กัณฑ์ที่ ๙
อธิกรณสมถะ
ศัพท์นี้ เป็นชื่อแห่งสิกขาบทหรือแห่งธรรม แปลว่า สำหรับ
ระงับอธิกรณ์ มี ๗ ประการ. พึงรู้อธิกรณ์ก่อน.
เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ เรียกว่าอธิกรณ์. ท่านแจก
ประเภทเป็น ๔ คือ :- วิวาท ได้แก่การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย
เรียกวิวาทาธิกรณ์ นี้จะต้องได้รับชี้ขาดว่าถูกว่าผิด. ความโจทหากัน
ด้วยอาบัติ เรียกอนุวาทาธิกรณ์ นี้จะต้องได้รับวินิจฉัยว่าจริงหรือไม่
จริง. กิริยาที่ต้องอาบัติหรือถูกปรับอาบัติ เรียกอาปัตตาธิกรณ์ นี้จะ
ต้องทำคืน คือทำให้พ้นโทษ. กิจธุระที่สงฆ์จะทำเช่นให้อุปสมบท
เรียกกิจจาธิกรณ์ นี้จะต้องทำให้สำเร็จ.
อันพระธรรมวินัยนั้น เดิมก็เป็นแต่จำทรงกันมา ทั้งยังต้อง
การความอธิบายมาติกาคือภาษิตอันเป็นกระทู้ เป็นฐานะอยู่ ที่ภิกษุ
ทั้งหลายจะปรารภพระธรรมวินัย แล้วมีความเห็นแผกกันและเกิดเถียง
กันขึ้น อย่าว่าแต่ในกาลไกลเลย ในบัดนี้เอง ก็ยังมีปัญหาปรารภ
กฎหมายบ้านเมือง อันนักกฎหมายเข้าใจต่างกันได้เหมือนกัน. นี้เป็น
ทางเกิดแห่งวิวาทาธิกรณ์. เมื่อวิวาทาธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ควรได้รับ
ความชี้ขาดของท่านผู้รู้ว่า อย่างไรถูก อย่างไรผิด เพื่อวางไว้เป็น
แบบแผน ไม่เช่นนั้น ความเข้าใจเก่งแย่งก็จะมีมากขึ้นทุกที จนไม่มี
หลักว่าอย่างไรเป็นแน่ มีตัวอย่างครั้งในอโศกรัชกาล อันพระธรรม-
วินัยจะรุ่งเรืองไปได้นาน ก็เพราะมีระเบียบควบคุมไว้ ดังท่านเปรียบ
ด้วยด้าย ยึดดอกไม่ที่ร้อยไว้ไม่ให้กระจัดกระจายฉะนั้น. จึงจำเป็นจะ
ต้องร่วมกันในแบแผนอันเดียว.
อนึ่ง พระธรรมวินัยจะรุ่งเรืองอยู่ได้นาน ก็เพราะพวกภิกษุ
ประพฤติตามโดยเอื้อเฟื้อ ถ้ามีพวกอลัชชี ไม่มีอาย ใจบาป ลามก
เข้ามาปนอยู่ พวกนั้นย่อมทำให้เศร้าหมอง จึงเป็นหน้าที่ของภิกษุผู้
ประพฤติดี เมื่อรู้เห็นแล้วจะพึงกล่าวตักเตือนส่วนตน หรือแม้
โจทขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อแก้ความประพฤติเสีย หรือกำจัดคน
อลัชชีเสียจากสงฆ์ ข้อนี้ก็เป็นฐานะอยู่ว่า ภิกษุผู้ลามก จะได้ช่องหา
ความให้ภิกษุอื่นเหมือนกัน เช่นเมตติยภิกษุและภุมมชกภิกษุ ได้แต่ง
นางเมตติยาภิกษุณี ให้ทูลฟ้องใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรต่อพระ
ศาสดาฉะนั้น. นี้เป็นทางเกิดแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เมื่ออนุวาทาธิกรณ์
เกิดขึ้นแล้ว ควรได้รับวินิจฉัยของท่านผู้รู้ ว่าจริงหรือไม่จริง และทำ
ตามธรรม ไม่เช่นนั้น ความรังเกียจจะพึงเป็นไปในสงฆ์ เป็นเหตุ
แตกร้าวไม่ปรองดอง. เมื่อท่านผู้รู้ได้วินิจฉันเด็ดขาดแล้ว ภิกษุ
ทั้งหลายควรฟังตาม จะเอาตามความเห็นของตนไม่ได้ เพราะตนเนื่อง
ในสามัคคี ไม่เช่นนั้น ก็ไม่มีอำนาจอื่นจะวินิจฉัยได้.
อนึ่ง พระธรรมวินัยจะรุ่งเรืองอยู่ได้นาน ก็เพราะมีภิกษุ
ปฏิบัติชอบดังกล่าวแล้วในหนหลัง พระศาสดาจึงทรงตั้งสิกขาบท
เป็นเครื่องนำความประพฤติ มีปรับอาบัติแต่ภิกษุผู้ละเมิด นี้เป็นทาง
เกิดแห่งอาปัตตาธิกรณ์. อาปัตตาธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องทำคืน
ตามวิธีอันสำเร็จด้วยสงฆ์ หรือด้วยบุคคล ไม่เช่นนั้น สิกขาบทก็ไม่
สำเร็จประโยชน์ มีไว้ก็เหมือนไม่มี ทุกรูปจึงควรจะยอมทำคืน
เมื่อต้องอาบัติเข้าแล้ว.
อนึ่ง พระศาสดา มีพระพุทธประสงค์จะทรงมอบการปกครอง
คณะไว้แก่สงฆ์ ไม่ปล่อยให้บุคคลเป็นอิสระ จึงทรงพระอนุญาต
ให้สงฆ์เป็นผู้ทำกิจนั้น ๆ อันเนื่องด้วยการปกครองคณะ เป็นต้นว่า
รับคนอุปสมบท ดังกล่าวแล้วในเรื่องอุปสัมปทา นี้เป็นทางเกิดแห่ง
กิจจาธิกรณ์. กิจจาธิกรณ์อันเกิดขึ้นแล้ว จะต้องทำให้สำเร็จ ไม่
เช่นนั้น การงานก็ไม่เป็นไปโดยสะดวก จะอยู่เฉย ๆ ด้วยไม่ทำอะไร
เป็นไม่ได้ เพียงแต่ทำไม่ทันสมัย คณะยังเสื่อมทรามลงไปได้เหมือน
กัน ภิกษุทุกรูป ควรรู้สึกต่อหน้าอันนี้ แล้วร่วมใจกันทำกิจสงฆ์
ให้สำเร็จ.
เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงทรงวางข้อสำหรับระงับอธิกรณ์
ทั้ง ๔ อย่างนั้นไว้ เรียกว่าอธิกรณสมถะ มี ๗ ประการ คือ :-
ข้อ ๑ สัมมุขาวินัย แปลว่า ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า
ได้แก่กิริยาระงับอธิกรณ์ ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ในที่พร้อมหน้าบุคคล
ในที่พร้อมหน้าวัตถุ ในที่พร้อมหน้าธรรมวินัย.
พร้อมหน้าสงฆ์ คือภิกษุเข้าประชุมครบองค์กำหนดเป็นสงฆ์.
พร้อมหน้าบุคคลนั้น คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น อยู่พร้อมกัน.
พร้อมหน้าวัตถุนั้น ได้แก่ยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้นวินิจฉัย. พร้อมหน้า
ธรรมวินัยนั้น ได้แก่วินิจฉัยถูกโดยธรรมถูกโดยวินัย.
ข้อ ๒ สติวินัย แปลว่า ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก ได้แก่
กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่
เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยสีลวิบัติ.
ข้อ ๓ อมูฬหวินัย แปลว่า ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้า
แล้ว ได้แก่กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว
เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทเธอด้วยความละเมิดที่เธอทำในเวลา
เป็นบ้า.
ถ้าชื่อนี้ไม่มี อะ นำ คงแต่ว่า มูฬหวินัย แปลว่า ระเบียบที่
หยั่งว่าเป็นบ้า จะสมเหตุสมผล.
ข้อ ๔ ปฏิญญาตกรณะ แปลว่า ทำตามรับ ได้แก่ปรับอาบัติ
ตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์. การแสดงอาบัติ ก็จัดว่าทำ
ปฏิญญา ท่านนับเข้าในข้อนี้ด้วย.
ข้อ ๕ เยภุยยสิกา แปลว่า ตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็น
ประมาณ. วิธีนี้ สำหรับใช้ในเมื่อความเห็นของคนทั้งหลายเป็นอันมาก
แตกต่างกัน ให้ฟังเอาข้างมาก.
ข้อ ๖ ตัสสปาปิยสิกา แปลว่า กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด.
ในสมถขันธกะ คัมภีร์จูฬวรรค ท่านแสดงไว้ เป็นวิธีเพิ่มโทษ
แก่ภิกษุผู้ประพฤติผิดอีกโสดหนึ่งจากความผิดเดิม เช่นเดียวกับคน
ทำความผิดหลายครั้ง ต้องรับโทษเพิ่มตามกฎหมายของบ้านเมือง.
แต่วิธีนี้ ควรจะจักไว้ในกัมมขันธกะ. ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ได้แก่กิริยา
ที่ตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด แม้ไม่รับเป็นสัตย์ แต่พิจารณาสมจริงดังกล่าว
ไว้ในอนิยตสิกขาบทนั้น.
ข้อ ๗ ติณวัตถารกวินัย แปลว่า ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า
ได้แก่กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระสางหา
ความเดิม. วิธีนี้ สำหรับใช้ในเรื่องที่ยุ่งยาก และเป็นเรื่องสำคัญอัน
จะเป็นเครื่องกระเทือนทั่วไป เช่นเรื่องภิกษุชาวเมืองโกลัมพีแตกกัน
เป็นตัวอย่าง.
สัมมุขาวินัย เป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ได้ทุกอย่าง. สติวินัย
อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา ๓ นี้ เป็นเครื่องระงับเฉพาะอนุวาทา-
ธิกรณ์, ปฏิญญาตกรณะ ติณวัตถารกะ ท่านกล่าวว่า เป็นเครื่อง
ระงับเฉพาะอาปัตตาธิกรณ์ แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า ใช้เป็นเครื่องระงับ
อนุวาทาธิกรณ์ด้วยก็ได้. เยภุยยสิกา ใช้เป็นเครื่องระงับเฉพาะ
วิวาทาธิกรณ์.
สิกขาบทที่แสดงมานี้ มีจำนวน ๒๒๗ มีพระพุทธานุญาติให้
สวดในที่ชุมนุมสงฆ์ ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน รวมเข้าทั้งนั้น เรียกว่า
พระปาติโมกข์ ถ้าเพ่งบางประการ เรียกว่าสิกขาบทมาในพระปาติโมกข์
ควรถือเป็นหลักพระวินัย หากจะติดขัดเพราะกาลเทศะอย่างไร ก็ยัง
ควรถืออยู่โดยบรรยาย ไม่ควรเลิกเสียทีเดียว ไม่เช่นนั้น จักไม่มีอะไร
เป็นหลัง หมู่อันตั้งอยู่ด้วยไม่มีหลัก ย่อมไม่มั่นคงยั่งยืน ข้าพเจ้าจึงขอ
แนะนำไว้อย่างนี้.
กัณฑ์ที่ ๑๐
มาตรา
มีสิกขาบทบางข้อ เนื่องด้วยมาตราบางอย่าง รวมกันเข้าแล้ว
เนื่องด้วยมาตราเกือบทุกอย่าง สมควรจะกล่าวมาตราไว้ในที่นี้ด้วย.
กิริยากำหนดประมาณ เรียกมาตรนา แจกออกเป็นประเภทโดยเฉพาะ
ต้องการในที่นี้เป็น ๕ คือ มาตราเวลา ๑ มาตราวัด ๑ มาตรา
ดวง ๑ มาตราชั่ง ๑ มาตรารูปิยะ ๑. วิธีนับมาตราเหล่านี้ ในคัมภีร์
ทั้งหลายกล่าวแผกเพี้ยนกันก็มี ยิ่งแก้ละเอียดก็ยิ่งฟั่นเฝือ ข้าพเจ้าจัก
แสดงในที่นี้พอควรแก่ต้องการเท่านั้น.
