถอนเสียทีเดียว คงเพิ่ม
เมื่อใดความเสียหายเกิดขึ้น เพราะภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ทำอย่างใดอย่างหนึ่งลงเมื่อนั้น พระองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามความประพฤติเช่นนั้นเป็นอย่าง ๆ ไป เช่นพระธนียะถือเอาพระวาจาของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเปล่งตามพระราชประเพณี เมื่อครั้งราชาภิเษกว่า "หญ้าไม้และน้ำเราให้แก่พวกสมณพราหมณ์ละ" ดังนี้ เป็นเลศ ถือเอาไม้หลวงไปทำกุฎี ด้วยอ้างว่าได้รับพระราชทาน เมื่อเกิดเหตุนี้ขึ้น จึงทรงตั้งพระบัญญัติห้ามอทินนาทาน.
แม้อภิสมาจารก็ทรงวางไว้โดยนัยนั้นครั้นตั้งพระบัญญัติขึ้นแล้ว แต่ยังไม่เหมาะด้วยประการใดประการหนึ่งคือยังหลวมอยู่ ไม่พอจะห้ามความเสียหายนั้นได้ขาด เช่นนี้ทรงบัญญัติซ้ำรัดเข้าอีก เช่นทรงตั้งพระบัญญัติห้ามไม่ให้ล้างผลาญชีวิตมนุษย์ยังไม่พอจะให้เข้าใจว่า ทรงห้ามตลอดถึงพรรณนาคุณแห่งความตายหรือยังให้เขาฆ่าตัวเสียเอง จึงทรงบัญญัติซ้ำเติมความข้อนั้นเข้าด้วยหรือตึงเกินไป เช่นนี้ทรงบัญญัติซ้ำผ่อนให้เบาลง เช่นทรงตั้งพระบัญญัติห้ามไม่ให้อวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มีจริง ข้อนี้กินความกว้างไปถึงการอวดด้วยสำคัญว่าได้บรรลุ แต่เป็นคุณที่ไม่มีจริง จึงทรงบัญญัติซ้ำยกผู้พูดด้วยสำคัญผิดดังนั้นเสีย ไม่ให้ต้องอาบัติ.
พระบัญญัติที่ทรงตั้งไว้แล้ว แม้ไม่เป็นไปสะดวก ก็ไม่ทรงถอนเสียทีเดียว คงเพิ่ม
อนุบัญญัติ ดัดแปลงไปเช่นนี้ บางทีจนเสียความมุ่งหมายเดิมก็มีเช่น ทรงตั้งพระบัญญัติห้ามไม่ให้นอนด้วยอนุปสัมบัน เพื่อจะกันชาวบ้านไม่ให้เห็นอาการวิปลาสของภิกษุในเวลานอนหลับ เมื่อมี
สามเณรขึ้น สามเณรก็จัดว่า เป็นอนุปสัมบัน ไม่มีที่อยู่ จึงทรงผ่อนให้นอนด้วยกันได้ไม่เกิน ๓ คืน คราวนี้ก็นอนกับชาวบ้านได้เหมือนกัน.
ข้อที่ทรงตั้งไว้เดิม เรียกว่ามูลบัญญัติ ข้อที่ทรงตั้งเพิ่มเติมที่หลัง เรียกอนุบัญญัติ.
รวมมูลบัญญัติและอนุบัญญัติเข้าด้วยกัน เรียกว่าสิกขาบท สิกขาบทอันหนึ่ง มีหลายอนุบัญญัติก็มีเช่นสิกขาบทปรารภคณโภชนะ คือ รับนิมนต์ออกชื่อของกินแล้วรวมกันฉันเป็นหมู่ ทรงผ่อนให้ตามคราว ในเวลาเจ็บ ในฤดูจีวร
ข้อที่ทรงตั้งไว้เดิม เรียกว่ามูลบัญญัติ ข้อที่ทรงตั้งเพิ่มเติมที่หลัง เรียกอนุบัญญัติ.
