กัณฑ์ที่ ๕
สังฆาทิเสส
ศัพท์นี้ เป็นชื่อของอาบัติ แปลว่า ความละเมิดมีสงฆ์ในกรรมเบื้องต้น และกรรมอันเหลือ.
อธิบายว่า สงฆ์เป็นผู้ปรับโทษให้อยู่กรรม สงฆ์เองเป็นผู้ระงับอาบัติ.
เป็นชื่อของสิกขาบท แปลว่า ปรับอาบัติสังฆาทิเสส.
ในที่นี้ เป็นชื่อของสิกขาบท มี ๑๓ สิกขาบท.
สิกขาบทที่ ๑ ว่า ปล่อยสุกกะเป็นด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน เป็นสังฆาทิเสส.
คำว่า ปล่อยสุกกะนั้น บ่งความว่า สุกกะหาได้เคลื่อนเองไม่เคลื่อนด้วยประโยคของภิกษุ. คำว่า เป็นไปด้วยความจงใจนั้นบ่งความว่า ประโยคนั้นเกิดแต่ความปรารถนาจะให้เคลื่อน.
คำว่า เว้นไว้แต่ฝันนั้น บ่งความว่า ไม่มีจงใจและไม่มีประโยค ทั้ง ๒ นั้นแม้หากจะมีก็เป็นอัพโพหาริก คือกล่าวไม่ได้ว่ามี.
คำว่า เว้นไว้แต่ฝันนั้น บ่งความว่า ไม่มีจงใจและไม่มีประโยค ทั้ง ๒ นั้นแม้หากจะมีก็เป็นอัพโพหาริก คือกล่าวไม่ได้ว่ามี.
โดยนัยนี้ ในคัมภีร์วิภังค์ ท่านจึงจัดองค์แห่งอาบัตินี้ไว้อย่างนี้ภิกษุคิดและพยายามด้วย สุกกะเคลื่อนจากฐานด้วย เป็นองค์แห่งอาบัติสังฆาทิเสส. ภิกษุคิดและพยายาม แต่สุกะหาเคลื่อนไม่ เป็นองค์แห่งอาบัติถุลลัจจัย.
เป็นแต่เพียงคิด น่าจะเป็นองค์แห่งอาบัติทุกกฏ.
เป็นแต่เพียงคิด น่าจะเป็นองค์แห่งอาบัติทุกกฏ.
แต่อาบัติไม่เกิดเพราะลำพังจิตดังกล่าวแล้ว จึงไม่เป็นองค์แห่งอาบัติ.
เพราะเหตุนั้น อาบัติทุกกฏในสิกขาบทนี้จึงไม่มี. ในสิกขาบทกล่าวไว้แต่เพียงว่า เป็นไปด้วยความจงใจ ไม่ได้แสดงความปรารถนาเป็นเหตุทำอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุปรารถนาผัสสะก็ตาม ปรารถนา
ความไม่มีโรคก็ตาม ปรารถนาอย่างอื่นก็ตาม จงใจพยายาม คือทำประโยคที่องค์กำเนิดของตนในรูปภายใน คือ ในอวัยวะตนเองหรือในรูปภายนอก คือ ในอวัยวะผู้อื่น ยกที่เป็นวัตถุปาราชิกหรือในพัสดุหาวิญญาณมิได้ โดยที่สุดแอ่นเอวในอากาศ สุกกะเคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ทำอย่างนั้นแต่สุกกะไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
ทำอย่างนั้นแต่สุกกะไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สิกขาบทนี้ปรารภทำเพื่อตนเอง เพราะเหตุนั้น อาบัติในสิกขาบทนี้ จึงเป็นอนาณัตติกะ แต่สั่งคนอื่นพยายามให้แก่ตน ไม่พ้นจากอาบัติ.
และเป็นสจิตตกะ เพราะเหตุนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้หาประสงค์ในอันให้เคลื่อนมิได้ เช่นเคลื่อนในเวลานอนหลับ.
และเป็นสจิตตกะ เพราะเหตุนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้หาประสงค์ในอันให้เคลื่อนมิได้ เช่นเคลื่อนในเวลานอนหลับ.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม จับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตาม ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.
คำว่า กำหนัดนั้น พระอรรถกถาจารย์แสดงว่า กำหนัดในอันเคล้าคลึง อธิบายตามมติของท่านว่า เพราะถ้ากำหนัดในเมถุน จับต้องกายหญิง ก็จะพึงเป็นบุพพปโยคแห่งการเสพเมถุน อันเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
ตามมติของข้าพเจ้า กำหนัดในทางใดทางหนึ่งก็เหมือนกันสมด้วยการตัดสินอาบัติในวินีตวัตถุ แห่งปฐมปาราชิกสิกขาบท ในเรื่องภิกษุพยายามที่อวัยวะหญิงอันมิใช่ทวาร ตัดสินว่าเป็นสังฆาทิเสสหาปรับเป็นทุกกฏ โดยฐานเป็นบุพพปโยคแห่งการเสพเมถุนไม่ ในคัมภีร์วิภังค์ก็แก้บทนี้เป็นคำกลาง แปลว่า เป็นไปในทางใดทางหนึ่งก็เหมือนกัน.
มาตะคามบทนี้ ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า ได้แก่หญิงมนุษย์โดยที่สุดเกิดในวันนั้น.
ท่านแก้อย่างนี้ชอบ เพราะความกำหนัดของชาย ย่อมเป็นไปแม้ในหญิงเด็ก.
ตามมติของข้าพเจ้า กำหนัดในทางใดทางหนึ่งก็เหมือนกันสมด้วยการตัดสินอาบัติในวินีตวัตถุ แห่งปฐมปาราชิกสิกขาบท ในเรื่องภิกษุพยายามที่อวัยวะหญิงอันมิใช่ทวาร ตัดสินว่าเป็นสังฆาทิเสสหาปรับเป็นทุกกฏ โดยฐานเป็นบุพพปโยคแห่งการเสพเมถุนไม่ ในคัมภีร์วิภังค์ก็แก้บทนี้เป็นคำกลาง แปลว่า เป็นไปในทางใดทางหนึ่งก็เหมือนกัน.
มาตะคามบทนี้ ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า ได้แก่หญิงมนุษย์โดยที่สุดเกิดในวันนั้น.
ท่านแก้อย่างนี้ชอบ เพราะความกำหนัดของชาย ย่อมเป็นไปแม้ในหญิงเด็ก.
หญิงเป็นวัตถุแห่งสังฆาทิเสส บัณเฑาะก์คือกะเทย เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย.
บุรุษและสัตว์ดิรัจฉานผู้เมีย เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
ในเพราะวัตถุแห่งสังฆาทิเสส สำคัญถูกและจับต้อง กายต่อกายถูกกันเข้า เป็นสังฆาทิเสส แม้หญิงถูกต้องก่อน แต่ภิกษุยินดีรับผัสสะก็เป็นสังฆาทิเสสเหมือนกัน.
สำคัญเป็นอย่างอื่นไปเสีย จับต้องเป็นถุลลัจจัย เอากายเช่นมือของตนถูกของเนื่องด้วยกายของเขา เช่น
บุรุษและสัตว์ดิรัจฉานผู้เมีย เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
ในเพราะวัตถุแห่งสังฆาทิเสส สำคัญถูกและจับต้อง กายต่อกายถูกกันเข้า เป็นสังฆาทิเสส แม้หญิงถูกต้องก่อน แต่ภิกษุยินดีรับผัสสะก็เป็นสังฆาทิเสสเหมือนกัน.
สำคัญเป็นอย่างอื่นไปเสีย จับต้องเป็นถุลลัจจัย เอากายเช่นมือของตนถูกของเนื่องด้วยกายของเขา เช่น
ผ้าห่ม หรือเอาของเนื่องด้วยกายของตน เป็นต้นว่าชายจีวรถูกกายของเขา เพื่อจำง่าย ข้างหนึ่งเป็นกาย อีกข้างหนึ่งเป็นของเนื่องด้วยกาย เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน.