มาตราเวลา
หลักแห่งมาตรา กำหนดเอาการเวียนแห่งพระอาทิตย์รอบโลก
ครั้งหนึ่ง เป็นวันหนึ่ง นับตั้งแต่เห็นแสงอาทิตย์เรื่อ ๆ ซึ่งเรียกว่า
อรุณ มีทั้งวิธีกระจายออก และวิธีผนวกเข้า จะกล่าวเฉพาะวิธีหลัง
กำหนดตามโคจรแห่งพระจันทร์ ดังนี้ :-
๑๕ วันบ้าง ๑๔ วันบ้าง เป็น ๑ ปักษ์
๒ ปักษ์ " ๑ เดือน
๔ เดือน " ๑ ฤดู
๓ ฤดู " ๑ ปี
พึงรู้อธิบายดังนี้ :-
พระจันทร์โคจรรอบโลก ๑ หนใน ๒๙ วันครึ่ง จะนับ ๒๙ วัน
เป็นเดือน ก็หย่อนไป จะนับ ๓๐ วันเป็นเดือน ก็ยิ่งไป จึงต้อง
นับ ๕๙ วันเป็น ๒ เดือน แล้วแบ่งเดือนหนึ่งให้มี ๓๐ วัน อีกเดือน
หนึ่งให้มี ๒๙ วัน เพราะเหตุนั้น ปักษ์หนึ่งจึงมี ๑๕ วันบ้าง ๑๔ วัน
บ้าง. ในชั่วพระจันทร์โคจรรอบโลกนั้น ถึงจักรราศีห่างจากพระอาทิตย์
ออกเพียงใด ก็ยิ่งสว่างขึ้นเพียงนั้น จนแลเห็นสว่างเต็มดวงเรียกว่า
พระจันทร์เพ็ญ วันที่พระจันทร์สว่างเต็มดวงนั้น เรียกว่าวันปุรณมี
หรือวันเพ็ญ ปักษ์ที่พระจันทร์โคจรห่างจากพระอาทิตย์นั้นเรียกศุกล
ปักษ์ แปลว่าซีกสว่าง. ตั้งแต่วันปุรณมีไป พระจันทร์โคจรเข้าหา
พระอาทิตย์ทุกที รัศมีค่อยมืดเข้า จนลับแลไม่เห็นดวงเรียกว่า พระ
จันทร์ดับ วันที่พระจันทร์ดับนั้น เรียกว่าวันอมาวสี แปลว่า ดิถีเป็นที่
อยู่ร่วมแห่งพระอาทิตย์และพรจันทร์ หรือเรียกว่า วันดับ ปักษ์ที่
พระจันทร์โคจรเข้าหาพระอาทิตย์นั้น เรียกกาฬปักษ์ แปลว่า ซีกมืด
๒ ปักษ์นั้น นับเป็น ๑ เดือน.
เดือนนั้น ตั้งชื่อตามดาวฤกษ์ ที่ว่าพระจันทร์โคจรถึงวันเพ็ญ
เวลาเที่ยงคืน ดังนี้ :-
มาคสิร มาส เดือน ๑ [อ้าย]
ปุสส " " ๒ [ยี่]
มาฆ " " ๓
ผัคคุณ " " ๔
จิตต " " ๕
เวสาข " " ๖
เชฏฐ มาส เดือน ๗
อาสาฬห " " ๘
สาวน " " ๙
ภัททปท " " ๑๐
อัสสยุช "หรือปฐมกัตติกมาส " ๑๑
กัตติก " " ๑๒.
เดือนอะไรมีวัน ๓๐ เดือนอะไรมีวัน ๒๙ และวันขาดตกอยู่
ในปักษ์อะไรนั้น ไม่ปรากฏในบาลี ครั้งอรรถกถา จัดเดือนขาด
มี ๒๙ วัน เดือนถ้วนมี ๓๐ วัน อย่างละ ๑ เดือน แต่ไม่ได้ความ
ชัดว่าวางสลับกัน เหมือนที่เคยใช้ในเมืองเรา ในฝ่ายจีนมีเดือนขาด
เดือนถ้วนเหมือนกัน แต่ไม่วางสลับ เป็นแต่ปีหนึ่งคงมีเดือนขาด
๖ เดือนเท่ากัน.
ครั้งพุทธกาล หรือครั้งรจนาพระบาลี นับกาฬปักษ์เป็นต้นเดือน
ศุกลปักษ์เป็นปลายเดือน ตลอดมาถึงพุทธศก ๑,๒๐๐ ปีล่วงไปแล้ว
ดังปรากฏในระยะทางของภิกษุจีน ชื่อฮวนฉ่างผู้ไปชมพูทวีป คงเปลี่ยน
นับข้างขึ้นเป็นต้นเดือน เมื่อโหราศาสตร์เจริญขึ้น. ในประเทศเรา
นับข้างขึ้นเป็นต้นเดือน วันจึงล้ากว่ายุคบาลีปักษ์หนึ่ง เช่นขึ้นเดือนอ้าย
ของเรา เป็นเดือนมาคสิระมาได้ปักษ์หนึ่งแล้ว. วันขาดน่าจะเห็นว่า
ตกในปักษ์ปลายเดือน แต่ในบาลีกล่าววันปวารณาไว้ทั้งวันที่ ๑๔
ทั้งวันที่ ๑๕ ถ้าวางเดือนขาดเดือนถ้วนสลับกันอย่างใช้ในเมืองเรา,
อย่างก่อน วันปวารณาคงมีแต่วันที่ ๑๔ อย่างหลังคงมีแต่ในวันที่ ๑๕
บางทีการนับปักษ์จะมีวิธีอย่างดื่นกระมัง เช่นวางเดือนขาดไม่สลับกับ
เดือนถ้วน หรือเพ่งวันปวารณาที่ชัดลากออกไปอีกปักษ์หนึ่งด้วย เช่น
ในแรมเดือน ๑๑ ตามอย่างใช้ในเมืองเรา วันปวารณานั้นเป็น
วันที่ ๑๔.
ฤดู ๓ มีชื่ออย่างนี้ :-
๑. เหมันตฤดู ฤดูหนาว ตั้งต้นแต่เดือนมาคสิระ [แรม ๑ ค่ำ
เดือน ๑๒ ของเรา].
๒. คิมหฤดู ฤดูร้อน ตั้งต้นแต่เดือนจิตตะ [แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔
ของเรา].
๓. วัสสานฤดู ฤดูฝน ตั้งต้นแต่เดือนสาวนะ [แรม ๑ ค่ำ
เดือน ๘ ของเรา].
ขึ้นต้นปี เมื่อถึงเดือนมาคสิระต้นฤดูหนาว. ไม่ได้นับศก เป็น
แต่สังเกตฤดูฝน เช่นอุปสมบท ล่วงฤดูฝนได้เท่าใด ก็นับว่าได้เท่านั้น
ฝน คือ พรรษา.
นับกาลตามลำพังจันทรคติไม่ได เพราะความเป็นไปแห่งธรรมดา
เช่นฝนชุก แห้งผาก ผลไม้เผล็ด อิงสุริยคติทั้งนั้น ถ้านับตาม
จันทรคติเสมอไป ฝนตกก็ดี วางฝนก็ดี ผลไม้เผล็ดก็ดี ย่อมจะโย้
ไม่ตรงฤดู เพราะฉะนั้น จึงต้องนับจันทรคติให้อิงสุริยคติด้วย.
พระจันทร์โคจรได้ ๑๒ รอบ จัดว่าปี ๑ คือ ๑๒ เดือน ได้วัน
๓๕๔ วัน พระอาทิตย์โคจร ๑ รอบ จัดว่าปี ๑ ได้วัน ๓๖๕ วัน
๖ นาฬิกาเศษ ผิดกัน ๑๑ วันเศษ ๓ ปีเหลื่อมกันกว่าเดือน เพื่อจะ
ไม่ให้เคลื่อนคลาดกันมากไป จึงต้องเติมเดือนพระจันทร์ขึ้น ๑ เดือน
ในปีที่ ๓ บ้าง ที่ ๒ บ้าง รวมเป็น ๑๓ เดือน เดือนที่เติมขึ้นนี้เรียก
อธิมาส ในรอบหนึ่ง คือ ๑๙ ปี คงเติมอธิกมาส ๗ ครั้ง. ข้อนี้มี
มาแล้วครั้งพุทธกาล ที่ทรงพระอนุญาตให้เลื่อนวันเข้าพรรษาออกไป
อีกเดือนหนึ่ง อนุมัติตามจารีตในกรุงราชคฤห์ อธิกมาสนั้นเพิ่มใน
เดือนที่เศษวันครบเหมือนอย่างจีน หรือเพิ่มที่ท้ายฤดูร้อนเสมอไป
เหมือนอย่างในประเทศเรา ไม่ปรากฏ. มาตรานับเวลาเนื่องในสิกขาบท
มีนัยดังนี้.
มาตราวัด
นี้สำหรับกำหนดรู้ระยะ คือ ห่าง ชิด สูง ต่ำ ยาว สั้น กว้าง
แคบ เข้าใจว่า เดิมทีคงใช้นิ้วเป็นหลัก ในวิธีกระจายออก จะเอา
อวัยวะเป็นหลักไม่ได้แล้ว จึงจับเอาเล็ดข้าวเป็นหลัก ในวิธีผนวก
คงใช้อวัยวะเป็นหลังต่อไป มีรูปดังต่อไปนี้ :-
๗ เล็ดข้าว เป็น ๑ นิ้ว
๑๒ นิ้ว " ๑ คืบ
๒ คืบ " ๑ ศอก
๔ ศอก " ๑ วา
๒๕ วา " ๑ อุสภะ
๘๐ อุสภะ " ๑ คาวุต
๔ คาวุต " ๑ โยชน์.
รูปนี้เข้ากันได้กับที่ใช้ในประเทศนี้ และสมกันกับที่ใช้ในชมพู-
ทวีป เมื่อพุทธศก ๑,๒๐๐ ล่วงไปแล้ว ครั้งภิกษุจีนชื่อฮวนฉ่างไป.
เล็ดข้าวนั้น ในอภิธานัปปทีปิกา เรียกว่าธัญญมาส ในระยะทางของ
พระฮวนฉ่าง เรียกว่ายวะ. ยวะข้างไทย เคยแปลกันมาว่าข้าวเหนียว
ได้เอาเล็ดข้างเหนียวทั้งเปลือก เรียงเทียบกับนิ้วช่างไม้ดู ข้าวเหนียวดำ
โตไปเพียง ๖ เล็ดก็ได้นิ้วหนึ่ง, ข้าวเหนียวขาว ๗ เล็ดพอดี แต่เศษของ
นิ้วแบ่ง ๘ สะดวกกว่า นิ้ว ๑ แบ่ง ๔ จะได้เรียกว่ากระเบียด ๆ ๑
แบ่งเป็น ๘ สะดวกกว่า นิ้ว ๑ แบ่ง ๔ จะได้เรียกว่ากระเบียด ๆ ๑
เช่นของเราก็ยิ่งดี. ตั้งแต่เล็ดข้าวจนถึงศอก เป็นแบบมาในคัมภีร์
อภิธานัปปทีปิกา ตั้งแต่ศอกขึ้นไปถึงโยชน์ เป็นแบบมาในคัมภีร์
สังขยาปกาสกะ ชักมาแสดงในบุพพสิกขาวัณณนา.
ในสิกขาบทกล่าวถึงประมาณวัด ที่วัดสั้น นับเป็นคืบ ๆ ไป
อย่างนับเป็นฟุต มีกำหนดด้วยสุคตประมาณทั้งนั้น ที่วัดยาวถึงโยชน์
หาได้บอกกำหนดด้วยสุคตประมาณไว้ไม่. ข้อนี้จักปรารภถึงข้างหน้า.
อีกอย่างหนึ่ง
๔ ศอก เป็น ๑ ธนู
๕๐๐ ธนู " ๑ โกสะ
๔ โกสะ " ๑ คาวุต
๔ คาวุต " ๑ โยชน์.
นี้เป็นแบบมาในคัมภีร์สังขยาปกาสกะเหมือนกัน ใช้เป็นเครื่อง
กำหนดระยะแห่งเสนาสนะป่า ซึ่งกล่าวถึงในบางสิกขาบท.
มาตราตวง
นี้ก็ออกจากมาตราวัดนั้นเอง มาตราวัด ใช้แต่เฉพาะด้านยาว
กับด้านกว้าง มาตราตวง ใช้ด้านตั้งหรือด้านสูงขึ้นอีก. มาตรานี้
สำหรับใช้กะประมาณของ เช่นน้ำหรือข้าว. เข้าใจว่า เดิมทีคงใช้
กะโหลกมะพร้าวเป็นหลัก ในวิธีกระจายออก คงเอากำมือ หรือฟายมือ
เป็นหลัก มีรูปดังนี้ :-
๕ มุฏฐิ [คือกำมือ] เป็น ๑ กุฑวะ [คือฟายมือ]
๒ กุฑวะ " ๑ ปัตถะ [คือกอบ]
๒ ปัตถะ " ๑ นาฬี [คือทะนาน]
๔ นาฬี " ๑ อาฬหก.
มาตรานี้ฟั่นเฝือมาก ปัตถะ กับ นาฬี เป็นของที่เข้าใจยาก ใน
ปกรณ์ทั้งหลายเข้าใจเป็นอันเดียวกันไปเสีย แต่ในคัมภีร์วิภังค์กล่าวถึง
ประมาณบาตรว่า บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร ๑ ปัตถะ
บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกแห่งข้าวสารนาฬีหนึ่ง บาตรขนาดใหญ่
จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่งอาฬหก นี้แปลว่าทวีคูณ ตามนัยนี้ ปัตถะ
กับนาฬี ต้องเป็นของต่างกัน ข้าพเจ้าจึงถือเอาปัตถะหนึ่งซึ่งว่า ๔ กุฑวะ
ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา เป็นนาฬีหนึ่ง แล่งครึ่งนาฬีหรือ ๒ กุฑวะ
เป็นปัตถะหนึ่ง เมื่อจัดเท่านี้ ก็เข้ากันได้หมด.
มาตราตวงเหนืออาฬหกขึ้นไปยังมีอีก แต่ออกชื่อในบาลีพระวินัย
เพียงเท่านั้น.