รวมมูลบัญญัติและอนุบัญญัติเข้าด้วยกัน เรียกว่าสิกขาบท สิกขาบทอันหนึ่ง มีหลายอนุบัญญัติก็มีเช่นสิกขาบทปรารภคณโภชนะ คือ รับนิมนต์ออกชื่อของกินแล้วรวมกันฉันเป็นหมู่ ทรงผ่อนให้ตามคราว ในเวลาเจ็บ ในฤดูจีวร
ในเวลาทำจีวร ในเวลาเดินทางบกทางเรือ ในคราวอัตคัด ในคราวนิมนต์ของพวกสมณะด้วยกัน. เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว จะทรงตั้งพระบัญญัตินั้น ตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามภิกษุผู้ก่อเหตุให้ทูลรับแล้ว
ทรงชี้โทษแห่งการประพฤติเช่นนั้น และอานิสงส์แห่งความสำรวมแล้วจึงทรงตั้งพระบัญญัติห้ามไม่ให้ภิกษุทำอย่างนั้นอีกต่อไป วางโทษคือ ปรับอาบัติไว้หนักบ้าง เบาบ้าง.
อาบัติ
กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัตินั้น และมีโทษเหนือตนอยู่ ชื่อว่าอาบัติ แปลว่า ความต้อง. อาบัตินั้น กล่าวโดยโทษมี ๓ สถานคือ อย่างหนัก ยังผู้ต้องให้ขาดจากความเป็นภิกษุ ๑ อย่างกลางยังผู้ต้องให้อยู่กรรม คือ ประพฤติวัตรอย่างหนึ่ง เพื่อทรมานตน ๑ อย่างเบา ยังผู้ต้องให้ประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน ๑ เมื่อได้ทำดังนี้จึงจะพ้นโทษนั้น.
กล่าวอีกอย่างหนึ่งมี ๒ สถาน อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ เรียกอเตกิจฉา ๑ ซึ่งได้แก่อาบัติมีโทษอย่างหนัก, อาบัติที่ยังแก้ไขได้ เรียกว่าสเตกิจฉา ๑ ซึ่งได้แก่อาบัติอย่างกลางและอย่างเบา,อนึ่ง อาบัตินั้นว่าโดยชื่อมี ๗ อย่าง ปาราชิก ๑ มีโทษอย่างหนัก.
กล่าวอีกอย่างหนึ่งมี ๒ สถาน อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ เรียกอเตกิจฉา ๑ ซึ่งได้แก่อาบัติมีโทษอย่างหนัก, อาบัติที่ยังแก้ไขได้ เรียกว่าสเตกิจฉา ๑ ซึ่งได้แก่อาบัติอย่างกลางและอย่างเบา,อนึ่ง อาบัตินั้นว่าโดยชื่อมี ๗ อย่าง ปาราชิก ๑ มีโทษอย่างหนัก.
สังฆาทิเสส ๑ มีโทษอย่างกลาง, ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตติยะ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑ ทุพภาษิต ๑ ทั้ง ๕ นี้มีโทษอย่างเบา.
อาบัตินี้ไม่เกิดทางใจอย่างเดียว คือเป็นแต่เพียงนึกว่า จะทำเท่านั้น ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันล่วงสิกขาบท และชื่อว่ายังไม่เป็นอันพยายามเพื่อจะล่วงสิกขาบท.
อาบัตินั้นย่อมเกิดทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง มีใจเข้าประกอบบ้าง ได้แก่ทำหรือพูดด้วยมีเจตนา หา
อาบัตินั้นย่อมเกิดทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง มีใจเข้าประกอบบ้าง ได้แก่ทำหรือพูดด้วยมีเจตนา หา
มีใจเข้าประกอบด้วยไม่บ้าง ได้แก่ทำหรือพูดด้วยไม่ได้ตั้งใจ อาบัติที่เกิดตามลำพังกายนั้น เช่น อาบัติปาจิตติยะ เพราะดื่มน้ำเมา แม้ไม่มีความตั้งใจ เพราะไม่รู้ว่าเป็นน้ำเมา ดื่มเข้าไปก็ต้องอาบัติ.
อาบัติเกิดโดยลำพังวาจานั้น เช่น อาบัติปาจิตติยะ เพราะสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน ให้ว่าพร้อมกัน แม้จะระวังอยู่ แต่พลาดพลั้งว่าพร้อมกันเข้า ก็เป็นอันต้องอาบัติ.