เอาของเนื่องด้วยกายของตนถูกของเนื่องด้วยกายของเขาก็ดี เอาของมีดอกไม้เป็นต้นปาถูกกาย
เอาของเนื่องด้วยกายของตนถูกของเนื่องด้วยกายของเขาก็ดี เอาของมีดอกไม้เป็นต้นปาถูกกาย
หรือของเนื่องด้วยกายของเขาก็ดี เป็นทุกกฏ สำคัญเป็นอื่นและจับต้อง แต่ไม่ถึงกายต่อกาย เป็นทุกกฏทุกประโยค.
ในเพราะวัตถุแห่งถุลลัจจัย ทำไม่เต็มที่ ต้องทุกกฏอย่างเดียว.
ไม่ต้องกล่าวปรารภถึงวัตถุแห่งทุกกฏ.
จับต้องหลายวัตถุ เป็นอาบัติหลายตัวมีชนิดและจำนวนตามวัตถุ จับต้องหลายประโยค เป็นอาบัติหลายตัวมีจำนวนตามประโยค.
ในเพราะวัตถุแห่งถุลลัจจัย ทำไม่เต็มที่ ต้องทุกกฏอย่างเดียว.
ไม่ต้องกล่าวปรารภถึงวัตถุแห่งทุกกฏ.
จับต้องหลายวัตถุ เป็นอาบัติหลายตัวมีชนิดและจำนวนตามวัตถุ จับต้องหลายประโยค เป็นอาบัติหลายตัวมีจำนวนตามประโยค.
อันภิกษุผู้ทำการเคล้าคลึงด้วยอำนาจความกำหนัด จะพึงมุ่งเฉพาะวัตถุเป็นต้นว่าหญิง ท่านจึงจัดอาบัติในสิกขาบทนี้เป็นสจิตตกะเพราะเหตุนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่แกล้งจะถูกต้อง เช่นหลีกผู้หนึ่ง ไพล่ไปโดยอีกผู้หนึ่ง ผู้ถูกต้องด้วยเผลอตัว เช่นหญิงมาถูกต้อง ภิกษุตกใจผลักออกไปในทันที ผู้ถูกต้องและไม่รู้ตัว เช่นกระทบกันในเวลาเบียดคนมาก ผู้อันหญิงถูกต้องก่อน แต่ไม่ได้ยินดีรับผัสสะ. อาการเหล่านี้เป็นองค์แห่งอนาบัติ เพราะไม่มีแห่งจิตกำหนัด.
สิกขาบทที่ ๓ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ เหมือนชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาวด้วยวาจาพาดพิงเมถุน เป็นสังฆาทิเสส.
คำว่า มาตุคาม ในสิกขาบทนี้ ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า ได้แก่หญิงมนุษย์ เฉพาะรู้เดียงสา พอจะเข้าใจคำหยาบหรือไม่.
คำนี้ชอบเพราะว่าอันผู้จะพูดวาจาเช่นนั้น ก็มุ่งความเข้าใจของหญิง ถ้าหญิงเป็นเด็กไม่รู้เดียงสา ความปรารถนาของผู้พูดก็ไม่สำเร็จ.
วาจาชั่วหยาบนั้น ได้แก่ถ้อยคำพาดพิงทวารเบาทวารหนักและเมถุน.
ข้อนี้พึงรู้ด้วยอาการเคยเสพเมถุนกับสามีของเขา บอกหรือสอนเพื่อให้เมถุนแก่สามีของเขา ด้วยอาการอย่างนั้นอย่างนี้.
คำนี้ชอบเพราะว่าอันผู้จะพูดวาจาเช่นนั้น ก็มุ่งความเข้าใจของหญิง ถ้าหญิงเป็นเด็กไม่รู้เดียงสา ความปรารถนาของผู้พูดก็ไม่สำเร็จ.
วาจาชั่วหยาบนั้น ได้แก่ถ้อยคำพาดพิงทวารเบาทวารหนักและเมถุน.
ข้อนี้พึงรู้ด้วยอาการเคยเสพเมถุนกับสามีของเขา บอกหรือสอนเพื่อให้เมถุนแก่สามีของเขา ด้วยอาการอย่างนั้นอย่างนี้.
หญิง [อันต้องด้วยลักษณะมาตุคาม ในสิกขาบทนี้] เป็นวัตถุแห่งสังฆาทิเสส.
บัณเฑาะก์เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย. บุรุษเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
บัณเฑาะก์เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย. บุรุษเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
ในหญิง ทวารเบา ทวารหนัก และเมถุน เป็นเขตแห่งสังฆาทิเสส.
อวัยวะอื่นเหนือหัวเข่าขึ้นไป ใต้รากขวัญ คือไหปลาร้าหรือหลุมคอ ลงมา ในศอกเข้าไป เป็นเขตแห่งถุลลัจจัย.
อวัยวะพ้นจากนั้น เป็นเขตแห่งทุกกฏ.
ในบัณเฑาะก์ ทวารและเมถุน เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย.
อวัยวะทั้งปวง เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
ในบุรุษทุกสิ่งเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
อวัยวะอื่นเหนือหัวเข่าขึ้นไป ใต้รากขวัญ คือไหปลาร้าหรือหลุมคอ ลงมา ในศอกเข้าไป เป็นเขตแห่งถุลลัจจัย.
อวัยวะพ้นจากนั้น เป็นเขตแห่งทุกกฏ.
ในบัณเฑาะก์ ทวารและเมถุน เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย.
อวัยวะทั้งปวง เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
ในบุรุษทุกสิ่งเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
พดกระคนมาก เป็นอาบัติหลายตัว มีชนิดและจำนวนตามวัตถุ.
พูดกะคนผู้เดียว แต่หลายคำ น่าจะเป็นอาบัติในคำ ๆ แต่ท่านหาได้กล่าวไว้ในที่นี้ไม่.
สิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ เพราะเหตุนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มุ่งอรรถมุ่งธรรมหรือมุ่งคำสอน และพูดวาจาเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๔ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว กล่าวคุณแห่งความบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า น้องหญิง หญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีศีลมีกัลยาณธรรมเช่นเรา ด้วยธรรมนั่น นั้นเป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสสอธิบายทั้งปวง พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๓ ต่างแต่ความมุ่งของผู้พูด ในสิกขาบทนั้น กล่าวถึงพูดเคาะ ในสิกขาบทนี้กล่าวถึงพดชวน.
สกขาบทที่ ๕ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความเป็นผู้เที่ยวสื่อ [บอก] ความประสงค์ของชายแก่หญิงก็ดี [บอก] ความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดี ในความเป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ก็ตาม โดยที่สุด[บอก] แม้แก่หญิงแพศยา อันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ เป็นสังฆาทิเสส.
บาลีแห่งสิกขาบทนี้ ตกบทว่า "บอก" หรืออะไรอยู่บทหนึ่งซึ่งแก้ไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า "บอก." คำว่า ในความเป็นเมียนั้น หมายความว่า ในการอยู่ร่วมกัน อันชอบด้วยกฎหมาย.
คำว่า ในความเป็นชู้นั้น หมายความว่า ในการอยู่ร่วมกัน อันผิดต่อกฎหมาย.
คำว่า ในความเป็นชู้นั้น หมายความว่า ในการอยู่ร่วมกัน อันผิดต่อกฎหมาย.
เหตุนั้น ในคัมภีร์วิภังค์ ท่านจึงแสดงหญิง ๒ ประเภทนั้นไว้ หญิงอยู่ในปกครองของมารดาบิดาเป็นต้น ซึ่งชายจะพึงขอหรือถือเอาเป็นภรรยาได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย คือเป็นภรรยาที่แต่งงาน หรือเป็นภรรยาที่ตกลงกันเอง หรือเป็นภรรยาสินไถ่เป็นต้น ประเภท ๑,หญิงต้องห้าม เช่น หญิงอยู่ในปกครองของวงศ์ มีเจ้าหญิงในราชสกุลเป็นตัวอย่าง หญิงมีธรรมเนียมรักษา มีภิกษุณีเป็นตัวอย่างหญิงมีสามี หญิงอันกฎหมายห้าม เช่นเรียกในกฎหมายเก่าว่า แม่หม้ายงานท่าน ประเภท ๑.