มาตราชั่ง
การตวงรู้ได้แต่ขนาด เช่นข้าวสารกับทราย ตวงด้วยทะนาน
กองเท่ากัน การกำหนดรู้หนักต้องใช้ชั่ง. มาตรานี้สำหรับกำหนด
ประมาณของที่มีขนาดไม่เท่ากัน เช่นโลหะต่าง ๆ ในบัดนี้สินค้าอื่น
ก็ใช้ชั่งเหมือนกัน น้ำหนักนั้น เข้าใจว่า จับเอามาสก คือเมล็ดถั่ว
หรือเมล็ดมะกล่ำตาช้างเป็นหลัก ในวิธีกระจาย เทียบมะกล่ำตาหนู
และข้าวเปลือกต่อไปอีก.
มาตราสำหรับใช้ชั่งของอื่นจากทองเงิน มีรูปดังนี้ :-
๔ เล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ กุญชา [กล่อม]
๒ กุญชา " ๑ มาสก [กล่ำ]
๕ มาสก " ๒ อักขะ
๘ อักขะ " ๑ ธรณะ
๑๐ ธรณะ " ๑ ปะละ
๑๐๐ ปะละ " ๑ ตุลา
๒๐ ตุลา " ๑ ภาระ.
มาตราสำหรับใช้ชั่งทองอันมิใช่รูปิยะ มีรูปดังนี้ :-
๔ เล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ กุญชา
๒ กุญชา " ๑ มาสก
๕ มาสก " ๒ อักขะ
๘ อักขะ " ๑ ธรณะ
๕ ธรณะ " ๑ สุวัณณะ
๕ สุวัณณะ เป็น ๑ นิกขะ.
เข้าใจว่า ทองเงินที่ทำเป็นลิ่ม กำหนดหนักนิกขะหนึ่ง. ข้อนี้
จึงทำให้ฉงนว่า นิกขะ ศัพท์นั้น เป็นชื่อน้ำหนักบ้าง แปลว่า ลิ่มบ้าง.
มาตรานี้ ไม่ยุ่งเหมือนมาตราอื่น เป็นแต่ต้องรู้จักแยกมาตรา
ชั่งของอื่น และมาตราชั่งทองเงินเท่านั้น แต่อย่างไรพระอาจารย์
ทั้งหลายจึงเข้าใจต่างกันไป ในตอนว่า ๕ มาสกเป็น ๒ อักขะ จะ
โทษว่าถาถาที่แสดงเรียงไว้ไม่แจ่มก็ไม่ได้ เผอิญเข้าใจต่างไปเอง
ความเข้าใจของข้าพเจ้า ถูกกับของท่านอาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์สังขยา-
ปกาสกะ.
มาตรารูปิยะ
นี้สำหรับกำหนดตีราคาสินค้า ใช้กหาปณะเป็นหลักมาตรา มี
แต่วิธีกระจาย ไม่มีวิธีผนวก มีรูปอย่างนี้ :-
๕ มาสก เป็น ๑ บาท
๔ บาท " ๑ กหาปณะ
พึงรู้อธิบายอย่างนี้ :-
กหาปณะ มีหลายอย่าง แต่กหาปณะในกรุงราชคฤห์ ครั้ง
ทรงบัญญัติอทินนาทานสิขาบทนั้น เรียกนีลกหาปณะ. ในคัมภีร์
ทั้งหลายกล่าวว่า ผสมทอง ๕ มาสก เงิน ๕ มาสก ทองแดง ๑๐
มาสก บ้างก็ว่าเจือเหล็ก ๑ เล็ดข้าว บ้างก็ไม่กล่าวถึง หลอมเข้า
ด้วยกัน ทำเป็นรูปแล้วตีตรา. พิจารณาตามนัยนี้ เนื้อนีลกหาปณะ
นั้นเป็นมาก น้ำหนักเท่าธรณะหนึ่ง. มาสกในมาตรานี้ ไม่เหมือน
มาสกในมาตราชั่งของ เป็นแต่สักว่าชื่อติดมาแต่การกำหนดน้ำหนัก
แห่งรูปิยะ. ในคัมภีร์วิภังค์กล่าวว่า ทำด้วยโลหะก็มี ด้วยไม้ก็มี ด้วย
ครั่งก็มี. ส่วนบาทนั้น ไม่ปรากฏว่ามีรูปทำด้วยอะไร ทำด้วยนาก
อย่างเดียวกับกหาปณะ หรือทำด้วยของอย่างอื่น หรือคงมีรูปแต่
กหาปณะกับมาสก รูปแห่งบาทไม่มี ยังไม่ได้ตาม. กหาปณะนน
ถ้าเป็นทองคำแท้ ก็คงเทียบราคากับน้ำหนักด้วยกันได้ แต่นี่เป็นนาก.
พระอาจารย์ทั้งหลาย เมื่อเทียบมาตราทองคำ จึงลดเสียครึ่งหนึ่ง.
และกล่าวไว้ว่า บาทหนึ่งนั้น ให้เทียบทองคำหนัก ๒๐ เล็ดข้าวเปลือก.
โดยนัยนี้ ๔ เล็ดข้าวเปลือกต่อ ๑ มาสก ให้ลงสันนิษฐานว่า ครั้ง
รจนาคัมภีร์เหล่านั้น ราคาทองแพงกว่าราคานากเท่าตัว.
แต่ข้าพเจ้ายังไม่แน่ใจว่า นีลกหาปณะทำด้วยนาก ยังไม่เคยรู้ว่า
ในประเทศไหน ครั้งโบราณก็ดี ในปัจจุบันก็ดี ได้ใช้นากทำเป็น
รูปิยะ มีแต่ใช้ทองล้วนเงินล้วน. ข้อที่ท่านให้เทียบคำบริสุทธ์ล้วน หนัก
๑๐ มาสก ซึ่งกระจายเป็น ๘๐ เล็ดข้าวเปลือก หรือรวมเข้าหนัก
กึ่งธรณะ จะเข้ารูปได้ดีทีเดียว จะต้องผสมเงินผสมทองแดงให้มีน้ำ
หนักขึ้นอีกเท่าหนึ่ง แต่เนื้อคลายลง เป็นประโยชน์อะไร.
มาตราเหล่านี้ แม้กำหนดเองสิ่งที่เป็นอยู่โดยธรรมดาเป็นหลัก
เช่นอวัยวะคนและพืช ก็ยังแผกกันได้เหมือนกัน เช่นคนในประเทศ
หนึ่งกับประเทศอื่น ขนาดก็ต่างกัน แม้พืชก็ต่างกัน เพราะเหตุนั้น
ท่านผู้ครองบ้านเมืองนั้น ๆ จึงต้องบัญญัติมาตราเหล่านั้นไว้เป็นหลัก
เพื่อคนทั้งหลายจะได้ถือตาม สำหรับตัดสินพิพาทกันด้วยเรื่องมาตรา
นี้เรียกว่ามาตราหลวง เช่นเราเรียกกันอยู่ว่า วาหลวง ทะนานหลวง
หรือทะนานตีตรา. อยู่ในประเทศใด ควรถือมาตราหลวงในประเทศ
นั้นเป็นหลัก.
มาตราพิเศษ
ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อกล่าวถึงมาตราวัด ถ้าวัดสั้น กำหนด
ให้ใช้สุคตประมาณ เช่นคืบสุคต นิ้วสุคต ข้าพเจ้าปรารถนาจะหาทาง
เข้าใจสุคตประมาณ ว่าเป็นประมาณพิเศษอย่างหนึ่ง เช่นเรียกว่า
นิ้วฟุตหรือนิ้วช่างไม้ เพราะคำว่าสุคต แม้เป็นคุณบทของพระศาสดา
มีอยู่ แต่ก็ไม่ใช่คำที่ท่านจุเข้าในพระโอฐของพระศาสดาให้เรียกพระ
องค์เอง และไม่ใช่คำที่สกวกเรียกพระศาสดาด้วย แต่หาไปก็ไม่สำเร็จ
เพราะในปาติโมกข์นั้นเอง มีคำว่า นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคต
จะเข้าในเป็นอย่างอื่นจากพระศาสดาไม่ได้. เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงลง
สันนิษฐานว่า พระศาสดาทรงกำหนดนิ้วพระหัตถ์ของพระองค์เอง
เป็นหลักมาตราวัดสำหรับใช้วัดสั้น เพราะว่า เมื่อกล่าวถึงโยชน์แล้ว
ไม่มีว่าโยชน์สุคต. ข้อนี้ดูก็กำหนดหลวม ๆ และกำหนดเพียงชั่วคราว
แต่เมื่อสิกขาบทเป็นมายืนยาว ประมาณนั้นกลับเป็นอันรู้ได้ยาก.
พระอรรถกถาจารย์แก้สุคตประมาณไว้ ในอรรถกถาแห่ง
สัญญาจิกสิกขาบทว่า คืบสุคตนั้น ๓ คืบแห่งคนปานกลางในครั้งนั้น
เป็นศอกคืบช่างไม้ โดยนัยนี้ ตามพระมหาบุรุษลักษณะ พระศาสดา
สูงเท่าวาของพระองค์ จึงเป็นสูง ๑๒ ศอกช่างไม้ สงกว่าคนสามัญ
๓ เท่า สุคตประมาณในสิกขาบท จึงเอา ๓ คูณวัฑฒกีประมาณ
คือคืบนิ้วช่างไม้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ส่วนทั้งหลายจึงใหญ่ไปหมด แต่ก็
ไม่ได้ยินว่าใครปรารภเรื่องนี้มาก่อน นอกจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เสด็จพระอุปัชฌายะของข้าพเจ้า. ท่าน
ทรงสันนิษฐานเห็นว่า พระศาสดาไม่ใหญ่โตกว่าคนในยุคเดียวกันนัก
ทรงชักเรื่องมาสาธกหลายเรื่อง แสดงในที่นี้แต่บางเรื่องพอเป็นอุทาหรณ์
ดังต่อไปนี้ :-
๑. พระนนท์พุทธอนุชา มีรูปร่างงดงาม คล้ายคลึงพระศาสดา
แต่ต่ำกว่า ๔ นิ้ว ท่านครองจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวร.
๒. ทรงเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกันได้กับพระมหากัสสป.
๓. พระเจ้าอชาตศัตรุเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาในคืนวันหนึ่ง พระ
องค์เสด็จนั่งอยู่ในหมู่ภิกษุสงฆ์ ท้าวเธอทรงกำหนดไม่ได้ ถึงกับ
ตรัสถามหมอชีวกโกมารภัจจ์.
๔. ปุกกุสาติกุลบุตร บวชอุทิศต่อพระองค์ มาพบกันเข้าใน
โรงช่างหม้อแห่งหนึ่ง ไม่รู้จักพระองค์ สำคัญว่าบรรพชิตสามัญ.
พระสันนิษฐานของท่านในเรื่องนี้ ไม่มีนักปราชญ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะ
ค้านได้. เมื่อตกลงว่า พระศาสดาไม่ใหญ่เกินไปเช่นนั้นแล้ว สุคต-
ประมาณก็จะต้องสั้นลงมา นี้ก็มีของที่จะสาธกให้เห็นชัด มีวัตร
ของภิกษุอยู่ว่า จะเก็บบาตรไว้ใต้เตียง ให้เอามือคลำก่อนแล้วจึง
ค่อยเก็บ นี้บ่งให้เห็นว่าเท้าเตียงสั้น ลำพังนั่งไม่แลเห็นใต้เตียง ถ้า
เท้าสูง จะต้องคลำทำอะไร มีอะไรที่จะโดนก็แลเห็น. อันจะกำหนด
สุคตประมาณมิใช่ง่าย ท่านจึงทรงจับเอาประมาณของคนในครั้งนั้น
โดยนัยว่าสูง ๔ ศอกเป็นหลัก แต่ทรงพระดำริว่า ข้อที่เอา ๓ คูณนั้น
พระอรรถกถาจารย์เข้าใจผิดไปกระมัง บางทีจะเป็นให้เอา ๓ หาร
จึงทรงลองคำนวณดู แบ่งคืบช่างไม้เป็น ๓ ส่วน คือส่วนละ ๔ นิ้ว
เพิ่มเข้าอีกส่วนหนึ่งเป็น ๔ ส่วน คือ ๑๖ นิ้ว สมมติว่าเป็นคืบ
สุคต ลดประมาณลงเพียงเท่านี้ เท้าเตียงก็ต่ำ สมที่จะต้องคลำ
จีวรก็ได้กำหนดที่ใช้กันมาว่า ยาว ๖ ศอก, กว้าง ๔ ศอก. ตามนัย
่นี้ ส่วนพระกายพระศาสดาควรจะสง ๑๒๘ นิ้ว หรือ ๕ ศอก ๘ นิ้ว
ช่างไม้ แต่ข้าพเจ้าไม่เข้าใจหรือได้เหตุไม่พอว่า ไฉนในสุคตวิทัตถิ-
ปกรณ์ที่ทรงรจนาไว้จึงถือเอา ๑๒๙ นิ้วเป็นเกณฑ์แห่งพระศาสดา.
วิธีคำนวณสุคตประมาณ ตามแบบซึ่งทรงสันนิษฐานลงนั้น
เอา ๑๒๙ คูณ ประมาณที่ว่าไว้ในสิกขาบท เอา ๙๖ หาร เลขลัพธ์
เป็นวัฑฒกีประมาณ เศษกระจายออกไปแล้วเอา ๙๖ นั้นหาร เลข
ลัพธ์เป็นเศษแห่งวัฑฒกีประมาณ แต่ในแบบนี้แบ่งกระเบียดหนึ่งเป็น
๔ อนุกระเบียด.