อาบัติเกิดโดยทางกายกับจิตนั้น เช่นอาบัติปาราชิก เพราะทำโจรกรรมด้วยตนเอง. อาบัติเกิดทางวาจา
อาบัติเกิดโดยทางกายกับจิตนั้น เช่นอาบัติปาราชิก เพราะทำโจรกรรมด้วยตนเอง. อาบัติเกิดทางวาจา
กับจิตนั้น เช่นอาบัติปาราชิก เพราะสั่งให้เขาทำโจรกรรมด้วยวาจา. โดยนัยนี้ ได้สมุฏฐานคือทางที่เกิดอาบัติโดยตรงเป็น ๔ คือลำพังกาย ๑ ลำพังวาจา ๑ กายกับจิต ๑ วาจากับจิต ๑. แต่ในบาลีท่านถือเอาอีก ๒ คือกายกับวาจาควบกันเข้าเป็น ๑ กายกับวาจานั้นเติมจิตเข้าด้วยเป็น ๑ จึงรวมเป็นสมุฏฐาน ๖. อธิบาย
ความตามบาลีนั้น กายกับวาจานั้น เป็นสมุฏฐานของอาบัติอันเกิดทางกายก็ได้ ทางวาจาก็ได้ ซึ่งยังหาอุทาหรณ์ได้ไม่เหมาะ จึงไม่ปรารถนาจะแสดงไว้ในที่นี้ กายกับวาจาเติมจิตนั้น เป็นสมุฏฐานแห่งอาบัติอันเกิดทางกายกับจิตก็ได้ ทางวาจากับจิตก็ได้ เช่นอาบัติตัวอย่างแห่งอาบัติเกิดทางกายกับจิต พึงเห็นอาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุน.
ตัวอย่างแห่งอาบัติเกิดทางวาจากับจิตพึงเห็นในอาบัติทุกกฏเพราะแสดงธรรมแก่คนมีอาการไม่เคารพ แต่ไม่ใช่คนเจ็บไข้ที่จำเป็นจะต้องทำดังนั้น ในอรรถกถาแสดงสมุฏฐานแห่งอาบัติมากออกไปเป็น ๑๓ ด้วยนับแยกอาบัติซึ่งเกิดแก่สมุฏฐานเดียวบ้าง หลายสมุฏฐานบ้าง ข้าพเจ้าเห็นฟั่นเฝือเกินความต้องการจะรู้ จึงงดเสีย ไม่กล่าวไว้ในที่นี้.
ผู้ต้องการจะรู้ละเอียด จงดูในบุพพสิกขาวัณณนาของท่านพระอมราภิรักขิต [อมร เกิด] นั้นเถิด.
ตัวอย่างแห่งอาบัติเกิดทางวาจากับจิตพึงเห็นในอาบัติทุกกฏเพราะแสดงธรรมแก่คนมีอาการไม่เคารพ แต่ไม่ใช่คนเจ็บไข้ที่จำเป็นจะต้องทำดังนั้น ในอรรถกถาแสดงสมุฏฐานแห่งอาบัติมากออกไปเป็น ๑๓ ด้วยนับแยกอาบัติซึ่งเกิดแก่สมุฏฐานเดียวบ้าง หลายสมุฏฐานบ้าง ข้าพเจ้าเห็นฟั่นเฝือเกินความต้องการจะรู้ จึงงดเสีย ไม่กล่าวไว้ในที่นี้.
ผู้ต้องการจะรู้ละเอียด จงดูในบุพพสิกขาวัณณนาของท่านพระอมราภิรักขิต [อมร เกิด] นั้นเถิด.
เพ่งเอาเจตนาเป็นที่ตั้ง อาบัติจัดเป็น ๒ พวก คือที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานมีเจตนาด้วย เรียกสจิตตกะ ที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐาน แม้ไม่มีเจตนา เรียกอจิตตกะ.
นี้เป็นกระทู้สำคัญที่ควรใส่ใจสำหรับรู้จักอาบัติ. นึกแต่ลำลังอาบัติ น่าจะเห็นไปว่าล่วงด้วยไม่มีเจตนา
นี้เป็นกระทู้สำคัญที่ควรใส่ใจสำหรับรู้จักอาบัติ. นึกแต่ลำลังอาบัติ น่าจะเห็นไปว่าล่วงด้วยไม่มีเจตนา
ปรับให้เป็นอาบัติอยู่ข้างแรงไป ถ้านึกถึงกฎหมายสำหรับบ้านเมืองเข้าเทียบ ก็จะเห็นว่า การลงโทษแก่ผู้ทำผิดด้วยไม่มีเจตนาย่อมมีเหมือนกัน เพราะทำลงไปแล้วย่อมเป็นการเสียเหมือนกัน.
ทางกำหนดรู้อาบัติเป็นสจิตตกะหรืออจิตตกะนั้น คือรูปความและโวหารในสิกขาบทนั้นเอง.