โดยนัยนี้ ภิกษุรับเป็นเฒ่าแก่ไปสู่ขอหญิงให้แก่ชาย หรือรับเดินสื่อชักนำให้เขาได้กัน หรือทำเช่นนั้น
โดยนัยนี้ ภิกษุรับเป็นเฒ่าแก่ไปสู่ขอหญิงให้แก่ชาย หรือรับเดินสื่อชักนำให้เขาได้กัน หรือทำเช่นนั้น
ในทางมีโทษ คงเป็นอันล่วงสิกขาบทนี้ดุจเดียวกัน.
ในคัมภีร์วิภังค์นั้น กำหนดองค์แห่งการชักสื่อไว้เป็น ๓ คือรับคำของผู้วาน ๑ บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ๑ กลับมาบอกผู้วาน ๑.แต่ผลแห่งการชักสื่อบางอย่าง ย่อมสำเร็จเพียงด้วยองค์ ๒ ก็มี.
เช่นชายวานภิกษุให้บอกนัดหญิงแพศยาให้ไปหา ณ ตำบลนั้น ๆ เมื่อนั้น ๆถ้าหญิงนั้นรับคำ แม้ภิกษุไม่กลับมาบอกชายผู้วาน ความปรารถนาของเขาก็คงสำเร็จ.
พิจารณาโวหารในสิกขาบท ถ้าไม่มีคำปริกัปว่า "ก็ดี" ก็พอจะบ่งว่ามีองค์ ๓ ได้ คือคำว่า บอกความประสงค์ของชายแก่หญิงนั้น บ่งว่ารับคำฝ่ายชายมาแล้วและบอกแก่ฝ่ายหญิงและคำว่า บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายนั้น บ่งว่าฝ่ายหญิงเขาว่าอย่างไร กลับมาบอกแก่ฝ่ายชาย ดังนี้ ได้องค์ ๓. แต่ในสิกขาบทนี้ มีคำปริกัปว่า "ก็ดี" ชัดอยู่ บ่งความแต่เพียงรับคำของฝ่ายหนึ่ง และบอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้แต่เพียงองค์ ๒. ข้าพเจ้าสันนิษฐานเห็นว่า ท่านกำหนดองค์ ๓ นั้น ตามทางที่เป็นไปอยู่ เช่นเฒ่าแก่
เช่นชายวานภิกษุให้บอกนัดหญิงแพศยาให้ไปหา ณ ตำบลนั้น ๆ เมื่อนั้น ๆถ้าหญิงนั้นรับคำ แม้ภิกษุไม่กลับมาบอกชายผู้วาน ความปรารถนาของเขาก็คงสำเร็จ.
พิจารณาโวหารในสิกขาบท ถ้าไม่มีคำปริกัปว่า "ก็ดี" ก็พอจะบ่งว่ามีองค์ ๓ ได้ คือคำว่า บอกความประสงค์ของชายแก่หญิงนั้น บ่งว่ารับคำฝ่ายชายมาแล้วและบอกแก่ฝ่ายหญิงและคำว่า บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายนั้น บ่งว่าฝ่ายหญิงเขาว่าอย่างไร กลับมาบอกแก่ฝ่ายชาย ดังนี้ ได้องค์ ๓. แต่ในสิกขาบทนี้ มีคำปริกัปว่า "ก็ดี" ชัดอยู่ บ่งความแต่เพียงรับคำของฝ่ายหนึ่ง และบอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้แต่เพียงองค์ ๒. ข้าพเจ้าสันนิษฐานเห็นว่า ท่านกำหนดองค์ ๓ นั้น ตามทางที่เป็นไปอยู่ เช่นเฒ่าแก่
ที่ฝ่ายชายแต่งไปพูดขอแก่ฝ่ายหญิง ได้รับคำตอบอย่างไร กลับมาบอกฝ่ายชายอีก. เมื่อตั้งกำหนดเป็นองค์ ๓ แล้ว จึงแจกองค์ ๒ ว่าเป็นประโยคแห่งถุลลัจจัย องค์ ๑ เป็นประโยคแห่งทุกกฏ ด้วยไม่เพ่งอรรถที่ควรจะเป็นได้หรือไม่. ท่านกำหนดองค์เกินต้องการมีอยู่ในที่อื่นบ้าง คือในจตุตถปาราชิกสิกขาบท ท่านกำหนดองค์มุสาวาทไว้เป็น ๓ คือ ก่อนแต่พูด ก็รู้ว่าเราจักพูดเท็จ เป็นองค์ ๑ขณะพูด ก็รู้ว่าเราพูดเท็จ เป็นองค์ ๑ ครั้นพูดแล้ว ก็รู้ว่าเราพูดเท็จแล้ว เป็นองค์ ๑. แต่พูดมุสาอวดอุตตริมนุสสธรรม ย่อมสำเร็จเพียงด้วย ๒ องค์ข้างต้นเท่านั้น. ความข้อนี้ กล่าวไว้ในอรรถกถาแล้ว.
ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าใจว่า การชัดสื่อซึ่งกล่าวถึงในสิกขาบทนี้ย่อมสำเร็จด้วยโยงข่าวสาส์นของคน ๒ ฝ่ายให้ถึงกันเข้า.
เช่นนี้ย่อมสมเหตุสมผล.
ส่วนอาบัติในบุพพปโยคนั้น ถ้าเขาวาน รับคำ เป็นถุลลัจจัย บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เป็นสังฆาทิเสส ถ้าจัดการเอง บอกแก่ฝ่ายแรกเป็นถุลลัจจัย บอกแก่ฝ่ายที่ ๒ เป็นสังฆาทิเสส. ประโยคแรกเป็นถุลลัจจัยที่เดียว ในสิกขาบทอื่นก็มี เพราะไม่มีประโยคที่รองลงไป.
เช่นนี้ย่อมสมเหตุสมผล.
ส่วนอาบัติในบุพพปโยคนั้น ถ้าเขาวาน รับคำ เป็นถุลลัจจัย บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เป็นสังฆาทิเสส ถ้าจัดการเอง บอกแก่ฝ่ายแรกเป็นถุลลัจจัย บอกแก่ฝ่ายที่ ๒ เป็นสังฆาทิเสส. ประโยคแรกเป็นถุลลัจจัยที่เดียว ในสิกขาบทอื่นก็มี เพราะไม่มีประโยคที่รองลงไป.
ผู้วานนั้น เป็นเจ้าตัวชายหรือหญิงเองก็ตาม เป็นมารดาบิดาหรือผู้ใหญ่อื่นของเขาก็ตาม ภิกษุรับแล้ว บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เป็นเจ้าตัวก็ตาม เป็นผู้ใหญ่ของเขาก็ตาม คงต้องสังฆาทิเสส.
ไม่ทำเองสั่งให้ผู้อื่นทำแทนอีกต่อหนึ่ง ก็เหมือนกัน.
ไม่ทำเองสั่งให้ผู้อื่นทำแทนอีกต่อหนึ่ง ก็เหมือนกัน.
เขาวานภิกษุหลายรูป เธอทั้งหลายรับเขาแล้ว บอกแม้แต่รูปเดียว ต้องสังฆาทิเสสด้วยยันทั้งนั้น. ภิกษุแม้ไม่รู้ ชักโยงสามีภรรยาผู้หย่ากันแล้วให้กลับเป็นสามีภรรยากันใหม่ ท่านว่าไม่พ้นอาบัติ.
เหตุนั้น อาบัติในสิกขาบทนี้ จึงจัดว่าเป็นอจิตตกะ. สามีภรรยาโกรธกันแล้ว ต่างคนต่างอยู่ แต่หาได้อย่ากันไม่ ภิกษุชักโยงให้ดีกันไม่ต้องอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๖ ว่า อนึ่ง ภิกษุจะให้ทำกุฎี อันหาเจ้าของมิได้เฉพาะตนเอง ด้วยอาการของเอาเอง พึงทำให้ได้ประมาณ. นี้ประมาณในอันทำกุฎีนั้น โดยยาว ๑๒ คืบ โดยกว้าง ๗ คืบ ด้วยคืบสุคต วัด ในร่วมใน. พึงนำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่.
ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบง หากภิกษุให้ทำกุฎีด้วยการขอเอาเอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ หรือทำให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาท์เสส.
ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบง หากภิกษุให้ทำกุฎีด้วยการขอเอาเอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ หรือทำให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาท์เสส.
อรรถแห่งสิกขาบทนี้แฝงอยู่ ทำให้เข้าใจยาก ต้องการอธิบาย
มากสักหน่อย. สมควรจะใคร่ครวญถึงที่ทางก่อน เพราะสงฆ์อาจ
แสดงให้ได้ น่าจะเห็นว่าเป็นที่ในอาราม หรือในอุปจารแห่งอาราม.
แต่อารามในครั้งนั้น ไม่เหมือนในบัดนี้ สงฆ์ไม่ได้เป็นใหญ่ มีเจ้าของ
ดูแลรักษา แต่เอาไว้สำหรับเป็นที่สงฆ์อาศัย ทั้งยังมีความอื่นอีกบ่งว่า
ไม่ใช่ที่ในอาราม หรือในอุปจารแห่งอาราม. คำว่า อันมีผู้จองไว้
นั้น ข้าพเจ้าเข้าในว่า เป็นที่อันคนจองไว้ก่อน มีกรรมสิทธิ์ตาม
กฎหมายบ้านเมือง. การจองที่ทับหรือคาบเกี่ยว มีห้ามไว้ชัดในการ
ผูกสีมา. แต่ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า เป็นที่อาศัยของสัตว์ตัวเล็กมีมด
ปลวกเป็นต้น ของสัตว์ร้าย มีช้างเสือเป็นต้น ที่อยู่ติดกับนาไร่
เรือกสวนเรือนโรงของผู้อื่น และเป็นที่พลุกพล่าน เช่นอยู่ใกล้ที่
ชุมนุมชน และอยู่ริมถนนหนทาง. ถ้าอย่างนี้ น่าจะหาที่สร้างไม่ได้
เลย ทั้งในป่า ทั้งในบ้าน. เหตุไฉนท่านจึงแก้อย่างนั้น. บาลีบทนี้ว่า
"สารมฺภํ" แปลตามพยัญชนะว่า "มีปรารภ" หรือ "มีเริ่ม"
ท่านตีความเป็นอย่างนั้นไปเสีย. คำว่า อันมีชานรอบนั้น ข้าพเจ้า
เข้าใจว่า ชานสำหรับหมายเขตตามธรรมเนียมของบ้านเมือง ดังมี
แจ้งในกฎหมาย มานวธรรมศาสตร์ ของโบราณ ที่เอาชื่อมาใช้เรียก
กฎหมายสยามในกาลก่อน. การเว้นชานไว้เป็นเขตนั้น มีสั่งไว้ชัด
ในการผูกสีมา. แต่ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า เป็นที่อาจเวียนเกวียน เวียน
บันได. ด้วยเหตุอย่างไร ท่านจึงลงสันนิษฐานเช่นนั้น. เห็นว่าเพราะ
บาลีบทนี้ว่า "สปริกฺกมนํ" แปลตามพยัญชนะว่า "มีที่เดินได้รอบ"
ท่านเพ่งเฉพาะทำการสะดวก ไม่ได้สอดส่องไปถึงอย่างอื่น. วินิจฉัย
มาถึงนี้ ก็พอถึงสันนิษฐานลงได้ว่า ที่นั้นเป็นสถานยังไม่มีคนจับจอง
หวงห้าม เป็นป่าหรือทุ่งว่าง. กิริยาที่ขอให้สงฆ์แสดงที่ให้นั้น ก็คือ
ทำการจับจองให้มีพยานเป็นหลักฐาน และเว้นชานไว้รอบเป็นเขต
ตามธรรมเนียมบ้านเมือง. ถ้านึกถึงธรรมเนียมในบัดนี้ คงจะเข้าใจ
ดี. ภิกษุจะตั้งสำนักสงฆ์ ต้องขอเจ้าคณะแขวง เพื่อให้อนุญาตก่อน
ฝ่ายเจ้าคณะแขวงจะต้องพิจารณาดู เห็นว่าผู้ขอสมควรจะจับจองถือ
กรรมสิทธิ์ในที่นั้นได้ และการตั้งสำนักนั้น ไม่ประกับผู้ใดผู้หนึ่ง
จึงควรอนุญาตและกำหนดเขตไว้เป็นสำคัญ ไม่ได้เช่นนั้น ก็ควร
ห้ามไม่ให้ตั้ง. ธรรมเนียมนี้ ก็ทำตามเรื่องในสิกขาบทนี้เอง.
คราวนี้ เป็นวาระที่จะสันนิษฐานถึงกุฎีว่าเป็นชนิดไร. บาลีใน
สิกขาบทว่าเพียง "กุฎี" เท่านั้น บ่งว่าชนิดใดชนิดหนึ่งก็ตาม
แต่ในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า เป็นกุฎีโบก ด้วยดินหรือด้วยปูน. ท่านจะ
เห็นความอย่างไรไม่ทราบแน่ แต่มีคำพอจะนำให้สันนิษฐานลงเช่นนั้น
ในท้องนิทานแห่งสิกขาบท คือขอดิน และทำไม่มีประมาณไม่ค่อย
สำเร็จลง. ถ้าความสำคัญในเรื่องนี้ เนื่องด้วยที่สร้างต่างหาก กุฎี
เป็นชนิดไร ไม่เป็นสำคัญ. ความสำคัญเนื่องด้วยกุฎี มีอยู่แต่เพียง
ทำอย่าให้ล่วงประมาณเท่านั้น. ห้ามไว้เพื่อจำกัดการขอให้จบลง.
มีคำถามสอดเข้ามาว่า ถ้าความสำคัญเนื่องด้วยที่ เหตุไฉน
จึงยกการสร้างกุฎีขึ้นเป็นตัวตั้งเล่า ? มีคำแก้ว่า เพราะในครั้งนั้น
ที่ยังไม่เป็นของมีราคา แม้ให้จับจอง ก็เพียงกันวิวาทเท่านั้น. อย่า
ว่าแต่ในครั้งนั้นเลย ในบัดนี้เอง การเก็บค่าเช่าที่ธรณีสงฆ์ ยังเก็บ
ตามหลังคาเรื่องก็มี ส่วนที่เป็นชานนั้น ไม่ต้องพูดถึง เรือนปลูก
แทรกลงไม่ได้แล้ว ไม่ต้องหวง. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า
อรรถแห่งสิกขาบทนี้แฝงอยู่ ทำให้เข้าใจยาก.
คราวนี้เป็นวาระที่จะปรารภถึงประมาณแห่งกุฎี ประมาณนั้น
ใช้สุคตประมาณ. ประมาณชนิดนี้ เข้าใจกันมาว่า ออกจากนิ้ว
พระหัตถ์แห่งพระศาสดาเอง. ข้อนี้ก็น่าจะเป็นได้ เมื่อพระองค์ทรง
บัญญัติสิกขาบทเกี่ยวถึงประมาณเข้า ก็จะทรงชี้เอานิ้วเอาคืนเอาศอก
ของพระองค์เอง. แต่ใคร่ครวญถึงศัพท์ว่า "สุคต" ซึ่งไม่ได้
เคยใช้ในพระโอฐของพระศาสดาเรียกพระองค์เอง หรือในโอฐสาวก
ใช้เรียกพระศาสดา คิดฉงนไปว่า บางทีจะหมายความอย่างอื่นกระมัง
เช่น คืบเต็ม ๆ คือคืบอย่างผึ่งผาย หรือหมายเอาประมาณหลวง
อันใช้เป็นหลักมาตรา หรือเป็นชื่อประมาณต่างอย่างหนึ่ง เช่น เรา
เรียกกันว่า นิ้วช่างไม้นิ้วฟุต ฉะนี้. ข้อนี้เป็นแต่นึกไป ยังไม่พบ
หลักฐาน ทั้งคำว่าประมาณแห่งสุคตจีวรแห่งพระสุคตก็มีอยู่ จึงต้อง
ฟังเอาว่า นั่นเป็นประมาณออกจากนิ้วพระหัตถ์แห่งพระศาสดา. แม้
อย่างนั้นก็ยังจะต้องหาทางคำนวณอีกว่าเท่าไร จักงดไว้กล่าวแผนก
หนึ่ง. ในสิกขาบทนี้ก็ดี ในสิกขาบทอื่นก็ดี จักกล่าวทับว่านิ้วสุคต
คืบสุคตไว้ที.