สุคตประมาณ ตามพระมติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม-
พระยาปวเรศวริยาลงกรณ์นั้น ตัดสั้นลงมาได้จากอรรถกถานัย ทั้ง
สมร่องรอย จัดว่าดีกว่า บางทีก่อนครั้งอรรถกถาขึ้นไปจะสันนิษฐาน
กันอย่างนี้ก็เป็นได้. แต่เทียบดูส่วนคนในยุคเดียวกัน ในประเทศ
เดียวกัน ยังโตกว่ากันนัก สูงกว่ากันเกือบศอกคืบ พระเจ้าอชาต-
ศัตรุควรจะกำหนดรู้ได้ หากว่าเป็นได้จริง ก็ไม่สูงเฉพาะพระศาสดา
พระมหากัสสปและพระนนท์ก็พลอยสูงไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ความ
สูงผิดกันมากนั้น จะถือเป็นอัศจรรย์ของพระศาสดาพระองค์เดียวไม่ได้
ต้องถือว่า เป็นความแผกกันของคนในประเทศนั้น ยังตกข้างใหญ่อยู่
นั่นเอง.
มีทางจะสันนิษฐานให้เตี้ยลงมาได้อย่างไรบ้าง ? เห็นอยู่ทางหนึ่ง
ว่า ข้อที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์ ในนิทานต้นบัญญัติห้ามทรงสุคต
จีวรว่า พระนนท์ต่ำกว่าพระศาสดา ๔ นิ้วนั้น พอจะจับเอาเป็น
เกณฑ์สำหรับอนุมานได้. ข้อว่าพระนนท์เป็นผู้มีรูปงดงามนั้น ถ้าสูง
เท่ากับคนสามัญ พระศาสดาก็สูงกว่าขนาด ๔ นิ้วเท่านั้น เพราะคำ
ว่า มีรูปร่างงดงาม หากจะสูงกว่าคนสามัญสักเล็กน้อยก็ยังได้ จะให้
สูงเท่าไร ? ๔ นิ้วของท่านเป็นเกณฑ์อยู่แล้ว โดยนัยนี้ พระศาสดา
ก็สูงกว่าขนาดเพียง ๘ นิ้ว ค่อยยังชั่วหน่อย คิด ๔ นิ้วกับ ๘ นิ้ว
ถัวกันเข้า ถือเอาประมาณกลางว่า ๖ นิ้ว แต่ก็ต้องยอมรับขนาด
คนที่ว่าสูง ๔ ศอก ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีทางสันนิษฐานต่อไป. เอา ๖
นิ้ว บวก ๙๖ นิ้ว ได้ ๑๐๒ นิ้ว หรือ ๔ ศอก ๖ นิ้ว เป็นส่วนสูง
แห่งพระศาสดา. วิธีคำนวณสุคตประมาณ ย่อเกณฑ์ลง ๑๗ เป็น
เกณฑ์พระสุคต สำหรับใช้คูณ, ๑๖ เป็นเกณฑ์วัฑฒกี สำหรับใช้
หาร ตามนัยนี้ ผิดกันไม่มากนัก เช่นเท้าเตียง ๘ นิ้วสุคต เป็น ๘
นิ้วกับ ๒ กระเบียดช่างไม้เท่านั้น.
อย่างไรก็ยังเป็นอันยากอยุนั่นเอง หรือจะเรียกว่าหมดทาง
สันนิษฐานแน่นอนก็ได้ ข้าพเจ้าขอแนะไว้ว่า สุคตประมาณตามแบบ
ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ที่รับ
รองทั่วกันแล้วในบัดนี้ แม้ผ่อนลงมาแล้ว ก็ยังยาวกว่าประมาณ
ที่ใช้อยู่ในประเทศเรา ณ บัดนี้ เพราะฉะนั้น จะใช้เครื่องวัดอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือไม้ฟุตอังกฤษ ไม้ศอกช่างไม้ วัดนิ้วเท่านิ้ว หรือ
ไม่เมตเตอร เทียบ ๒๗ เซ็นติเมตเตอร คือส่วนแบ่งจากร้อย ต่อ
คืบ ๑ คือ ๑๒ นิ้ว คงไม่เกินสุคตประมาณอยู่นั่นเอง ไม่ต้องรังเกียจ.
ถ้าตามแบบของข้าพเจ้า ไม้ฟุตใช้ไม่ได้ ยาวไป ใช้ได้แต่ไม้ศอก
ช่างไม้กับไม้เมตเตอร แต่ส่วนผิดกันไม่มากนัก ไม่น่าจะต้องคำนวณ
ให้ลำบาก ใช้วัดด้วยไม้สองอย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็แล้วกัน แต่ไม้
ศอกช่างไม้นั้น ก็ไม่มีหลักอีก ต่อไปข้างหน้า ถ้าบ้านเมืองจะบัญญัติ
หลักมาตราลงไปแน่นอน คงจะใช้แบบเมตเตอรที่ประเทศทั้งหลายใช้
กันอยู่มาก เขานิยมว่าเป็นแบบที่แน่นอน เพราะจับเอาระยะแห่งโลก
เป็นหลัก ทั้งเทียบกันได้กับศอกช่างไม้ของเรา เหลื่อมกันเพียงนิด
หน่อย เมตเตอร ๑ เทียบกับ ๒ ศอกได กึ่งเมตเตอร คือ ๕๐
เซ็นติเมตเตอร ต่อ ๑ ศอก ๒๕ เซ็นติเมตเตอร ต่อ ๑ คืบ จะคิด
เป็นวาเป็นเส้นก็ยังได้. ถ้ารู้จักใช้ไม้เมตเตอรเทียบให้ได้ประมาณตาม
ต้องการ เป็นสะดวกด้วยประการทั้งปวง.
นอกจากนี้ ยังมีมคธนาฬี คือทะนานที่ใช้อยู่ในแคว้นมคธ ข้อนี้
แก้กันยุ่งใหญ่. ศัพท์นี้ไม่ได้มาในมาติกาคือตัวสิกขาบท เป็นแต่กล่าวไว้
ในคัมภีร์วิภังค์ว่า บาตรขนาดกลางจุข้าวสุกนาฬีหนึ่ง ในอรรถกถา
แก้ว่า มคธนาฬี. ถ้าเพ่งความว่าคัมภีร์วิภังค์ได้รจนาในแคว้นนั้น
หรือเข้าใจให้สูงขึ้นไปกว่า สังคายนาทั้งหลายก็ได้ทำกันที่แคว้นนั้น
เช่นนี้ แก้ว่ามคธนาฬีก็ถูกทาง เพราะว่าเมื่อกล่าวถึงประมาณ ก็ควร
จะถือเอาประมาณที่ใช้เป็นหลักในบ้านเมือง. ข้าพเจ้าเห็นว่า ไม่พอที่
ข้าพเจ้าจะลำบากในเรื่องนี้ จักงดเสียไม่กล่าวถึง. ตามความสันนิษฐาน
ของพระอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นชาวสิงหล นาฬีครึ่งแห่งนาฬีสิงหล
เป็นมคธนาฬีหนึ่ง. เมื่อมคธนาฬีมีขนาดใหญ่ ใช้นาฬีที่กล่าวไว้ใน
มาตรา เป็นเครื่องตวงข้าวสารหุงเป็นข้าวสุก เพื่อกำหนดประมาณ
บาตรก็ควร.
คำชี้แจง
หลักการเขียนและวิธีใช้ศัพทานุกรมวินัยมุข
การเรียงลำดับคำ ได้เรียงตามแบบอย่างพจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่เคยใช้พจนานุกรม
มาแล้ว, แปลกแต่ที่ยกเอาสระมาขึ้นต้น, เพื่อให้สอดคล้องกับอักขรวิธี
ในภาษาบาลี, ฉะนั้น ในที่นี้พึงทราบวิธีเรียงและวิธีใช้โดยสังเขป
ดังต่อไปนี้ :-
๑. ตัวพยัญชนะนั้นลำดับไว้ตามตัวอักขระ แปลกแต่เอาสระ
คือ "อ" มาขึ้นต้นดังนี้ คือ อ ก ข ค ฆ ง ฯลฯ ส ห ฬ
ไม่ได้ลำดับตามเสียง.
๒. สระนั้นก็ไม่ได้ลำดับไว้ตามเสียง ลำดับไว้ตามรูปสระดังนี้
คือ ะ ั า ิ ี ึ ื ุ ู เ แ โ ใ ไ รูปสระที่ผสมกันหลายรูปก็จัด
เรียงตามลำดับรูปที่อยู่ก่อนและหลังตามลำดับข้างบนนี้เหมือนกัน ดัง
เช่นลำดับไว้ให้ดูดังต่อไปนี้ :-
ะ ิ
ั (กัน) ี
ั-ะ (ผัวะ) ึ
า ื
-ำ ุ
ู เ-ึ (สือ)
เ เ-ืะ (เกือะ)
เ-ะ (เกะ) แ
เ-า (เขา) แ-ะ (แพะ)
เ-าะ (เจาะ) โ
เ-ิ (เกิน) โ-ะ (โป๊ะ)
เ-ี (เสีย) ใ
เ-ีะ (เผียะ) ไ
ส่วนตัว "อ ว ย" นับลำดับอยู่ในพยัญชนะเสมอ.
๓. ในการเรียงนี้ ได้เลือกเอาเฉพาะศัพท์ที่มีเนื้อความยังไม่ชัด
และศัพท์ที่เป็นภาษาบาลี ซึ่งคิดว่าผู้เข้ามาใหม่ไม่เข้าใจ มาเรียงลำดับ
ไว้ บอกชื่อหน้าหนังสือกำกับไว้เพื่อจะให้รู้ว่า ศัพท์นั้นอยู่หน้าไหน มี
ความหมายอย่างไร เพราะเฉพาะศัพท์หนึ่ง ๆ ที่อยู่ในหน้าใด ๆ ก็แปล
เป็นทำนองอธิบายเฉพาะเนื้อความของศัพท์ที่อยู่ในหน้านั้น ๆ เป็น
ประมาณ.
๔. หากศัพท์นั้น ๆ มีอยู่ในหน้าอื่นนอกจากที่บอกกำกับไว้ ก็
ขอให้ผู้ศึกษาเปรียบเทียบเอาเอง ถ้าเนื้อความเข้ากันได้ ก็ถือเอา
คำแปลหรืออธิบายตามที่เขียนไว้นั้น เช่นคำว่า "จับพลัดจับผลู"
หน้า ๕ แปลว่า "ทำผิด ๆ ถูก ๆ, เป็นไปโดยมิได้ตั้งใจ" กับใน
หน้า ๓๘ ก็มีเนื้อความเท่ากัน จึงเข้ากันได้, ถ้าเนื้อความขัดกัน ก็ให้
หัดแปลยักย้ายความหมาย ถือเอาโดยอนุโลมที่แปลไว้นั้น เช่นศัพท์
ว่า "บริโภค" หน้า ๗๔ แปลว่า "ใช้สอย" ซึ่งหมายความว่า
นุ่งห่ม ส่วนในหน้า ๑๗๐ แปลว่า "ใช้สอย" เหมือนกัน แต่มิได้
หมายความว่านุ่งห่ม, ไปหมายเอาว่า "ดื่ม หรือ อาบ" เป็นต้น, ถ้า
ศัพท์ใดมีเนื้อความผิดกันมากยากที่จะเข้าใจได้ ก็อธิบายซ้ำไว้อีก เช่น
ศัพท์ว่า "ปริกัป" หน้า ๓๕ กับหน้า ๓๖, ศัพท์ว่า "เสพ"
หน้า ๑๓ กับหน้า ๑๗๓ เป็นต้น.
ดังนี้ถ้าผู้ศึกษาต้องการรู้ศัพท์ใด ก็ดึงเปิดดูตามลำดับพยัญชนะ
และสระตามที่กล่าวไว้แล้วในข้อ ๑-๒ นั่นแล.
ศัพทานุกรมนี้ ได้ขอให้พระมหาอุบล นนฺทโก ป. ธ. ๘ ช่วยอ่าน
เลือกศัพท์ในหนังสือวินัยมุข ยกร่างคำอธิบายขึ้นแล้วถวายพระเถระ
หลายรูปช่วยกันตรวจ ขอขอบใจท่านผู้ช่วยทำศัพทานุกรมนี้ไว้ในที่นี้
ด้วย และเป็นการทำครั้งแรก อาจจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมอีกในการทำ
ครั้งต่อไป.
กองอำนวยการ
มหามกุฎราชวิทยาลัย
กรกฎาคม ๒๕๐๘
ศัพทานุกรม
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
อ.
๘๙ อกาลจีวร จีวรอันเกิดขึ้นนอกเวลา คือ เลยเวลา
อานิสงส์พรรษาหรืออานิสงส์กฐิน.
๔๙ อกุศลธรรม ธรรมฝ่ายไม่ดี.
๑๓ อจิตตกะ ไม่มีจิตเจือ, ไม่แกล้ง, ไม่จงใจ.
๑๕๓ อเจลกวรรค หมวดแห่งสิกขาบทว่าด้วยเรื่องภิกษุให้ของ
เคี้ยวของฉันแก่ชีเปลือยเป็นต้น.
๑๑ อเตกิจฉา แก้ไขไม่ได้, ทำให้พ้นไม่ได้, ทำคืน
ไม่ได้, ทำให้บริสุทธิ์ไม่ได้.
๓๓ อทินนาทาน การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้.