เช่นสำนวนแห่งโอมสวาทสิกขาบทว่า "เป็นปาจิตติยะ
เพราะกล่าวเสียดแทง" ดังนี้ รูปความบ่งว่า มีความจงใจจึงเป็นอันกล่าวเสียดแทง เช่นนี้เป็นสจิตตกะ.
สำนวนแห่งสุราปานสิกขาบทว่า "เป็นปาจิตติยะ เพราะดื่มน้ำเมา คือสุราเมรัย" ดังนี้ รูปความหาได้บ่งถึง
ทางกำหนดรู้อาบัติเป็นสจิตตกะหรืออจิตตกะนั้น คือรูปความและโวหารในสิกขาบทนั้นเอง.
เช่นสำนวนแห่งโอมสวาทสิกขาบทว่า "เป็นปาจิตติยะ
เพราะกล่าวเสียดแทง" ดังนี้ รูปความบ่งว่า มีความจงใจจึงเป็นอันกล่าวเสียดแทง เช่นนี้เป็นสจิตตกะ.
สำนวนแห่งสุราปานสิกขาบทว่า "เป็นปาจิตติยะ เพราะดื่มน้ำเมา คือสุราเมรัย" ดังนี้ รูปความหาได้บ่งถึง
เจตนาไม่ เช่นนี้เป็นอจิตตกะ.
คำว่า "แกล้ง" หรือ "รู้อยู่" เป็นต้นมีใจสิกขาบทใด อาบัติเพราะล่วงสิกขาบทนั้น เป็นสจิตตกะ เช่นสำนวนแห่งสิกขาบทหนึ่งว่า "ภิกษุใดแกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่นด้วยคิดว่า ด้วยอุบายนี้ความไม่ผาสุกจัดมีแก่เธอแม้ครู่หนึ่ง ต้องปาจิตติยะ" แห่งอีกสิกขาบทหนึ่งว่า "ภิกษุใด รู้อยู่ ชักชวนแล้วเดินทางกับพวกพ่อคาเกวียน หรือตั่ง ผู้ลักลอบภาษี โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่งต้องปาจิตติยะ" ดังนี้ เป็นสจิตตกะ.
ในสิกขาบทใดคำเช่นนั้นไม่มี และรูปความไม่ได้บ่งชัด อาบัติเพราะล่วงสิกขาบทนั้น
คำว่า "แกล้ง" หรือ "รู้อยู่" เป็นต้นมีใจสิกขาบทใด อาบัติเพราะล่วงสิกขาบทนั้น เป็นสจิตตกะ เช่นสำนวนแห่งสิกขาบทหนึ่งว่า "ภิกษุใดแกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่นด้วยคิดว่า ด้วยอุบายนี้ความไม่ผาสุกจัดมีแก่เธอแม้ครู่หนึ่ง ต้องปาจิตติยะ" แห่งอีกสิกขาบทหนึ่งว่า "ภิกษุใด รู้อยู่ ชักชวนแล้วเดินทางกับพวกพ่อคาเกวียน หรือตั่ง ผู้ลักลอบภาษี โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่งต้องปาจิตติยะ" ดังนี้ เป็นสจิตตกะ.
ในสิกขาบทใดคำเช่นนั้นไม่มี และรูปความไม่ได้บ่งชัด อาบัติเพราะล่วงสิกขาบทนั้น
เป็นอจิตตกะ.
เช่นสำนวนแห่งสิกขาบทต่อข้อหลังนั้นว่า ภิกษุใด
เช่นสำนวนแห่งสิกขาบทต่อข้อหลังนั้นว่า ภิกษุใด
ชักชวนแล้วเดินทางกับมาตุคาม คือหญิงชาวบ้าน โดยที่สุดแม้สิ้น
ระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตติยะ" ดังนี้ เป็นอจิตตกะ. สันนิษฐาน
ตามโวหารเช่นนี้ ถ้าถ้อยคำแห่งสิกขาบทตกหล่นมาแต่เดิมก็ดี จำทรง
พลาดไปในระหว่างก็ดี ความสันนิษฐานนั้นอาจผิดไปก็ได้. นี้เป็น
มูลแห่งความฟั่นเฝือของอาบัติ อันเป็นอจิตตกะและสจิตตกะ.