คราวนี้จักวินิจฉันความแห่งพากย์ว่า "หากภิกษุให้ทำกุฎีด้วย
การขอเอาเอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชนรอบมิได้" ต่อไป.
พากย์นี้บ่งความว่าเป็นสังฆาทิเสส แต่ไฉนในคัมภีร์วิภังค์แก้ว่า แต่
ละอย่าง ๆ เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ เข้าใจไม่ได้, ถ้าถูกตามนั้น พากย์นั้น
ในสิกขาบทกล่าวไว้ทำอะไร และบทปริกัปว่า "หรือ" ในพากย์
ต่อไปก็หาประโยชน์ไม่ได้ [เห็นชัดในสิกขาบทข้างหน้า อันมีเฉพาะ
บทเดียว]. ใคร่ครวญดู การแสดงที่เป็นธุระของสงฆ์ ๆ คงเลือก
ให้ถูกลักษณะ ภิกษุทำในที่ผิดลักษณะเช่นนั้น ก็คงทำในที่อื่นจากที่
อันสงฆ์แสดงให้. เมื่อถือเอาความเช่นนี้ เป็นอันได้ความแจ่มว่า
ภิกษุขอให้สงฆ์แสดงที่ให้แล้ว แต่ทำขึ้นในที่อื่น หรือไม่ขอให้สงฆ์
แสดงที่ให้เลย หรือทำในที่อันสงฆ์แสดงให้แล้ว แต่ทำกุฎีให้ล่วง
ประมาณ แต่ละอย่าง ๆ เป็นประโยคแห่งสังฆาทิเสส. ทำอย่างเดียว
ต้องอาบัติตัวเดียว ทำ ๒ อย่าง ต้องอาบัติ ๒ ตัว. อาบัติในบุพพปโยค
เป็นทุกกฏทุกประโยคที่ทำ จนถึงอีกประโยคหนึ่งจะเสด็จเป็นถุลลัจจัย
ทำเสร็จ เป็นสังฆาทิเสส.
อาบัติในสิกขาบทนี้ ต้องเพราะไม่ทำก็มี คือไม่ขอให้สงฆ์แสดง
ที่ให้ก่อน ต้องเพราะทำก็มี คือทำในที่อื่นจากที่อันสงฆ์แสดงให้ หรือ
ทำให้ล่วงประมาณ ต้องทั้งเพราะไม่ทำด้วย ทั้งเพราะทำด้วยก็มี คือ
ไม่ขอให้สงฆ์แสดงที่และทำให้ล่วงประมาณ. ขอสงฆ์แสดงที่ให้ก่อน
แล้วทำในที่นั้น ไม่ให้เกินประมาณ ไม่เป็นอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๗ ว่า อนึ่ง ภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่อันมีเจ้าของ
เฉพาะตนเอง พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่. ภิกษุเหล่านั้นพึง
แสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ. หาภิกษุให้ทำวิหารใหญ่
ในที่มีผู้จองไว้ หาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่
เป็นสังฆาทิเสส.
บทว่าวิหารนั้น ในบัดนี้เข้าในเป็นสถานกลางไปแล้ว เพราะ
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ทำไว้เป็นที่เหมือนพระศาสดายังเสด็จ
อยู่. บทว่าวิหารในคัมภีร์นั้น หมายเอาที่อยู่ของภิกษุ ต่างจาก
กุฎีอย่างไรไม่มีคำแสดงให้ชัด. ในคัมภีร์แก้บทวิหารว่าเป็นของโบก
เช่นเดียวกับแก้บทกุฎีในสิกขาบทก่อน. ความแปลกแห่งสิกขาบทนี้
ก็เพียงมีทายกเป็นเจ้าของ ไม่ต้องมีจำกัดประมาณ เพราะไม่ต้อง
ไปรบกวนขอต่อคนมาก. นอกจากนี้ พึงรู้โดยอธิบายในสิกขาบท
ก่อน.
สิกขาบทที่ ๘ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ขัดใจ มีโทสะไม่แช่มชื่น ตาม
กำจัด [คือโจท] ภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันหามูลมิได้ ด้วย
หมายว่า แม้ไฉน เราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ครั้น
สมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม
เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม แต่อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องหามูลมิได้ และ
ภิกษุยันอิงโทสะ เป็นสังฆาทิเสส.
ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในหนหลังว่า การทำคืนอาบัติ พระศาสดา
ตรัสสั่งให้เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้ต้องจะทำเองก่อน ถ้าไม่ทำ จึงเป็น
หน้าที่ของภิกษุอื่นจะพึงเตือนเฉพาะตนด้วยเห็นแก่เธอ ถ้ายังดื้อด้าน
แม้จะพึงโจทขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยเห็นแก่พระศาสนา ภิกษุใน
สิกขาบทนี้ ถือเอาประโยชน์จากพระพุทธานุญาตข้อนั้น และโจท
ภิกษุอันตนเกลียดชัง. อธิกรณ์ในที่นี้ ได้แก่อนุวาทาธิกรณ์ คือฟ้อง
หากันด้วยเรื่องละเมิดสิกขาบทต้องอาบัติ. อธิกรณ์หามูลมิได้นั้น เว้น
จากได้เห็น ได้ฟัง ได้รังเกียจ. เรื่องที่ได้เห็นเอง จัดว่ามีมูล เรื่อง
มีผู้บอก แต่เชื่อโดยเห็นว่ามีหลักฐาน ก็จัดว่ามีมูล เว้นจากเห็น
จากได้ยิน แต่กิริยาของเธอแสดงพิรุธให้เกิดรังเกียจ ก็จัดว่ามีมูล.
จำโจทนั้น พึงกำหนดรู้ด้วยเล่าถึงเรื่องที่ทำก็ดี ด้วยรุบุอาบัติก็ดี
ด้วยการห้ามสังวาสก็ดี ด้วยห้ามสามีจิกกรรมก็ดี แต่ชัดพอจะให้เข้าใจ
ว่าต้องอาบัติปาราชิก. ในคัมภีร์วิภังค์ กล่าวการโจททางวาจาต่อหน้า
ผู้ต้องโจท ตามธรรมเนียมที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้น พระอรรถกถาจารย์
ถือเอานัยนี้กระมัง จึงพิจารณาว่าโจทลับหลัง อาบัติยังไม่ถึงที่สุด.
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า โจทด้วยวาจาก็ดี โจทด้วยกาล เช่นเขียนหนังสือ
ยื่นก็ดี จัดว่าเป็นอันโจทเหมือนกัน และการโจทนั้นย่อมถึงที่สุด
ขณะเมื่อกล่าวหรือยื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่ เช่นนางเมตติยาภิกษุณี
ทูลโจทท่านพระทัพพมัลลบุตรแด่พระศาสดา ในนิทานแห่งสิกขาบท
นี้เอง. เหตุไฉนจึงเข้าใจอย่างนี้. เพราะโจทด้วยกายก็สมปรารถนา
ได้ หรือในบัดนี้ ยิ่งเป็นหลักฐานมากกว่าพูดด้วยปาก และเพราะ
โจทด้วยหมายจะให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ ต้องโจทต่อเจ้าหน้าที่. พูด
แก่เจ้าตัวเองก็ตาม บอกเล่าแก่ภิกษุอื่น เพื่อจะยังความให้กระฉ่อน
ก็ตาม อย่างนี้แล เรียกว่าโจทลับหลัง ยังไม่ถึงที่สุด. ข้อที่จำเลย
คือผู้ต้องโจท จะต้องรู้ความนั้น จะพึงต้องการในเวลาวินิจฉัยอธิกรณ์
เป็นองค์แห่งสัมมุขาวินัยต่างหาก.