๖๘ อธิกรณ์ คดี, เรื่องความที่ฟ้องกัน, เรื่องที่ต้องจัด
ต้องทำ.
๒๔ อธิกรณสมถะ ข้อสำหรับระงับอธิกรณ์.
๒๒ อธิจิตตสิกขา ศึกษาเรื่องจิตยิ่ง คือทำใจให้เป็นสมาธิ.
๒๒ อธิปัญญาสิกขา ศึกษาเรื่องปัญญายิ่ง คือพิจารณาสังขาร
ตามเป็นจริง.
๒๒ อธิสีลสิกขา ศึกษาเรื่องศึกยิ่ง คือสำรวมในพระ
ปาติโมกข์.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๑๐๕ อธิษฐาน ตั้งเอาไว้, ความตั้งใจปรารถนาให้เป็น
อย่างนั้นอย่างนี้ตามที่ต้องการ.
๘๑ อติเรกจีวร จีวรที่เหลือจากไตรจีวรที่อธิษฐาน.
๑๐๔ อติเรกบาตร บาตรที่เหลือจากบาตรอธิษฐาน.
๕๔ อนวเสส ไม่มีส่วนเหลือคืออาบัติที่ภิกษุต้องเข้าแล้ว
ไม่มีส่วนแห่งความเป็นสมณะเหลืออยู่เลย.
๕๑ อนาคามิมรรค มรรคเป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕.
๒๓ อนาคามี พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค-ผล ซึ่งจัด
เป็นอริยบุคคลคู่ที่ ๓.
๑๓๑ อนาจาร ความประพฤติไม่ดีไม่งาม.
๓๖ อนาญัตติกะ อาบัติที่ไม่ต้องเพราะสั่งให้ทำ.
๕๘ อนาบัติ ไม่เป็นอาบัติ, ไม่ต้องอาบัติ, ไม่มีโทษ.
๒๑๐ อนาปัตติวาร ตอนหรือคราวที่ว่าด้วยเรื่องอนาบัติ.
๑๘๗ อนามาส สิ่งที่ไม่ควรจับต้อง.
ค อนิยต ไม่แน่, โทษที่ยังไม่แน่, อาบัติที่ไม่แน่.
๑๐ อนุปสัมบัน ผู้ที่ไม่ได้อุปสมบท, คนอื่นนอกจากภิกษุ
และภิกษุณี. แม้ภิกษุณีก็จัดเป็นอนุสัมบัน
ของภิกษุ.
๗ อนุสาวนา ให้ได้ยินตาม, ประกาศให้ได้ยินทั่วกัน
(ดูญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา).
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๑๘๓ อปโลกน์ บอบเล่า, ประการ.
๒๒ อภิสมาจาร มรรยาทอันดี, ความประพฤติอันดี.
๕๑ อรหัตตมรรค มรรคเป็นเหตุละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐.
๒๓ อรหันต์ พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค - ผล ซึ่งจัดเป็น
พระอริยบุคคลคู่ที่ ๔.
๗๙ อริยสาวิกา สตรีผู้เป็นสาวิกา (ผู้ฟังคือศิษย์ของพระ
พุทธเจ้า) ซึ่งเป็นอริยะ ได้แก่สตรี ผู้ตั้งอยู่
ในโสดาปัตติมรรคเป็นต้น, และสตรีผู้ถือ
พระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะที่พึ่ง.
๑๗ อลัชชี ผู้ไม่ละอาย, ผู้ไม่กลัวอาบัติ.
๑๐ อวด แสดงให้รู้, ยกย่องต่อหน้าคน.
๓๒ อวหาร การลัก, การขโมย.
๓๑ อวิญญาณกะ ทรัพย์หรือสิ่งของที่ไม่มีวิญญาณ.
๓๑ อสังหาริมะ ทรัพย์หรือสิ่งของอันเคลื่อนที่ไม่ได้, ติดอยู่
กับที่.
๑๔๓ อังคาส ถวายอาหารพระ, เลี้ยงพระ.
๑๑๒ อัจเจกจีวร จีวรรีบร้อน คือผ้าจำนำพรรษา (วัสสาวาสกา)
ที่ทายกทายิการีบถวาย ก่อนออกพรรษา
ตั้งแต่ ๑ วัน ถึง ๑๐ วัน.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๑๘๒ อัชฌาจาร การละเมิดประเพณี, ความประพฤติชั่ว,
การล่วงมรรยาท.
๑๓๑ อัญญวาทกกรรม กรรมวาจาที่สงฆ์สวดประกาศในเมื่อภิกษุผู้
ประพฤติอนาจาร ถูกซักถามในท่ามกลาง
สงฆ์ แล้วเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน
เสีย.
๑๖ อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความเพียรทรมานตัวให้
ลำบาก
๓๗ อัตถสาธกะ ศัพท์นี้เป็นเชื่อของการสั่งให้ลักอย่างหนึ่งซึ่ง
แปลว่า ยังอรรถให้สำเร็จ, คือให้การลัก
สำเร็จ, สำเร็จเป็นการลัก.
๕๕ อัพโพหาริก กล่าวไม่ได้ว่ามี, ไม่ควรกล่าวอ้าง, มีเหมือน
ไม่มี.
๘๗ อัพภันดร ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง, ชื่อมาตราวัด
ในบาลี, ๑ อัพภันดร เท่ากับ ๗ วา.
๗๗ อัพภาน การสวดรับภิกษุต้องสังฆาทิเสส และได้ประ
พฤติมานัต (หรืออยู่ปริวาสด้วย) แล้วให้
กลับเป็นผู้บริสุทธ์ตามเดิม.
๑๔๐ อัสดงค์ พระอาทิตย์ตก, ค่ำแล้ว.
๓๖ อากร ค่าธรรมเนียมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากสิ่งที่
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
เกิดจากธรรมชาติ หรือสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อ
การค้า.
๒๐๒ อาการ กิริยา, ท่าทาง.
๗๒ อาณัตติ ข้อบังคับ, กฎ.
๓๐ อาทิกัมมิกะ ผู้ทำคนแรก, ผู้ก่อนเหตุให้ทรงบัญญัติ
สิกขาบท.
ง อานิสงส์ ผล, ประโยชน์, ผลดี.
๘ อาบัติ ความล่วงละเมิด, โทษ, โทษที่เกิดเพราะ
ความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม.
๙๗ อามิส เหยื่อ, เครื่องล่อ, ปัจจัย ๔.
๒๐๘ อาวุธ เครื่องประหารที่ไม่มีคม ใช้ในการป้องกัน
หรือต่อสู้.
๙๗ อาสนะ ที่นั่ง.
๑๙ อาสันทิ ม้าสี่เหลี่ยมนั่งได้คนเดียว.
๑๓๖ อาหัจจบาท เตียงที่มีเท้าที่ไม่ได้ตรึงให้แน่น.
๗๗ อุกเขปนียกรรม กรรมคือการยกเสียจากการสมโภค (คบหา)
กับสงฆ์, ตัดสิทธิ์ของภิกษุเสียชั่วคราวเพราะ
ไม่เห็นอาบัติ หรือเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป.
๑ อุปฤษฏ์ (-กฺริด) สูงสุด, อย่างสูง.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๑๐ อุตตริมนุสสธรรม ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ได้แก่ฌาน
(อุดตะริมะนุดสะทำ) วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล.
๑๒ อุทาหรณ์ ตัวอย่าง.
๑๐๒ อุบาสก ผู้นั่งใกล้, ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย,
ผู้ชายเป็นฆราวาส มีศรัทธาเลื่อมใส
ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ.
๖๓ อุปจาร ที่ใกล้, บริเวณรอบ ๆ .
๑ อุปสัมปทา การบวชเป็นภิกษุ.
๒๗ อุโปสถ การเข้าอยู่, การเข้าทำอุโบสถกรรมที่
สงฆ์ทำทุกกึ่งเดือน.
๑๓๘ อุภโต อุปสมฺปนฺนา สตรีผู้บวชแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (ภิกษุณี
ผู้ได้รับการอุปสมบทสมบูรณ์แล้ว).
๑๓๘ เอกโต อุปสมฺปนฺนา สตรีผู้บวชแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว (ภิกษุณี
ที่ได้รับการอุปสมบทยังไม่สมบูรณ์).
๒ภ เอกเทศ ส่วนหนึ่ง, เฉพาะอย่าง, บางส่วน,
บางอย่าง.
๓๙ เอกภัณฑปัญจกะ หมวด ๕ แห่งการลักมีของสิ่งเดียวเป็นที่
กำหนด คือ :- ๑. อาทิยนํ = โจทย์ (ตู่)
เอาของมีวิญญาณ คือทาสหรือสัตว์ของ
เลี้ยงของเขา, ๒. หรณํ = นำ (ลัก) เอา
ของมีวิญญาณนั้นไป, ๓. อวหรณํ = บิด
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
เพี้ยน (ฉ้อ) เอาของที่มีวิญญาณที่เขา
ฝากไว้, ๔. อิริยาปถวิโกปนํ = ทำ
อิริยาบถแห่งของมีวิญญาณนั้น ให้กำเริบ
(ไล่หรือชักชวน), ๕. €านา จาวนํ = ทำ
ของมีวิญญาณนั้นให้เคลื่อนจากที่ (แม้
ไม่นำไปอื่น).
๔๙ เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว, ความมีจิต
แน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว.
๒๐๖ โอน้ำ ภาชนะอย่างหนึ่งสำหรับใส่น้ำ คล้ายขัน
กลึงด้วยไม้บ้าง สานแล้วถมรับบ้าง.
๑๓ โอมสวาทสิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยคำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ
(โอมะสะวาด -) (ด่า) (สิกขาบทที่ ๒ แห่งมุสาวาทวรรค)
๑๓๘ โอวาทวรรค หมวดแห่งสิกขาบทว่า ด้วยการสอนภิกษุณี
เป็นต้น (ปาจิตติยวรรคที่ ๓).
ก.
๘๑ กฐิน สงฆ์กรรมอย่างหนึ่ง ทรงอนุญาตให้ทำ
ในเดือนท้ายฤดูฝน เกี่ยวกับการรับผ้ามา
ทำจีวร เปลี่ยนชุดเก่า (กฐิน) เป็นชื่อ
ของไม้สะดึงสำหรับขึงผ้าทำจีวร).
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๘๒ กฐินเดาะ กฐินสิ้นสุดด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. สิ้น
(หรือเดาะกฐิน) อาวาสปลิโพธ ได้แก่หมดความกังวลใน
อาวาส คือไปเสียโดยไม่คิดกลับ, ๒.สิ้น
จีวรปลิโพธ ได้แก่หมดความกังวลในจีวร
คือทำจีวรเสร็จแล้ว หรือทำค้างอยู่ แต่
เสียหายด้วยเหตุบางอย่าง หมดหวังว่าจะได้
ผ้ามาทำจีวรใหม่อีก, ครั้นหมดความกังวล
ทั้ง ๒ ประการแล้ว เรียกว่า "กฐินเดาะ"
ขาดสิทธิ์ที่จะถือเอาประโยชน์แห่งการได้
กรานกฐิน (ตามศัพท์คือรื้อไม่สะดึง).
๑๗๖ ก่นสิกขาบท ติเตียนสิกขาบท.
๗ กรรมวาจาวิบัติ คำสวดประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์ ไม่
สมบูรณ์, ไม่ถูก, ใช้ไม่ได้.
๗ กรรมวาจาสมบัติ คำสวดประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์ สม-
บูรณ์, ถูกต้อง, ใช้ได้.
๘๒ กรานกฐิน สงฆ์พร้อมในกันยกผ้ากฐินที่เกิดแก่สงฆ์ ใน
เดือนท้ายฤดูฝนให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุผู้
ได้รับเอาผ้านั้นไปทำจีวรครองผืนใดผืนหนึ่ง
ให้เสร็จในวันนั้นแล้ว มาบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้
ยกผ้านั้นให้เพื่ออนุโมทนา ภิกษุสงฆ์เหล่านั้น
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
อนุโมทนา. (ตามศัพท์คือ ลาด, ปู, ทาบ
ไม่สะดึง).
๒๐๘ กฤช เครื่องประหารชนิดหนึ่ง เป็นมีดคดไปคดมา
ปลายแหลม มีคม ๒ ข้าง, (พกกฤช = เหน็บ
กฤชไว้ตรงพก).
๔๐ กหาปณะ เป็นหลักมาตราเงินในอินเดียสมัยพุทธกาล มี
ราคา ๔ บาท (ครั้งนั้น) เท่ากับ ๑ กหาปณะ.
๕๗ กะเทย คนหรือสัตว์ที่ไม่ปรากฏว่าชายหรือหญิง.
(เป็นชายแท้ ๆ ก็มี แต่มีหนังหุ้มปุริสภาวะ
เสีย).
๑ กัณฑ์ เรื่อง, หมวด, ตอน. ส่วนหนึ่งของเรื่อง.
๑๐๒ กัปปิยะ สมควร.
๒๑๕ กัมมขันธกะ หมวดแห่งพระวินัย ว่าด้วยเรื่องการลงโทษ.
(มาในคัมภีร์จุลวรรค).
๔๘ กามฉันท์ ความพอใจในกามคุณ ๕ มีรูปเป็นต้น.
๑๖ กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันด้วยความสุข
ทางกามคุณ.