ความผิดของคน ใช่ว่าจะมีเพราะทำเท่านั้นก็หาไม่ บางทีอาจ
มีเพราะไม่ทำก็ได้ เช่นถูกเกณฑ์ไปทัพ แต่ไม่ไป เช่นนี้ ความผิด
ย่อมมีเหมือนกัน ข้อนี้ฉันใด อาบัติก็เป็นฉันนั้น ต้องเพราะไม่ทำก็มี
เช่นเห็นของที่เขาลืมไว้ในที่อยู่ของตนแล้ว ไม่เก็บไว้ให้เจ้าของเขา
พระอรรถกถาจารย์ถือเอาอธิบายนี้ กล่าวพรรณนาไว้โดยละเอียด
แต่เกินต้องการในที่นี้ ผู้ใคร่จะรู้จงค้นดูในบุพพสิกขาววัณณนานั้นเถิด.
อนึ่ง อาบัตินั้นเป็นโทษทางโลก คือคนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำ
เข้าก็เป็นความผิดความเสี่ยเหมือนกันก็มี เช่นทำโจรกรรม และฆ่า
มนุษย์ ตลอดลงมาถึงโทษที่เบา เช่นทุบตีกัน ด่ากัน นี้เรียกโลก-
วัชชะ. ที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือคนสามัญทำเข้าไม่เป็นความ
ผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุโดยฐานละเมิดพระบัญญัติก็มี
เช่นขุดดินและฉันอาหารในเวลาวิกาลเป็นต้น คนชาวบ้านทำ ไม่มี
ความผิดความเสีย นี้เรียกปัณณัตติวัชชะ. อธิบายนี้ตามความเข้าใจ
ของข้าพเจ้า. ส่วนในอรรถกถาพระวินัยท่านพรรณนาว่า อาบัติที่
เป็นโลกวัชชะนั้น ได้แก่อาบัติที่ต้องในเวลามีจิตเป็นอกุศล ท่าน
ยกการดื่มสุรา ด้วยรู้ว่าเป็นสุราเป็นตัวอย่าง, อาบัติที่เป็นปัณณัตติ-
วัชชะนั้น ได้แก่อาบัติที่ต้องในเวลามีจิตเป็นกุศล ท่านมิได้ยก
ตัวอย่างขึ้นไว้ แต่พึงเห็นเช่นเก็บดอกไม้เพื่อจะบูชาพระ. ใคร่ครวญดี
ความก็ลงรอยกัน การใดคนสามัญทำลงแล้วเป็นความผิดความเสีย
การนั้นเขาคงถือกันว่าเป็นชั่ว ส่วนการใดคนสามัญทำลงแล้ว ไม่เป็น
ความผิดความเสีย การนั้นเขาไม่ถือกันว่าชั่วสำหรับคนทั่วไป เป็นแต่
ท่านพรรณนาไว้ไม่ชัดเจนเท่านั้น. ข้าพเจ้าขอแนะนำเพื่อนสหธรรมิก
ไว้ว่า อาบัติที่เป็นโลกวัชชะนั้น ล่วงเข้าแล้วยังความเสียหายให้เกิดมาก
แม้ทำคืนแล้ว ความเสียนั้นก็ยังเป็นเหมือนแผลเป็นติดอยู่ ไม่หายได้ง่าย
ควรประหยัดให้มาก อย่าล่วงง่าย ๆ. ฝ่ายอาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะนั้น
เหล่าใดที่พวกภิกษุยังถือเป็นกวดขัน ล่วงอาบัติเหล่านั้นเข้าแล้ว
มีความเสียได้เหมือนกัน เหล่าใดไม่ได้ถือเป็นจริงจัง เพราะกาลสมัย
และประเทศนำให้เป็น อาบัติเหล่านั้นแม้ล่วงเข้าแล้ว ก็ไม่สู้เป็น
อะไรนัก. ไม่ควรจะถือเอาอาบัติเหล่านี้เป็นเครื่องมือสำหรับอวดเคร่ง
ดังเคยได้ยินมา พวกทายกเขนิมนต์ภิกษุรูปหนึ่งไปเทศนา บนธรรมาสน์
ปูเบาะยัดนุ่นไว้ ภิกษุนั้นไม่นั่งสั่งให้เลิกเสีย. ตามความเห็นของ
ข้าพเจ้า ทำอย่างนั้นไม่เป็นความเรียบร้อยกว่าจะยอมนังชั่วคราว ยัง
จะถือก็ควรถือแต่เฉพาะในวัด. เพื่อจะรักษาความเรียบร้อยไม่เอะอะ
ได้เคยทรงพระอนุญาตให้ทำได้ก็มี. ในฝ่ายที่ไม่เคร่ง เห็นว่าอาบัติ
มากหลบไม่ไหวแล้ว ทอดธุระเสีย ไม่รู้จักเลือกเว้น ดังนี้ ก็สะเพร่า
เกินไป. ควรรู้จักประพฤติแต่พอดี จึงจะสมแก่ศาสนาธรรมที่ว่า เป็น
ปฏิบัติพอกลาง ๆ ไม่ตกไปฝ่ายกามสุขัลลิกานุโยค ส่วนข้างหย่อน
และในฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค ส่วนข้างตึงเครียด.