อธิกรณ์ไม่มีมูล ภิกษุโจทเองก็ดี สั่งให้โจทก็ดี ซึ่งภิกษุ
ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส. ภิกษุผู้ว่าต่าง โจท
ตามประสงค์ของผู้สั่ง ก็ต้องสังฆาทิเสสด้วย. อธิกรณ์มีมูลอันเพลา
โจททำให้มั่นเข้า เช่นเป็นแต่เพียงได้รับบอกเล่า แต่โจทว่าได้เห็น
เอง เป็นสังฆาทิเสสเหมือนกัน. อธิกรณ์มีมูลอันมั่น โจททำให้เพลา
ลง เป็นอาบัติอะไรเล่า ? ในคัมภีร์วิภังค์ท่านว่า เป็นสังฆาทิเสส
เหมือนกัน. ข้าพเจ้าเข้าใจว่า มีไม่ได้ เพราะภิกษุผู้โจทก์สิ หมาย
จะให้จำเลยฉิบหาย เหตุไฉนจะทำคำโจทของตนให้เพลาลง อธิกรณ์
มีมูล เช่นได้เห็นจริง ๆ แต่คลับคล้ายคลับคลา สันนิษฐานลง
ไม่ถนัด โจททำให้มั่นเข้า ว่าได้เห็นโดยถนัดเช่นนี้ ท่านว่าเป็น
สังฆาทิเสสเหมือนกัน. ในคัมภีร์วิภังค์กล่าวว่า จำเลยเป็นผู้ไม่บริสุทธ์
คือต้องปาราชิกแล้ว แต่โจทก์สำคัญว่า เป็นผู้บริสุทธ์ และโจทด้วย
อธิกรณ์ที่ตนเข้าใจว่าไม่มีมูล ต้องสังฆาทิเสสเหมือนกัน. ท่าน
วินิจฉัยชอบ ความปฏิญาณว่าเป็นภิกษุแล ควรถือเป็นประมาณ.
อนึ่ง เป็นธรรมเนียมของภิกษุผู้จะโจทภิกษุอื่นต่อหน้า ต้องขอโอกาส
ต่อภิกษุนั้นก่อน ไม่ทำอย่างนั้น ต้องทุกกฏ ท่านจึงยกอาบัตินี้ขึ้น
วินิจฉัยด้วยในวิภังค์. ธรรมเนียมนี้ควรใช้ แม้เมื่อโจทในที่ลับหลัง
ควรบอกแก่ผู้ที่ตนจะโจทให้รู้ตัว แม้ทนายความในทุกวันนี้ เขา
ทำอย่างนี้ก็มี.
จำเลยเป็นผู้บริสุทธ์ก็ตาม ไม่เป็นผู้บริสุทธ์ก็ตาม เข้าในว่า
เป็นผู้ไม่บริสุทธ์ โจทตงตามอาการได้เห็น หรือได้ฟัง หรือรังเกียจ
สงสัย แม้หากอธิกรณ์นั้น ไม่เป็นจริง เช่นได้รับแจ้งความเท็จ ไม่
ต้องอาบัติ.
ในสิกขาบทนี้ ท่านหาได้กล่าวอาบัติเป็นอนุโลมไว้ไม่. ตาม
อนุโลม โจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส น่าจะเป็นถุลลัจจัย แต่มีสิกขาบท
ไว้แผนกหนึ่ง วางโทษเพียงปาจิตตีย์เท่านั้น. ข้อนี้เป็นเหตุหยั่ง
สันนิษฐานว่า อาบัติอนุโลมตั้งขึ้นทีหลัง.
สิกขาบทที่ ๙ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ขัดใจ มีโทสะไม่แช่มชื่น ถือ
เอาเอกเทสบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ
ตามกำจัดภิกษุ ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ด้วยหมายว่า แม้ไฉน
เราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้นอันผู้ใด
ผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม [คือเชื่อก็ตาม ไม่เชื่อ
ก็ตาม] แต่อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องอื่น เอกเทสบางแห่ง เธอถือเอาพอ
เป็นเลศ และภิกษุย่อมยันอิงโทสะ เป็นสังฆาทิเสส.
อธิกรณ์เป็นเรื่องอื่นนั้น เป็นเรื่องของผู้อื่นก็มี เป็นเรื่องของ
จำเลยเองก็มี ถือเอาเลศแห่งอธิกรณ์เป็นเรื่องของผู้อื่นนั้น เช่นได้เห็น
คนผิวขาวหรือคล้ำ มีรูปร่างสูงหรือต่ำเช่นจำเลย ทำการเช่นจะนำ
มาโจทได้ ภิกษุอ้างการที่ได้เห็นนั้นว่า ได้เห็นคนมีผิวอย่างนั้นก็ดู
ว่ามีสัณฐานอย่างนั้นก็ดี ทำอย่างนั้น ๆ คลับคล้ายคลับคลา แต่
เข้าใจว่าจำเลย และโจทด้วยได้เห็นและสงสัย. อีกอย่างหนึ่ง เช่น
เจ้าของเรื่องมีชื่อเหมือนกันเข้า ได้ฟังคำบอกเล่าว่า คนชื่อเดียวกับ
จำเลยทำอย่างนั้น ๆ เก็บมาโจทจำเลย ด้วยได้ฟังและสงสัย. ถือเอา
เลศแห่งอธิกรณ์เป็นเรื่องของจำเลยเองนั้น เช่นรู้ว่าจำเลยประพฤติล่วง
สิขาบทบางข้อ แต่ไม่ถึงปาราชิก โจทให้แรงถึงปาราชิก. ความ
นอกจากนี้เหมือนในสิกขาบทก่อน.
สิขาบที่ ๑๐ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียง หรือถือเอาอธิกรณ์ [คือเรื่อง] อันเป็นเหตุแตกกัน
ยกย่อมยันอยู่. ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
อย่าได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอา
อธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วย
สงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน
มีอุทเทสเดียวกัน [คือฟังพระปาติโมกข์ร่วมกัน] ย่อมอยู่ผาสุก.
และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องยันอยู่
อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส คือ
ประกาศห้าม กว่าจะครบ ๓ จบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอ
ถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครบ ๓ จบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้
อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
สงฆ์ในที่นี้ หมายเอาภิกษุทั้งหมู่. คำว่า พร้อมเพรียงนั้น คือ
มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน. คำว่า ตะเกียกตะกายเพื่อทำลาย
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงนั้น คือขวนขวายเพื่อจะให้แตกเป็นก๊ก จนถึงมี
สังวาสต่าง คือไม่ร่วมอุโบสถสังฆกรรม. อธิกรณ์เป็นเหตุแตกกันนั้น
คือเถียงกันว่า นั่นธรรม นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นวินัย นั่นไม่ใช่วินัย
เป็นต้น. ข้อนี้พึงเห็นตัวอย่างในเรื่องพระเทวทัตต์ผู้ขวนขวายเพื่อแยก
ออกจากสำนักพระศาสดา และตั้งสำนักใหม่.
เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้รู้เรื่อง จะพึงห้ามปราม รู้แล้วไม่ว่า ต้อง
ทุกกฏ ถ้าว่าแล้วไม่ฟัง พึงฉุดตัวมาท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวอีก ๓ ครั้ง
ถ้ายังขืนอยู่ พึงสวดสมนุภาส [คือประกาศห้าม] ด้วยอาณัติของสงฆ์
ด้วยญัตติจตุตถกรรม. ฝ่ายภิกษุผู้เป็นตัวการ เมื่อได้รับห้าม สละเสีย
ได้ในคราวแรก ๆ จัดว่าเป็นดี ถ้าไม่สละ ต้องทุกกฏทุกคราวจนจบ
ญัตติ คือคำเผดียงสงฆ์ จบอนุสาวนา คือคำหารือและตกลงของ
สงฆ์ ๒ คราวข้างต้น ต้องถุลลัจจัย จบอนุสาวนาคราวที่ ๓ อันเป็น
หนสุดท้าย ต้องสังฆาทิเสส. เมื่ออาบัติถึงที่สุดแล้ว อาบัติในบุพพปโยค
ย่อมระงับ.