๒๙ กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องทางกาย, การเคล้าคลึง, จับ,
ลูบคลำด้วยกาย.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๒๑๙ กาฬปักษ์ ข้ามแรม, ๑๔ วันบ้าง ๑๕ วันบาง เป็น ๑
กาฬปักษ์.
๕๖ กำหนัด ยินดี, กระวนกระวายในกาม, คิดถึงด้วย
ความรักอิงกาม, อย่างทางกาม.
๑๘๗ กิจวัตร ข้อปฏิบัติที่ทำประจำ, กิจทางศาสนาที่ทำ
ประจำวัน, ข้อที่พระสงฆ์ทำประจำวัน.
๔๘ กิเลสกาม เครื่องเศร้าหมองใจที่ให้ใคร่คือระคะ, โลภะ,
อิจฉา ความอยากได้, อิสสา ความริษยา
หรือหึงหวง, อรติ ความไม่ยินดีด้วย, อสัน-
ตุฏฐิ ความไม่สันโดษ เป็นต้น.
๑๖๖ แกงได รอยกากบาทหรือขีดเขียน ซึ่งคนไม่รู้หนังสือ
ขีดลงไว้เป็นสำคัญ.
๙๘ โกสิยวรรค หมวดแห่งสิกขาบทว่าด้วยเรื่องสันถัตขนเจียม
เจือด้วยไหมเป็นต้น. (นิสสัคคิยปาจิตตีย์
วรรคที่ ๒).
ข.
๙๘ ของเจียม ขนแกะ, ขนสัตว์ชนิดหนึ่งในจำพวกกวาง.
๑๔๙ ของทำวินัยกรรม ของที่ทำให้ถูกตามวินัยนิยม.
๑๐๒ ของเป็นกัปปิยะ ของที่สมควรแก่สมณะ.
๘๒ เขตอานิสงส์กฐิน ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๒ ถึงกลางเดือน ๔.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๕ เข้ารีตเดียรถีย์ เข้าถือศาสนาอื่น, เข้าถึงลัทธิอื่น.
๑๗๗ ไขสือ รู้แล้วทำเป็นไม่รู้.
ค.
๙๒ คนปวารณา คนที่มอบตัวให้ใช้ หรือยอมให้ขอปัจจัย ๔
บางอย่าง หรือทุกอย่าง.
๑๘๑ คนสอดแนม คนลอบเข้าสืบความลับหรือเหตุลับ.
๗๗ ครุกาบัติ โทษทางพระวินัยอย่างหนัก.
๙๖ คฤหบดี พ่อเจ้าเรือน.
๓ คฤหบดี ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช.
ค คัมภีร์ขันธกะ ตำรวจพระวินัย ในวินัยปิฎกนอกพระปาติ-
โมกข์ ที่เรียกว่าอภิสมาจาริกาสิกขา จัด
เป็นหมวด ๆ ทั้งในมหาวรรคและจุลวรรค.
๒๔ คัมภีร์จูลวรรค ตำราพระวินัย ในวินัยปิฎกนอกพระปาติ-
โมกข์ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ .
๒๔ คัมภีร์วิภังค์ ตำราพระวินัยในวินัยปิฎก ว่าด้วยสิกขาบท
ที่มาในพระปกติโมกข์ของภิกษุและภิกษุณี.
๓๙ คัมภีร์วิสุทธิมรรค ตำรา - ปกรณ์วิเสส ชื่อวิสุทธิมรรค เพราะ
ท่านแต่งอธิบายธรรม อันเป็นทางแห่งความ
บริสุทธิ์ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยละเอียด
และเหมาะแก่การปฏิบัติ.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
จ.
๙๙ จตุกกนิสสัคคิย- อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ที่ภิกษุต้องเพราะทำ
ปาจิตตีย์ สันถัตผิดวินัยด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ
๑. ทำเองตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ
๒. ใช้ให้ผู้อื่นทำตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ
๓. ตนทำค้างไว้ ใช้ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ
๔. ใช้ผู้อื่นให้ทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ.
๖๑ จตุตถปาราชิก ปาราชิกข้อที่ ๔.
๗๗ จตุวรรค หมู่แห่งภิกษุ ๔ รูป.
๓๘ จอด หยุดไว้, วางไว้, อธิบายไว้, ปรับอาบัติ.
๒๑๘ จักรราศี อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ ที่ดาว
นพเคราะห์เดิน.
๕ จับพลัดจับผลู ทำผิด ๆ ถูก ๆ, เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ.
๑๘๖ จาริตตวรรค อเจลกวรรค. (วรรคที่ ๕ แห่งปาจิตตีย์).
๑๘๘ จาริตตวรรค จาริตตสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค.
๑๐๒ จิตตุปบาท ความเกิดขึ้นแห่งจิตคิดล่วงสิกขาบท.
๕๖ จิตแปรปรวน จิตเปลี่ยนจากปกติไปตามอำนาจราคะ.
๘๑ จีวรกาล คราวถวายจีวร งวดที่ ๑ ตั้งแต่แรมค่ำ ๑
เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒๓. งวดที่ ๒ ตั้งแต่
แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๒ ถึงกลางเดือน ๔.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๘๑ จีวรทานสมัย ฤดูถวายจีวร (เหมือนจีวรกาล).
๘๑ จีวรวรรค หมวดแห่งสิกขาบทที่ว่าด้วยเรื่องจีวร.
๑๘๙ จึงแสดงอาบัติได้ (นวโกวาทว่า "จึงแสดงอาบัติตก") จึง
กล่าวสารภาพโทษเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แล้ว
พ้นจากอาบัติได้.
๖๗ โจท ฟ้อง (กริยา). โจทน์ โจทย์ การฟ้อง
(นาม), โจทก์ ผู้ฟ้อง (เจ้าทุกข์ , คุณนาม).
๑๐๐ ฉฬาภิกชาติ ชาติเฉพาะบุคคล ๖ จำพวก คือ:-
๑. คนมีอภิชาติดำ (ตระกูลต่ำ) ทำ
กรรมดำ (ชั่ว)
๒. คนมีอภิชาติดำ (ตระกูลต่ำ) ทำ
กรรมขาว (ดี)
๓. คนมีอภิชาติดำ (ตะกูลต่ำ) ทำ
พระนิพพานให้เกิด (ดีที่สุด)
๔. คนมีอภิชาติขาว (ตระกูลสูง) ทำ
กรรมดำ (ชั่ว)
๕. คนมีอภิชาติขาว (ตระกุลสูง) ทำ
กรรมขาว (ดี)
๖. คนมีอภิชาติขาว (ตระกูลสูง) ทำ
พระนิพพานให้เกิด (ดีที่สุด).
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๖ ฉันทะ ความพอใจ คือยอมให้สงฆ์ทำสังฆกรรมด้วย
ความพอใจ.
๑๘๙ เฉทนกปาจิตติยะ อาบัติปาจิตตีย์ที่ภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องตัด
วัตถุอันเป็นเหตุต้องนั้น ให้ได้ประมาณ
เสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก.
ช.
๕๖ ช้อง โดยทั่วไป หมายเอาผมสำหรับเสริมผมให้
ใหญ่และยาว แต่ในวินัยมุขนี้หมายเอาผม
คือ :- ผมล้วน ๆ ก็ดี เจือด้วยวัตถุอื่นมี
ด้ายและดอกไม้เป็นต้นก็ดี เขาจะรัดไว้ก็ตาม
ไม่รัดก็ตาม ชื่อว่า "ช้อง" ทั้งนั้น, แม้
ขนก็สงเคราะห์เข้าในช้องด้วย.
๖๒ ชาน พื้นที่อกกุฏิเลยชายคาออกไป.
๑๐๑ ชีออก ทำให้กระจายออก
๑๓๗ เช็ดหน้า การฉาบพอกเพื่อให้มั่งคง, ไม้กรอบประตู
หรือหน้าต่างแห่งตึก.
ฌ.
๔๘ ฌาน การเพ่งอารมณ์ จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนา-
สมาธิ.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
ญ.
๓ ญัตติจตุตถกรรม- การอุปสมบท (บวชพระ) ที่สำเร็จด้วย
อุปสัมปทา กรรมวาจาที่ ๔ ทั้งญัตติ คือกรรมวาจาเที่ยว
แรกเป็นคำประกาศให้สงฆ์ทราบ เรียกว่า
"ญัตติ" อีก ๓ เที่ยวเป็นคำปรึกษาของสงฆ์
ที่ตกลงกันว่า "รับเข้าหมู่" เรียกว่า
"อนุสาวนา."
จ ญาณวิปปยุต ปราศจากความรู้, ปราศจากปัญญา, ปราศ-
จากปรีชา.
ฒ.
๖๐ เฒ่าแก่ ผู้สู่ขอหญิงให้แก่ชาย, ผู้เป็นประธานจัดการ
ให้ชายหญิงเป็นสามีภรรยากัน.
ด.
๑๑๒ ดอกกุมุท ดอกบัวสายสีขาว.
๕๒ ดับขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ดับสลายไป.
๒๑๘ ดาวฤกษ์ ดาวประจำเดือนที่พระจันทร์โคจรถึงในเวลา
เพ็ญ เดือนละ ๑ กลุ่ม เช่น กลุ่มดาวชื่อ
"มิคสิร" เป็นต้น ฯลฯ.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๕๘ เดียงสา รู้ความควรและไม่ควร, รู้ความแล้ว.
๑๑๒ เดือนกัตติกา เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญ เสวยฤกษ์กัตติกา
(โดยทั่วไปหมายเอาเดือน ๑๒ พระบาลี
สิกขาบทนี้หมายเอาเดือน ๑๑).
๘๑ เดือนท้ายฤดูฝน แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒
๑๒๑ แดก แกล้งพูดยกยอด้วยเรื่องที่ดี กระทบถึงชาติ
เป็นต้น เพื่อให้โกรธ.
ต.
๑๗๐ ตติยปาราชิกสิกขาบท ปาราชิกข้อที่ ๓.
๑๒๔ ต่อหนังสือค่ำ รับหนังสือหรือคำบอกด้วยปากเปล่าที่อาจารย์
กำหนดให้นำไปท่องให้จำ แล้วไปว่าให้
อาจารย์ฟัง เพื่อทดสอบความจำ แล้วรับ
ข้อกำหนดใหม่ไป่องอีก หรือสอนให้ว่าจำ
คราวละท่อนเป็นต้น ในเวลากลางคืนเป็น
ประจำ.
๑๘๙ ตะบันไฟ ของอย่างหนึ่งมีรูปร่างคล้ายกระบอกมีรูเล็ก ๆ
มีไม้กระทุ้งเพื่อให้เกิดไฟในนั้น ด้วยอำนาจ
ที่กระแทกลูกตะบันเข้าในกระบอก ด้วยความ
เร็ว (ที่ทางปักษ์ใต้เรียกว่าไฟตบ).
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๑๔ ตั่ง (พจนานุกรม ภาชนะสานสำหรับบรรทุกสิ่งของ มีคานพาด
เขียนเป็น ต่าง) ไว้บนหลังสัตว์พาหนะ มีวัวและลาเป็นต้น
ให้ห้อยลงมาทั้ง ๒ ข้าง ถ้าบรรทุกโคเรียก
ว่าโคต่าง, ถ้าบรรทุกลาเรียกว่าลาต่าง, ถ้า
บรรทุกไปขาย ผู้เป็นเจ้าของถูกเรียกว่า
"พ่อค้าต่าง."
๑๘๕ ตำหนักที่ผทม (ราชาศัพท์) เรือนที่นอน.
๙๒ ติกปาจิตตีย์ อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ที่ภิกษุต้องเพราะ
ขอจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้ที่ไม่ใช่ญาติ ด้วยอาการ
๓ อย่าง คือ ๑. รู้ว่าไม่ใช่ญาติก็ขอ ๒. แคลง
อยู่ก็ขอ ๓. สำคัญว่าเป็นญาติก็ขอ.
๘๖ ติจีวรอวิปปวาส เขตไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร. เขตที่ภิกษุอยู่ล่วง
ราตรีโดยมีไตรจีวรอยู่กับตัวไม่ครบก็ได้.
ถ.
๗๖ ถ้าไม่ฟัง ถ้าไม่สละกรรมชั่ว. ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำ
ตักเตือน.
๒ ถือเพศ แต่งตัวแบบบรรพชิต (เป็นต้น).
๑๒ ถุลลัจจัย โทษอ้วน โทษหยาบ, บรรดาอาบัติที่เป็น
เทสนาคามินี อาบัตินี้ใหญ่หรือหยาบกว่า
อย่างอื่น.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๓๒ ไถยจิต จิตคิดจะลัก, จิตคิดถือเอาของที่เจ้าของ
ไม่อนุญาตให้ ด้วยการแห่งโจร.
ท.
๑๔๕ ทายก ผู้ให้ (เป็นคำกลาง หมายถึงบุคคล
หรือชนผู้ให้ทั่วไปก็ได้, ถ้าแยกเพศ ทายก
คือชายผู้ให้ ทายิกาคือหญิงผู้ให้).
๓๗ ทำนิมิต ทำเครื่องหมายด้วยกายวิการ.
๑๙๙ ทำพูม (พจนานุ- ทำท่าสง่าผ่าเผย, ทำท่าโอ่โถง, ทำท่า
กรมเขียนเป็นภูมิ) องอาจ, ทำท่าให้สวยงาม.
๑๒ ทุกกฏ ทำชั่ว, ทำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ทางพระวินัย.