อาการที่จะต้องอาบัตินั้น ๖ อย่าง คือ อลชฺชิตา ต้องด้วยไม่
ละอาย ๑ อาณตา ต้องด้วยไม่รู้ ๑ กุกฺกุจฺจปกตตา ต้องด้วยสงสัย
แล้วขืนทำ ๑ อกปฺปิเย กปฺปิยสฺิตา ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของ
ไม่ควร ๑ กปฺปิเย อกปฺปิยสฺิตา ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของ
ควร ๑ สติสมฺโมสา ต้องด้วยลืมสติ ๑.
ภิกษุรู้อยู่แล้ว และละเมิดพระบัญญัติ ด้วยใจด้านไม่รู้จักละอาย
ดังนี้ ต้องด้วยไม่ละอาย. ภิกษุไม่รู้ว่าทำอย่างนั้น ๆ มีพระบัญญัติ
ห้ามไว้และทำล่วงพระบัญญัติ ดังนี้ ต้องด้วยไม่รู้. ภิกษุสงสัยอยู่ว่า
ทำอย่างนั้น ๆ ผิดพระบัญญัติหรือไม่ แต่ขืนทำด้วยความสะเพร่า
เช่นนี้ ถ้าการที่ทำนั้นผิดพระบัญญัติ ก็ต้องอาบัติตามวัตถุ ถ้าไม่ผิด
ก็ต้องอาบัติทุกกฎ เพราะสงสัยแล้วขืนทำ. มังสะสัตว์ที่เขาไม่ได้ใช้เป็น
อาหาร เป็นของต้องห้ามไม่ให้ฉัน ภิกษุสำคัญว่าควรแล้วและฉัน
ดังนี้ ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร. มังสะสัตว์ที่เขาใช้เป็น
อาหาร เป็นของควร ภิกษุสำคัญว่าเป็นมังสะต้องห้าม แต่ขืนฉัน
ดังนี้ ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร. น้ำผึ้ง จัดว่าเป็นเภสัช
อย่างหนึ่ง ถึงมือแล้ว เก็บไว้ฉันได้เพียง ๗ วัน ภิกษุลืมไปปล่อยให้
ล่วงกำหนดนั้น ดังนี้ ต้องด้วยลืมสติ.
หากจะมีคำถามสอดเข้ามาว่า ปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้ละเมิด
พระบัญญัติ ด้วยไม่ละอาย หรือแม้ด้วยสงสัยแล้วขืนทำ ก็ชอบอยู่
ฝ่ายภิกษุผู้ล่วงด้วยไม่รู้ ด้วยสำคัญผิดไป ด้วยลืมสติ ควรได้รับปรานี
ไม่ใช่หรือ ? มีคำแก้ว่า ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่จงลองนึกถึง
กฎหมายของบ้านเมืองก่อน ถ้ายกเว้นให้แก่คนไม่รู้ คงมีผู้สนใจ
กฎหมายน้อย ถ้ายกเว้นให้แก่คนสำคัญผิดและคนลืม ข้อนั้นจะเป็น
ทางแก้ตัวของคนทำผิด นี้ฉันใด พระวินัยก็ฉันนั้น เมื่อไม่ยกเว้น
ภิกษุผู้มาใหม่จะได้สนใจรู้พระบัญญัติ จะได้ระมัดระวังไม่พลั้งเผลอ
มีความรู้และมีสติ ย่อมเป็นเหตุเจริญในพระศาสนาของเธอ ทั้งจะ
ได้เป็นเครื่องมือสะกัดภิกษุอลัชชีไม่ให้ได้ช่องแก้ตัว เช่นนี้แล ข้อไม่
ควรยกเว้น ท่านจึงไม่ยกเว้น ข้อที่ควรยกเว้น ท่านยกเว้นก็มี เช่น
ธรรมเนียมนุ่งผ้าห่มผ้า เข้ามาบวชใหม่ยังไม่เคย ทำไม่เป็นก็ยังไม่ถูก
ปรับอาบัติ ถ้ายังมุ่งว่าจะสำเหนียกเพื่อทำเป็น ท่านปรับแต่ผู้เป็นแล้ว
แต่ทอดธุระเสีย.