ในกรรมเป็นธรรม คือทำถูกตามคลองธรรมและแบบแผน
เข้าใจถูกก็ดี แคลงอยู่ก็ดี เข้าใจผิดก็ดี ไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส
เหมือนกัน. เหตุนั้น อาบัติในสิกขาบทนี้ จึงเป็นอจิตตกะ. ในกรรม
ไม่เป็นธรรม ท่านว่าเป็นทุกกฏ. ข้อนี้ พึงเห็นในกรรมอันทำผิด
แบบแผน แต่ความมุ่งหมายคงถูกตามคลองธรรม.
สิขาบทที่ ๑๑ ว่า อนึ่ง มีภิกษุผู้ประพฤติตามผู้พูดเข้ากันของ
ภิกษุนั้นแล ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้
ว่า ขอท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวคำอะไร ๆ ต่อภิกษุนั่น ภิกษุนั่นกล่าว
ถูกธรรมด้วย ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วย ภิกษุนั่นถือเอาความพอใจ
และความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย เธอรู้ [ใจ] ของพวก
ข้าพเจ้ากล่าว คำที่เธอกล่าวนั้น ย่อมควร [คือถูกใจ] แม้แก่
พวกข้าพเจ้า. ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่น หาใช่ผู้กล่าวถูกธรรม
ไม่ด้วย ภิกษุนั่น หาใช่ผู้กล่าวถูกวินัยไม่ด้วย ความทำลายสงฆ์
อย่าได้ชอบแม้แก่พวกท่าน ขอ [ใจ] ของพวกท่านจงพร้อมเพรียง
ด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกันไม่วิวาทกัน
มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก. และภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลาย
ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอย่างนั้นเทียว ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุ
ทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย
หากเธอทั้งหลายถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบอยู่ สละกรรมนั้น
เสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอทั้งหลายไม่สละเสีย เป็น
สังฆาทิเสส.
บาลีแห่งสิกขาบทนี้ปรากฏว่า มีตกหล่นและเคลื่อนคลาดบาง
แห่ง เช่นคำว่า เธอรู้ของพวกข้าพเจ้า เพ่งความพอใจและความ
ชอบใจนั้น หรือตกบทอะไรสักอย่าง เช่นจิตหรืออัชฌาสัย ในที่นี้
ได้ลงบทว่า ใจ ไว้แทน เพื่อหมายความตลอดถึงความพอใจและ
ความชอบใจ. อีแห่งหนึ่ง คำว่า ขอของพวกท่าน จงพร้อมเพรียง
ด้วงสงฆ์ ตามรูปนี้ตกอะไรสักบทหนึ่ง ซึ่งเป็นเอกวจนะ คือเป็น
ของสิ่งเดียว ที่ลงไว้ในที่นี้ว่า ใจ เหมือนกัน. แต่เทียบพากย์เช่นนี้
ในสิกขาบทก่อน ต้องถือว่าบทคลาดเคลื่อน ความควรจะว่าขอพวก
ท่านทั้งหลายจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์.
อธิบาย ในสิกขาบทนี้พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน
มีข้อแปลกแต่เพียงว่า สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุเล่านั้นคราวละ ๒ รูป
๓ รูปได้ ห้ามมิให้สวดสมนุภาสในคราวเดียวยิ่งกว่านั้น. มีอธิบายว่า
ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปจัดว่าเป็นสงฆ์เหมือนกัน สงฆ์ฝ่ายหนึ่งจะทำกรรมแก่
สงฆ์อีกฝ่ายหนึ่ง ผิดแผนพระวินัย.
สิกขาบทที่ ๑๒ ว่า อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายาก
อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ในสิกขาบททั้งหลายอันเนื่อง
ในอุทเทส [คือพระปาติโมกข์] ทำตนให้เป็นผู้อันใคร ๆ ว่ากล่าว
ไม่ได้ ด้วยกล่าวโต้ว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอะไร ๆ ต่อเรา เป็น
คำดีก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม แม้เราก็จักไม่กล่าวอะไร ๆ ต่อพวกท่าน
เหมือนกัน เป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม ขอพวกท่านจงเว้นจาก
การว่ากล่าวเราเสีย, ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใคร ๆ ว่าไม่ได้ ขอท่านจงทำตนให้เป็น
ผู้อันเขาว่าได้แล แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้
ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าวท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้านั้น เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยว่ากล่าว
ซึ่งกันและกัน ด้วยเตือนกันและกัน ให้ออกจากอาบัติ. และภิกษุนั้น
อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น
อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ เพื่อให้สละกรรม
นั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย
สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทเสส.
สิกขาบทที่ ๑๓ ว่า อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดี นิคมก็ดี
แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม
ความประพฤติเลวทรามของเธอ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย
และสกุลทั้งหลายอันเธอประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยิน
อยู่ด้วย. ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้
ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม
ของท่าน เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย
อันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจง
หลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ [อีก] และภิกษุนั้น
อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ว่าภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า พวก
ภิกษุ ถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย
ถึงความกลัวด้วย ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูป เพราะ
อาบัติเช่นเดียวกัน. ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย หาได้ถึงความพอใจไม่ หา
ได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ หาได้ถึงความกลัวไม่
ท่านเองแล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ฯ ล ฯ
ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ [อีก] และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่
อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวด
สมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวด
สมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่น
เป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
คำว่า ประทุษร้ายสกุล เป็นโวหารอย่างหนึ่ง ใช้อยู่ในหมู่ภิกษุ
ไม่ได้หมายความว่า โกรธขึ้งจองล้างจองผลาญทำร้ายร่างกาย หรือ
ทำให้เสียทรัพย์ หมายความว่า เป็นผู้ประจบเขาด้วยกิริยาทำตนอย่าง
คฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้วยอาการเอาเปรียบโดยเชิงให้
สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก. ทำอย่างนี้เรียกว่าประทุษร้ายสกุล
เพราะทำให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส อันเป็นมูลเหตุแห่งกุศลสมบัติ.
จริงอยู่. ภิกษุทำเช่นนั้น แม้หากถูกใจของเขาบางเหล่า แต่เขาคง
ไม่นับถือโดยฐานเป็นพระ คงคบโดยฐานเป็นเพื่อนชั้นเลว. คำว่า
มีความประพฤติเลวทรามนั้น คือ ประพฤตินอกทางของสมณะ เป็น
ต้นว่าประพฤติสุงสิงกับหญิงสาวในสกุล เล่นการพนัน เล่นซุกซน
ต่าง ๆ เล่นตลกคะนอง ร้องรำทำเพลง. ภิกษุเช่นนี้มีพระพุทธา-
นุญาตไว้ ในสงฆ์ลงโทษทำปัพพาชนียกรรมขับเสียจากอาวาส ภิกษุ
ผู้นั้นต้องปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ ควรจะรู้สึกโทษตัว ประพฤติกลับ
ตัวเสียใหม่ เพื่อสงฆ์จะได้งดโทษ แต่ภิกษุในสิกขาบทนี้กลับว่าติเตียน
ภิกษุอื่นว่า ลุอำนาจแก่อคติ ๔ ที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ว่ากล่าว ตลอด
ถึงสวดสมนุภาสประกาศห้าม ถ้าไม่ฟัง ต้องสังฆาทิเสส.