๗๗ ทุฏ€ลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบโดยโทษ, มีโทษมากง
๑๒ ทุพภาษิต พูดไม่ดี, ในพระวินัยหมายเอาพูดล้อเล่น
กระทบชาติกำเนิดเป็นต้น ซึ่งเป็นคำหม่น
หมองนักปราชญ์ติเตียน.
๙๖ ทูต ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน.
๑๑๙ เทสนาคามินี อาบัติที่ภิกษุต้องเข้าแล้ว จะพ้นได้ด้วยการ
แสดงโดยไม่ต้องอยู่กรรม.
๕๙ เที่ยวสื่อ ชักนำให้เขาได้กัน, ชักนำให้รู้จักกัน, ทำ
การติดต่อให้ถึงกัน.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
ธ.
๖๕ ธรณีสงฆ์ ที่ดินซึ่งเป็นสมบัติของสงฆ์.
๑๙๖ ธรรมเทศนา- ข้อวัตรปฏิบัติ ที่พึงศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการ
ปฏิสังยุต แสดงธรรม.
๑๓๘ ธรรมพิเศษ ธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา ได้แก่มรรค
ผล นิพพาน.
น.
๑๓๙ นางสากิยานี สตรีในราชสกุลศากยวงศ์.
๓๙ นานาภัณฑปัญจกะ หมวด ๕ แห่งการลัก มีของต่าง ๆ เป็นที่
กำหนดคือ :- ๑. อาทิยนํ = โจทย์ (ตู่) เอา
ของที่มีวิญญาณ และไม่มีวิญญาณของเขา,
๒. หรณํ = นำ (ลัก) เอาของเหล่านั้นไป,
๓. อวหรณํ = บิดเพี้ยน (ฉ้อ) เอาของ
เหล่านั้นที่เขาฝากไว้, ๔. อิริยาปถวิโกปนํ
= ทำอิริยาบถแห่งคนผู้นำของไปให้กำเริบ
(ขู่เข็ญหรือล่อลวงนำไปทั้งคนทั้งของ),
๕. €านา จาวนํ = ทำของเหล่านั้นให้เคลื่อน
จากที่ (แม้จะไม่นำไปที่อื่น).
๓๘ นาสนะ ให้ฉิบหาย, ให้สึกจากเพศบรรพชิต.
๑๔๙ นำไปปวารณา นำไปบอกให้ฉัน.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๑๔๕ นิตยภัต อาหารที่เขาถวายประจำเนืองนิตย์.
๑๕๖ นิทเทส คำจำแนก, คำอธิบาย, คำขยาย.
๙ นิทาน เหตุ, เรื่องเดิม.
๒๔ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วีติกกมะ (โทษ) ชื่อว่าปาจิตตีย์ อัน
ทำให้สละสิ่งของซึ่งเป็นเหตุให้ต้องโทษ คือ
อาบัติ.
๔๘ นีวรณ์ ธรรมกั้นจิตมิให้บรรลุความดี.
๑๐๙ นุ่งอติเรกจีวร ใช้สอยสบงหรือจีวร หรืออังสะซึ่งเป็นผ้าที่
เหลือจากไตรครอง.
๓๐ เนรเทศ ให้ออกไปเสียจากประเทศ, ขับไล่ออกจาก
ถิ่นเดิม.
๕๙ ในสำนักมาตุคาม ในที่ใกล้ (ที่จะฟังได้ยิน) ของหญิงมนุษย์
ผู้รู้เดียงสา.
บ.
๔๐ บทภาชนีย์ บทที่ควรแจก, บทที่ตั้งไว้เพื่อไขความ, คำที่
ต้องอธิบาย, อธิบายความแห่งคำ.
๓๒ บทภาระ บทที่ว่าด้วยฐานที่ตั้งสิ่งของที่อวัยวะต่าง ๆ
เช่น ป. สีสภาโร = อวัยวะที่ตั้งสิ่งของ คือ
ศีรษะ, หรือหมายเอาสิ่งของที่ศีรษะ.
๑๓๒ บ่นว่า พร่ำพูดอย่างไม่พอใจ, พูดติเตียนผู้อื่นโดย
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
ลำพังผู้เดียว โดยไม่ตั้งใจจะให้ใครฟัง.
๓ บรรพชิต นักบวช, ผู้บวช.
๒๑๖ บรรยาย อ้อม, โดยบรรยาย = โดยอ้อม (ป. ปริยาย)
๑๓๗ บริกรรม (เกี่ยวกับสถานที่) ฉาบทา, ตกแต่ง.
๘๔ บริโภค ใช้สอย, นุ่งห่ม.
๔๓ บังสุกุล ของที่เขาทิ้งไว้ที่กองฝุ่น (ป. ปํสุกุล = กองฝุ่น),
ของที่เขาทิ้งแล้วไม่มีเจ้าของหวงแหน.
๕๗ บัณเฑาะก์ ได้แก่คน ๓ จำพวก คือ :- ๑. ชายผู้ราคะกล้า),
นอกรีตในทางเสพกาม (ผู้มีราคะกล้า),
๒. ชายผู้ถูกตอน (จีนเรียกว่าขันที), ๓. กะเทย
โดยกำหนด (ดูกะเทย), บัณเฑาะก์ในที่นี้
หมายเอากะเทย.
๒๑ บาลีมุตตกทุกกฏ อาบัติทุกกฏพ้นจากบาลี, อาบัติทุกกฏนอก
จากพระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร.
๕๙ บำเรอ คอยรับใช้, ทำให้ชอบใจ, บูชา.
๓๘ บุพพปโยค ประโยคก่อน ๆ แต่การทำ การพูด จะสำเร็จ
บริบูรณ์, อาการเบื้องต้น.
ฆ บุพพสิกขาวัณณนา ชื่อหนังสือพรรณนาพระวินัยโดยละเอียด
เล่มหนึ่ง.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๙๒ บุรพชนก บิดาก่อน ๆ คือผู้ให้กำเนิดเป็นชั้น ๆ, ผู้สืบ
เชื้อสายโดยลำดับ, หมายถึงญาติโดยลำดับ
ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา.
ป.
ข ปกรณ์ คัมภีร์, ตำรา, หนังสือ.
๑๙๖ ปกิณณกะ เบ็ดเตล็ด.
๗๘ ปฏิญญา การให้คำมั่นสัญญา, การแสดงยืนยันโดยถือ
เอาความสุจริตเป็นที่ตั้ง.
๑๒๑ ปฏิสสวะ การรับคำ แล้วไม่ทำตามรับ.
๑๓๐ ปฐมพีเป็นของมีอินทรีย์ ดินเป็นของมีอินทรีย์คือชีวิต.
๗๖ ปฐมาปัตติกะ ต้องอาบัติตั้งแต่แรกทำ คือในขณะทำเสร็จ.
๑๒๑ ประชด แกล้งแสดงให้ตรงกันข้ามกับความจริงใจ.
๑๒๐ ประโยคกาย กระทำด้วยกาย, กิริยาอาการที่แสดงทางกาย.
๑๔๖ ปรัมปรโภชนะ ฉันอาหารในที่นิมนต์ทีหลัง.
๓๕ ปริกัป ความกำหนดใจ เช่นกำหนดใจว่า หากว่า----
ถ้าว่า----
๓๖ ปริกัป เงื่อนไขที่กำหนดให้, เช่นสั่งว่าให้ไปขโมย
เอาสิ่งนั้น ๆ ในเวลานั้น ๆ เป็นต้น อย่างนี้
เรียกว่าสั่งอย่ามีปริกัป, สั่งให้ไปขโมยโดย
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
ไม่มีเงือนไข เรียกว่าสั่งอย่างไม่มีปริกัป.
๗๗ ปริวาส การอยู่ค้างคืน, การอยู่แรมคืน, ชื่อ
ธรรมเนียมอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุต้องสังฆาทิเสส
แล้วปิดไว้ต้องประพฤติ.
๖ ปริสวิบัติ กรรมเสียโดยบริษัท คือการชุมนุมสงฆ์ไม่
ครบองค์กำหนด, เสียกรรมเพราะบริษัท.
๖ ปริสสมบัติ สมบูรณ์โดยบริษัท คือชุมนุมสงฆ์ครบองค์
กำหนด.
๒๗ ปวารณา สังฆกรรมที่สงฆ์ทำแทนอุโบสถกรรม ใน
เมื่ออยู่จำพรรษาครบไตรมาสแล้ว. การยอม
ให้ว่ากล่าว, การยอมให้ตักเตือน, การเปิด
โอกาสให้ตักเตือนที่สงฆ์ทำในวันออกพรรษา.
๓๒ ปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง.
๑๙๕ ปัจจัย เหตุ, ภิกษุได้รับนิมนต์หนึ่ง, เป็นไข้หนึ่ง,
จัดเป็นปัจจัย หรือเหตุในที่นี้.
๘๙ ปัจจุทธรณ์ ถอนเสียจากความเป็นของอธิษฐาน.
๑๘๙ ปัญจังคะ เก้าอี้มีองค์ ๕ คือเท้า ๔ พนัก ๑.
๑๕ ปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระพุทธบัญญัติ.
๑๐๔ ปัตตวรรค หมวดแห่งสิกขาบทที่ว่าด้วยเรื่องบาตรเป็นต้น.
๑๒ ปาจิตตีย์ การละเมิดพระบัญญัติอันทำความดีให้ตกไป.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
ชื่อแห่งอาบัติจำพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นอาบัติเบา
เปรียบด้วยลหุโทษ.
๒๔ ปาฏิเทสนียะ พึงแสดงคืน หมายความว่าภิกษุต้องอาบัติ
นี้แล้ว ไม่แสดงอย่างอาบัติอื่น กลับต้องใช้
บาลีแสดงดังนี้ว่า คารยฺหํ อาวุโส ธมฺมํ
อาปชฺชึ อสปฺปายํ ปาฏิเทสนียํ ตํ ปฏิ-
เทเสมิ.
๑๕๔ ปาฐะ บาลี, พระพุทธพจน์.
ค ปาติโมกข์ คัมภีร์เป็นที่รวมวินัยของสงฆ์ มี ๒๒๗ ข้อ,
ข้อปฏิบัติที่เป็นสำคัญ มีพระพุทธานุญาต
ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน.
๑๑ ปาราชิก เป็นชื่อแห่งอาบัติ ที่ทำผู้ต้องให้พ่ายแพ้
ได้แก่ขาดจากความเป็นภิกษุ.
๑๐๔ ปาริวฏฺฏกํ แลกเปลี่ยน.
๑๐๑ ปุราณจีวร จีวรเก่า.
๒๘ เปรต อมนุษย์จำพวกหนึ่ง เกิดในอบายภูมิ.
ผ.
๑๘๕ ผทม (ราชาศัพท์) นอน.
๒ ผ้ากาสายะ ผ้าย้อมฝาด, ผ้าเหลืองพระ (เหลืองหม่น).
๑๐๙ ผ้าวัสสิกสาฎก ผ้าอาบน้ำฝน.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๗ เผดียงสงฆ์ ประกาศให้สงฆ์ทราบ, การบอกให้สงฆ์รู้
ล่วงหน้า.
พ.
๕๐ พรต กิจวัตร, ข้อปฏิบัติ, มรรยาท, ความประพฤติ,
เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม,
ประเพณี, การสมาทาน หรือประพฤติตาม
ลัทธิศาสนา.
๙๘ พรม ประโปรยลง
ง พรหมจรรย์ ประพฤติดังพรหม, ประพฤติประเสริฐ.
๒๑ พระคันถรจนา- พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ (ตำราทางศาสนา).
จารย์
๒๒ พระธรรมสังคาห- พระอาจารย์ผู้รวบรวมพระธรรมคำสั่งสอน
กาจารย์ ของพระพุทธเจ้า.
๔๕ พระยม เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจำยมโลก (โลกคนตาย).
๘ พระวินัย ส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เรียกว่า
"วินัยปิฎก" สิกขาบทของพระสงฆ์.
๒๒ พระสูตร ส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎกเรียกว่า "สุตตันต-
ปิฎก" ข้อความ (ธรรมะ) ที่พระพุทธเจ้าตรัส
ปรารภถึงเหตุ กาล สถานที่ บุคคล ซึ่ง
รวบรวมร้อยกรองไว้เป็นเรื่อง ๆ.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๓๘ พระอรรถกถาจารย์ อาจารย์ผู้แต่งคำอธิบายบาลี.
๑๘๖ พลอย หินที่มีเนื้อใส มีสีต่าง ๆ ใช้ทำเป็นเครื่อง
ประดับมีหัวแหวนเป็นต้น.
๓๖ พละตนเอง กำลังตนเอง, อำเภอใจตนเอง.
๑๓๗ พอก โบก, โปะให้หนา.
๒ พระยักพะเยิด ในที่นี้ได้แก่การรับที่ไม่รัดกุม, วิธีเดิม.
๒๘ พันทาง กะเทยหรือบัณเฑาะก์.
๖๖ พากย์ คำพูด.
๓๖ พิกัด กำหนด.
๑๓๐ พีชคาม พืชพันธุ์อันเกิดจากเง่า ๑ ต้น ๑ ข้อ ๑ ยอด ๑
เมล็ด ๑ อันถูกพรากจากที่แล้ว แต่ยังจะปลูก
ให้งอกต่อไปอีกได้.
ง พุทธบัญญัติ ข้อบังคับของพระพุทธเจ้า, ข้อที่พระพุทธเจ้า
ทรงตรา - แต่ตั้ง.