อาบัติที่ต้องด้วยอาการ ๖ นี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นหน้าที่
ของภิกษุผู้ต้อง จะทำคืนด้วยวิธีนั้น ๆ ดังกล่าวแล้วในหนหลัง ถ้า
ปิดบังทอดธุระเสีย เป็นหน้าที่ของภิกษุอื่นผู้รู้เห็นจะพึงตักเตือนภิกษุ
นั้นเองด้วยเมตตาในเธอ หรือถ้าดื้อดึง แม้จะพึงโจทท้วงห้ามการฟัง
พระปาติโมกข์ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยเห็นแก่พระศาสนา และเป็น
หน้าที่ของสงฆ์จะพึงทำตามสมควรแก่พระธรรมวินัย. เหตุดังนั้น
ภิกษุควรประพฤติตนเป็นคนซื่อตรง ให้สมเป็นที่วางพระหฤทัยของ
พระศาสดา. กิริยาที่ประพฤติให้เสียความวางใจของท่าน ย่อมเลวทราม
ไม่สมควรแก่สมณะเลย.
อานิสงส์พระวินัย
พระวินัยนั้น ภิกษุรักษาดีโดยถูกทางแล้ว ย่อมได้อานิสงส์คือความไม่ต้องเดือดร้อนใจซึ่งเรียกว่าวิปฏิสาร. ภิกษุผู้ประพฤติย่อหย่อนทางพระวินัยย่อมได้วิปฏิสาร เพราะทำอนาจารผิดกฎหมาย
บ้านเมือง ถูกจับกุมและถูกลงโทษบ้าง ถูกดูหมิ่นบ้าง ไม่มีคนนับถือจะเข้าหมู่ภิกษุผู้มีศีลก็หวั่นหวาดกลัวจะถูกโจทท้วง แม้ไม่มีใครว่าอะไรก็ตะขิดตะขวงใจไปเอง ที่สุดนึกขึ้นมาถึงตน ก็ติเตียนตนเองได้
ไม่ได้ปีติปราโมทย์. ฝ่ายภิกษุผู้นิยมในพระวินัย แต่ขาดความเข้าใจเค้าเงื่อน พอใจจะถือให้ได้ตรงตามตำรับ ให้เหมือนครั้งพุทธกาลแต่ตนเกิดในกาลอื่นในประเทศอื่น ย่อมได้พบความขัดข้องประพฤติ
ไม่สะดวกใจเป็นธรรมดา และความประพฤตินั้น มักมัวไปหนักอยู่ในข้อที่เป็นธรรมเนียม ที่ภิกษุเคยถือกันมา แต่ไม่เป็นสำคัญจริง ๆ
นี้เรียกว่าประพฤติพระวินัยไม่ได้อานิสงส์ดังมุ่งหมาย กลบได้ความลำบากเสียอีก. และผู้ประพฤติพระวินัยโดยไม่มีสติเช่นนั้น มักมีมานะถือตัวว่า ตนประพฤติเคร่งครัดดีกว่าผู้อื่น และดูหมิ่นภิกษุอื่นว่า
เลวทราม นี้เป็นกิริยาที่น่าเกลียดน่าติอยู่แล้ว ครั้นจะต้องอยู่ร่วมและสมาคมกับภิกษุอื่นที่ตนเห็นว่า ประพฤติบกพร่องในพระวินัย ย่อมรังเกียจและจำทำ กลับได้ความเดือดร้อนซ้ำอีก. ฝ่ายภิกษุผู้ประพฤติ
ถูกทาง ย่อมได้ความแช่มชื่น เพราะรู้สึกว่าตนประพฤติดีงาม ไม่ต้องถูกจับกุมและลงโทษหรือถูกติเตียน มีแต่จะได้ความสรรเสริญ จะเข้าหมู่ภิกษุผู้มีศีล ก็องอาจไม่ต้องสะทกสะท้าน.