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทนี้ ๙ สิกขาบทข้างต้น ให้ต้องอาบัติ
แต่แรกทำ เรียกปฐมาปัตติกะ, ๔ สิกขาบทข้างปลาย ให้ต้องอาบัติ
ต่อเมื่อสงฆ์สวดประกาศห้ามครบ ๓ ครั้ง เรียกยาวตติยกะ, ภิกษุล่วง
สิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
เป็นธรรมเนียมของภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส จะแจ้งความนั้น
แก่สงฆ์ อย่างต่ำเพียงจตุวรรค คือ ๔ รูป แล้วขอประพฤติวัตร
ชื่อมานัต เมื่อสงฆ์สวดอนุญาตให้แล้ว พึงประพฤติมานัตนั้นให้ถูก
ระเบียบ ๖ ราตรี เสร็จแล้วจึงมาขออัพภานต่อสงฆ์เฉพาะวีสติวรรค
คือ ๒๐ รูปอย่างเดียว สงฆ์สวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสสนั้นแล้ว
จึงกลับเป็นผู้บริสุทธ์ตามเดิม. แต่ถ้าภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสนั้นปิด
เสีย ไม่บอกแก่ภิกษุด้วยกัน ปล่อยให้วันล่วงไปเท่าใด ต้องประพฤติ
วัตรชื่อว่าปริวาสแถมก่อนสิ้นวันเท่านั้น เสร็จแล้วจึงประพฤติวัตร
ชื่อว่ามานัตนั้นต่อไปตามธรรมเนียม.
ภิกษุต้องอาบัติแล้ว แน่ใจว่าต้อง คิดจะปิด ไม่บอกภิกษุอื่น
ให้ล่วงวันไป ดังนี้ เป็นอันปิด. ถ้าไม่คิดจะปิด แต่มีเหตุขัดข้องที่จะ
บอกไม่ได้ คือถูกสงฆ์ลงโทษด้วยอุกเขปนียกรรม ไม่มีใครคบด้วย
หรือมีอันตราย เช่นทางที่จะไปมีสัตว์ร้าย ไปกลางคืนไม่ได้ หรือ
น้ำท่วมไม่มีเรือจะไป ขัดข้องเช่นนี้ ถึงข้ามวันไป ไม่เป็นอันปิด
แต่เมื่อรู้ว่าพ้นเหตุขัดข้องเหล่านั้นแล้ว พอจะบอกได้ ต้องรีบบอก.
อาบัติสังฆาทิเสสนี้ เป็นอาบัติหนักในฝ่ายอาบัติที่จะแก้ตัวได้ จึงเรียกว่า
ครุกาบัติ มีเรื่องหยาบคายอยู่มาก จึงเรียกทุฏฐุลลาบัติ ภิกษุผู้ต้อง
จะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม จึงเรียกว่า วุฏฐานคามินี.
อนิยต
ศัพท์นี้ แปลว่าไม่แน่ เป็นชื่อของวิติกกมะ คือความละเมิดพระบัญญัติ แปลว่าวีติกกมะที่ไม่แน่ เป็นชื่อของสิกขาบท แปลว่า วางอาบัติไว้ไม่แน่ มี ๒ สิกขาบท.
สิกขาบทที่ ๑ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ
คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว. อุบาสิกามี
วาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๓
ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี
ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี. ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๓
ประการ คือด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้น
พึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น. นี้ธรรมชื่ออนิยต.
ความแห่งสิกขาบทนี้มัวมาก จึงเข้าใจยากทีเดียว พระคันถ-
รจนาจารย์ ก็หาแก้ไว้ชัดเจนไม่ เป็นแต่แก้กล่าวโดยใจความว่า
อุบาสิกาพูดชี้วัตถุอย่างนี้หรืออย่างนั้นก็ตาม ให้ฟังเอาตามคำปฏิญญา
ของภิกษุเป็นใหญ่ เพราะบางทีความเห็นนั้น อาจจะคลาดเคลื่อนไป
ก็ได้, จริงอยู่ แม้คนมีวาจาที่เชื่อได้มาบอกว่า ได้เห็นเช่นนั้น ๆ
ไม่ได้ตั้งใจจะใส่ความเลย แต่เขาอาจจะสำคัญตัวผิดก็ได้ และยังไม่
พิจารณาไต่ถามภิกษุก่อน จะปรับโทษตามเขาพูดทีเดียว อย่างมีผู้มา
ฟ้องลูก มารดาตีให้ทีเดียว ไม่ต้องชำระ ดังนี้ ไม่เป็นธรรมสำหรับ
ผู้ใหญ่. แต่ถ้าหมายความอย่างนั้น คุณบทของอุบาสิกาว่า มีวาจาที่
เชื่อได้นั้น ก็หาประโยชน์มิได้ เพราะจะเอาตามปฏิญญาของภิกษุเป็น
ใหญ่ ก็ไม่ต้องมุ่งหลักฐานของคนพูด และการแสดงไว้ ๒ พากย์โดย
ปริกัปนั้น ก็หาประโยชน์มิได้เหมือนกัน. ข้าพเจ้าเข้าใจว่า คุณบทว่า
มีวาจาควรเชื่อได้นั้น กล่าวไว้สำหรับแสดงหลักฐานของผู้พูด จะให้
ฟังเอาเป็นจริงได้ อย่างมากดาได้รับฟ้อง แล้วตีเด็ก แต่ในชั้นหลัง
รู้สึกว่า เป็นธรรมไม่พอ จึงแก้ว่าอุบาสิกามีวาจาที่จะเชื่อได้นั้น เป็น
อริยสาวิกา ส่งขึ้นไปสูงลิบทีเดียว ข้อที่แสดงไว้ ๒ พากย์โดยปริกัป
นั้น พากย์ต้นแสดงความว่า อุบาสิกานั้น พูดไม่ยันลงไปชัดว่า ทำ
อย่างนั้น ๆ เป็นแต่พูดว่า คงทำวีติกกมะ ๓ อย่างนั้น อย่างใดอย่าง
หนึ่ง เช่นนี้ ได้อาจจะรู้ได้จากทางอื่น จึงต้องเอาตามปฏิญญาของ
ภิกษุ. ข้อนี้ควรถือเป็นแบบสำหรับตัดสินอธิกรณ์อันหาพยานมิได้.
พากย์หลังแสดงว่า ถ้าอุบาสิกานั้น พูดยันลงไปว่า ทำอย่างนั้น ๆ แม้
ภิกษุไม่รับ ท่านให้ปรับตามคำของเขา. ข้อนี้ ในชั้นหลัง ควรถือ
เป็นแบบสำหรับตัดสินอธกรณ์ ตามรูปความที่พิจารณา และควรฟังได้
อย่างไร ตามคำพยาน ในเมื่อจำเลยปฏิเสธข้อหา.
สิกขาบทที่ ๒ ว่า อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว
หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจา
ชั่วหยาบได้อยู่. แลภิกษุใดผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับด้วยมาตุคาม
ผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น. อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุ
กับมาตะคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่าง
หนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี. ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง
พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ คือด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์
บ้าง. อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด
ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น. แม้ธรรมนี้ก็ชื่ออนิยต.
ที่ลับมี ๒ ชนิด ที่มีวัตถุกำบัง แลเห็นไม่ได้ พอจะเสพเมถุน
ได้ หรือเรียกสั้นว่า ที่ลับตา ดังในสิกขาบทก่อน ๑ ที่แจ้งแต่ห่าง
พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามได้ หรือเรียกสั้นว่า ที่ลับหู ดังในสิกขาบทนี้ ๑
อิริยาบถนอน ท่านจัดเป็นประโยคแห่งอาบัติ ส่วนอิริยาบถยืน เป็น
ประโยคแห่งอนาบัติ. นอกจากนี้ พึงรู้โดยอธิบายดังกล่าวแล้วใน
สิกขาบทก่อน.
อนิยตสิกขาบทเหล่านี้ ควรถือเป็นแบบสำหรับอธิกรณ์อันเกิด
ขึ้น. ถ้ามีผู้กล่าวหาภิกษุ และข้อความที่กล่าวหานั้น ถ้าเป็นจริง มี
โทษโดยฐานละเมิดพระบัญญัติ อันให้ต้องอาบัตินั้น ๆ เช่นนี้ ควร
พิจารณา ถ้าไม่ถึงเป็นอาบัติ ไม่ควรพิจารณา. อธิกรณ์นั้นที่พิจารณา
อยู่ ถ้าไม่มีผู้อื่นเป็นพยาน เป็นการตัวต่อตัว ควรฟังเอาปฏิญญาของ
ภิกษุ. ถ้ามีพยานอื่นเป็นหลักฐาน โดยทางพิจารณาถือว่าฟังได้ แม้
จำเลยปฏิเสธ ก็ปรับอาบัติได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น