อันจะปฏิบัติพระวินัยให้สำเร็จประโยชน์ ควรพิจารณาให้เข้าใจผลที่มุ่งหมายแห่งพระวินัยนั้น. พระพุทธบัญญัติบางข้อและอภิสมาจารบางหมวด พระศาสดาทรงตั้งไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนเหี้ยมโหดจน
ถึงต้องโทษเป็นอาชญาแผ่นดินอย่างอุกฤษฏ์ก็มี เช่นห้ามทำโจรกรรมและฆ่ามนุษย์ เพื่อป้องกันความลวงโลกเลี้ยงชีพก็มี เช่นห้ามไม่ให้อวดอุตตริมนุสสธรรม เพื่อฟ้องกันความดุร้ายก็มี เช่นห้ามไม่ให้ด่ากัน
ตีกันเป็นต้น เพื่อป้องกันความประพฤติเลวทรามก็มี เช่นห้ามพูดปดห้ามพูดส่อเสียดห้ามเสพสุราเป็นต้น เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหายก็มี เช่นห้ามแอบฟังความของเขา เพื่อป้องกันความเล่นซุกซนก็มี เช่นห้ามไม่ให้เล่นจี้กัน ไม่ให้เล่นน้ำ ไม่ให้ซ่อนบริขารของกัน ทรงบัญญัติตามความนิยมของคนในครั้งนั้นก็มี เช่นห้ามไม่ให้ขุดดิน ไม่ให้ฟันต้นไม้ที่เขาถือว่ามีชีวิต ทรงบัญญัติโดยเป็นธรรมเนียมของภิกษุตามความสะดวกบ้าง ตามนิยมของบรรพชิตบ้าง เช่นห้ามไม่ให้ฉันอาหารในเวลาวิกาลจะฉันของอื่นนอกจากน้ำ ต้องรับประเคนก่อน.
นี้เป็นตัวอย่างแห่งผลที่มุ่งหมายของสิกขาบทนั้น ๆ. อนึ่ง พึงใคร่ครวญถึงพระบัญญัติที่ทรงตั้งขึ้นแล้ว แต่ยังไม่เหมาะด้วยประการใดประการหนึ่ง จึงได้ทรงเพิ่มอนุบัญญัติดัดแปลงซึ่งกล่าวแล้วในหนหลัง ว่ายังให้สำเร็จผลมุ่งหมายเดิม หรือกลายเป็นอื่นไปแล้ว แต่ยังจะต้องถือไปตามธรรมเนียมของภิกษุ.
นี้เป็นตัวอย่างแห่งผลที่มุ่งหมายของสิกขาบทนั้น ๆ. อนึ่ง พึงใคร่ครวญถึงพระบัญญัติที่ทรงตั้งขึ้นแล้ว แต่ยังไม่เหมาะด้วยประการใดประการหนึ่ง จึงได้ทรงเพิ่มอนุบัญญัติดัดแปลงซึ่งกล่าวแล้วในหนหลัง ว่ายังให้สำเร็จผลมุ่งหมายเดิม หรือกลายเป็นอื่นไปแล้ว แต่ยังจะต้องถือไปตามธรรมเนียมของภิกษุ.
อนึ่ง พึงใส่ใจถึงพระบัญญัติปรารภเฉพาะกาลประเทศ อันเป็นไปในสมัยนั้น ครั้นกาลล่วงมานานและนำมาใช้ในประเทศอื่น เป็นไปไม่สะดวกไม่มีใครจะแก้ไขได้ ภิกษุทั้งหลายในประเทศนั้น ในกาลนั้น
จึงหันหาทางหลีกเลี่ยงประพฤติบ้าง เลิกเสียทีเดียวบ้าง. เมื่อใคร่ครวญเห็นเช่นนี้แล้ว พึงนำความประพฤติไปให้สำเร็จผลที่มุ่งหมายของพระวินัย และให้สำเร็จอานิสงส์ คือได้ความชื่นบานว่า ได้ประพฤติดีงาม ไม่ต้องได้ความเดือดร้อนเพราะเหตุประพฤติสะเพร่า หรือประพฤติไม่ถูกทาง และไม่เกิดมานะความถือตัวและดูหมิ่นผู้อื่น.
ควรมีเมตตาอารีแนะนำเพื่อนสหธรรมิก ที่ยังประพฤติบกพร่องให้ประพฤติ
ควรมีเมตตาอารีแนะนำเพื่อนสหธรรมิก ที่ยังประพฤติบกพร่องให้ประพฤติ
บริบูรณ์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น