ง พุทธอาณา อำนาจการปกครองของพระพุทธเจ้า, บท
บัญญัติของพระพุทธเจ้า.
๕๘ พูดเคาะ พูดเกี้ยว.
๑๘๖ เพชร แก้วเข็งที่สุดและมีน้ำ (แสง) แวววาวมาก
กว่าพลอยอย่างอื่น ใช้ทำเครื่องประดับ.
๖๐ แพศยา หญิงหากินทางกาม.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๕๒ โพธิปักขิยธรรม ธรรมอันเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้
๓๗ ประการ.
๑๓๒ โพนทนา กล่าวโทษ, ติเตียน, พูดกล่าวโทษท่าน
ต่อหน้าผู้อื่น, ประจานความชั่วของคนอื่น.
ฟ.
๙๙ ฟูก ที่นอนยัดด้วยวัตถุที่เป็นกัปปิยะ (สำหรับพระ)
ภ.
๖๐ ภรรยาสินไถ่ หญิงที่ชายเอาเงินไถ่ตัวมาเป็นภรรยา,
๓๔ ภัณฑาคาริก ผู้รักษาเรือนคลัง, ผู้รักษาคลังสิ่งของ.
๑๓๘ ภัพพบุคคล บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุธรรมพิเศษ.
๘๔ ภิกษุได้รับสมมติ ภิกษุผู้ได้รับความยินยอมจากสงฆ์.
๑๓๐ ภูตคาม พืชพันธุ์อันเขียวสดซึ่งเกิดอยู่กับที่.
๑๓๐ ภูตคามวรรค หมวดแห่งสิกขาบท อันว่าด้วยเรื่องภิกษุ
พรากของเขียวสดซึ่งเกิดอยู่กับที่ให้หลุดจากที่
เป็นต้น.
๑๘๙ เภทนกปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์ที่ภิกษุต้องแล้ว ต้องต่อยวัตถุ
อันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้น ให้แตกเสียก่อน
จึงแสดงอาบัติตก.
๑๐๖ เภสัช ยา, ของควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๑๙๕ โภชนปฏิสังยุต ธรรมเนียมเกี่ยวกับการฉันบิณฑบาต - ฉัน
อาหาร.
๑๔๑ โภชนวรรค หมวดแห่งสิกขาบทอันว่าด้วยเรื่องฉันอาหาร.
ม.
๕๓ มรรคภาวนา การเจริญมรรค, การทำมรรคให้เกิด.
๔๐ มหันตโทษ โทษหนัก.
๑๗ มังสะ เนื้อ.
ค มาติกา แม่บท, หัวข้อเรื่องราวต่าง ๆ.
๕๗ มาตุคาม ผู้หญิง, เพศหญิง.
๖๓ มานวธรรมศาสตร์ เป็นชื่อกฎหมายโบราณ.
๗๗ มานัต วัตรอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส
แล้วต้องขอต่อสงฆ์ แล้วประพฤติ ๖ ราตรี
(แล้วขออัพภานต่อสงฆ์ครั้นสงฆ์สวดอัพภาน
แล้วจึงพ้นโทษ).
๔๐ มาสก ชื่อมาตราเงินอินเดียโบราณ. ๕ มาสกเท่ากับ
๑ บาท (ครั้งนั้น).
๑๒๐ มุสาวาทวรรค หมวดแห่งสิกขาบทอันว่าด้วยเรื่องพูดปดเป็นต้น.
๑๒๓ มุสาสับปลับ พูดเท็จกลับกลอกเชื่อไม่ได้, มุสาล้วนไม่มุ่งยุยง.
๑๘๔ มูรธาภิเษก หลั่ง (รด) น้ำลงบนพระเศียร.
๕๔ มูลเฉท ตัดรากเง่าแห่งความเป็นสมณะ, หมดโอกาสที่จะ
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
เจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา.
๑๐๓ เมณฑกานุญาต ทรงอนุญาตให้ภิกษุยินดีต่อของอันเป็นกัป-
ปิยะ ซึ่งเกิดแต่รูปิยะ ที่คฤหัสถ์นำมามอบ
ไว้ในมือกัปปิยการกแล้วสั่งไว้ให้จัดถวาย, ได้
ประทานอนุญาตแก่เมณฑกเศรษฐี ผู้กราบ-
ทูลขอเป็นคนแรก.
๑๔ เมรัย น้ำหมักดองซึ่งไม่ได้กลั่น ที่ทำผู้ดื่มให้เมา.
๑๗๗ โมหาโรปนกรรม กิริยาที่สวดประกาศยกโทษขึ้นว่า แสร้งทำ
หลง แกล้งทำไม่รู้.
๖๔ ไม่ประกับผู้ใด- ไม่สังกระ, ไม่ทับ, ไม่คาบเกี่ยวกับที่ดินของ
ผู้หนึ่ง ผู้ใดผู้หนึ่ง.
ย.
๗๖ ยาวตติยกะ เพียงไรแต่ครั้งที่ ๓, สวดจนถึง ๓ ครั้ง, สงฆ์
สวดครบ ๓ ครั้ง ภิกษุจึงต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสส.
๑๙๘ ยิ้มแย้ม ยิ้มคือแสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ ด้วยริม
ฝีปากและใบหน้าหรือแก้ม, แย้มคือเผยอ
ริมฝีปากออกน้อย ๆ พอเห็นไรฟัน, กล่าว
สั้นคือ "ยิ้มเห็นแก้ม แย้มเห็นฟัน."
๓ ยุค สมัย, คราว.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
ร.
๑๘๔ รจนาคัมภีร์ เขียนตำรา, แต่งตำรา.
๑๘๔ รตนวรรค หมวดแห่งสิกขาบทว่าด้วยเรื่องรัตนะเป็นต้น.
๑๘๕ รัตนะ แก้ว, ของวิเศษหรือมีค่ามากตลอดจนถึงคน
และสัตว์เช่นรัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ
ของประเสริฐสุด.
๑๘๕ รัตนะ ๗ ของพระ ๑. จักรรัตนะ (จักรแก้ว) ๒. หัตถิรัตนะ
เจ้าจักรพรรดิ (ช้างแก้ว) ๓. อัสสรัตนะ (ม้าแก้ว) ๔. มณี-
รัตนะ (แก้วมณี) ๕. อิตถีรัตนะ (นางแก้ว)
๖. คฤหบดีรัตนะ (คฤหบดีแก้ว, บุราณว่า
ขุนคลัง) ๗. ปริณายกรัตนะ (พระยุพราช
แก้ว, บุราณว่าขุนพล).
๑๐ ราชาภิเษก การแต่งตั้งโดยการทำพิธีรด หรือพิธีขึ้น
เสวยราชย์ของพระเจ้าแผ่นดิน.
๑๐๑ รูปพรรณ ลักษณะ, รูปร่างและสี, ทองเงินทำเป็น
เครื่องใช้สอยหรือเครื่องประดับ.
๔๐ รูปิยะ เงินตรา, ของที่ใช้แทนเงิน เช่นธนบัตร
เป็นต้น.
ล.
๑๑๙ ลหุกาบัติ อาบัติเบา.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๒ ลัทธิ ความเชื่อถือ ความรู้ และประเพณีที่ได้รับ
สืบต่อกันมา.
๑๙๙ ลีลา ท่านทางอันงาม, การเยื้องกราย, นวยนาด.
๑๘๙ ลูกถวิน วัตถุมีรูปกลม - แบน มีรูตรงกลาง (คล้าย
สตางค์สยามรัฐ) ที่ข้างมีร่องโดยรอบสำหรับ
ผูกติดไว้กับสายรัดประคดเอวข้างหนึ่ง และรู
นั้นมีไว้สำหรับสอดสายรัดประคดอีกข้างหนึ่ง
ในเวลาคาด.
๑๐ เลส อาการที่อ้างเอาเป็นอุบาย, ส่วนเล็กน้อยที่
ยกขึ้นเป็นข้ออ้าง.
๘๗ เลฑฑุบาต ที่ตกแห่งก้อนดิน (อันบุรุษผู้มีกำลังปาน
กลางขว้างไป).
๑๘๘ แล้วด้วย ทำด้วย----สำเร็จด้วย---- (ป. ทนฺตมยํ =
ทำด้วยงา, สำเร็จด้วยงา).
๑๕ โลกวัชชะ โทษทางโลก (มีโทษทางโลก).
ว
๒๒๘ วัฑฒกี ช่างไม้.
๒๔ วัตตขันธกะ หมวดแห่งข้อวัตรปฏิบัติ.
๙๗ วัตตเภท เสียธรรมเนียม.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๕ วัตถุ องค์ประกอบของผู้จะอุปสมบท
ที่สำคัญ มี ๕ อย่าง คือ :-
๑. เป็นคนผู้ชาย.
๒. มีอายุครบ ๒๐ ปี.
๓. ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ เช่นถูกตอน หรือ
กระเทย.
๔. ไม่เคยทำอนันตริยกรรม.
๕. ไม่เคยต้องปาราชิก หรือไม่เคยเข้ารีต
เดียรถีย์.
ที่ไม่สำคัญ มี ๗ อย่าง คือ :-
๑. ไม่เป็นคนเสียชื่อเสียง.
๒. " มีอวัยวะพิกลพิการ.
๓. " มีโรคไม่รู้จักหาย.
๔. " มีโรคติดต่อ.
๕. " อยู่ในหวงห้าม.
๖. " มีหนี้สิน.
๗. " ทาส.
๕ วัตถุวิบัติ บกพร่องโดยวัตถุ.
๕ วัตถุสมบัติ สมบูรณ์โดยวัตถุ คือ ตรงกันข้ามกับวัตถุ-
วิบัติ.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๑๑๒ วันบุรณมี ดิถี (วันตามจันทรคติ) มีพระจันทร์เต็มดวง.
๑๑๒ วัสสาวาสิกา ผ้าจำนำพรรษา (ทายกนิยมถวายพระภิกษุ
ผู้จำพรรษาครบแล้ว).
๑๑๓ วัสสูปนายิก- หมวดแห่งธรรมเนียมของภิกษุผู้เข้าจำ-
ขันธกะ พรรษา (มาในคัมภีร์มหาวรรค).
๘๒ วิกัป ทำให้เป็น ๒ เจ้าของ, ฝาก, กล่าวคำแสดง
ความหมายให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง.
๘๗ วิกัปปิตจีวร จีวรที่ได้ทำให้เป็น ๒ เจ้าของแล้ว.
๒๐๒ วิการ ผิดแปลกไปจากปกติภาพ.
๑๑๐ วิญญัติ การขอที่ผิดพระวินัย, ขอสิ่งของ ต่อคน
มิใช่ญาติ มิใช่ปวารณา ในเมื่อไม่มีสมัย
ไม่มีปัจจัย.
๑๘๑ วิตกจริต ตนมีปกตินึกพล่าน.
๑ วินัยมุข เป็นชื่อของหนังสือนี้ ซึ่งว่าด้วยแนวทางแห่ง
การศึกษา แลปฏิบัติพระวินัยให้สำเร็จ
ประโยชน์.
๒๘ วินีตวัตถุ เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงชี้ขาด หรือทรง
วินิจฉัย, เรื่องสำหรับเทียบเคียงตัดสินอาบัติ
ในคัมภีร์วิภังค์.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
ง วิปฏิสาร ความเดือดร้อน, ความร้อนใจหลังจากการ
ปฏิบัติผิด.
๑๐ วิปลาส คลาดเคลื่อน, ผันแปร, กลับกลาย.
๒๔ วิภังค์ การจำแนก, การแบ่ง, (ดูคัมภีร์วิภังค์).
๔๓ วิสสาสะ ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม, การถือว่า
เป็นกันเอง.
๑๓๑ วิเหสกกรรม กรรมวาจาที่สงฆ์สวดประกาศ ในเมื่อภิกษุ
ผู้ประพฤติอนาจารยังสงฆ์ให้ลำบาก.
๘๑ วีติกกมะ การล่วงละเมิดสิกขาบท.
๗๗ วุกฐานคามินี อาบัติที่ต้องแล้วจะพ้นได้ด้วยการอยู่กรรม.
๑๓ โวหาร ถ้อยคำ, สำนวน.
๕๒ ไวพจน์ คำที่มีรูปต่างกัน แต่มีความหมายคล้ายคลึง
กัน หรือมีความหมายเหมือนกัน ใช้แทน
กันได้.
๙๖ ไวยาวัจกร ผู้ทำกิจธุระแทนภิกษุหรือสงฆ์, ผู้ทำการ
ขวนขวายแทนภิกษุหรือสงฆ์.
ศ.
๒๗ ศัพท์ เสียง, คำ.
๒๐๗ ศัสตรา ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, มีด ดาบ หอก
หลาว เป็นต้น.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๒๑๙ ศุกลปักษ์ ข้างขึ้น, ๑๕ วัน เป็น ๑ ศุกลปักษ์.
ส.
๕๑ สกทาคามิมรรค มรรคที่เป็นเหตุละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาสได้เด็ดขาด กับทำราคะ
โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง.
๒๓ สกทาคามี พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค- ผล ซึ่งจัด
เป็นพระอริยบุคคลคู่ที่ ๒.
๑๑๐ สกสัญญา สำคัญว่าเป็นของตน. เข้าใจว่าเป็นของตน,
รู้สึกว่าเป็นของตน.
๑๓ สจิตตกะ มีจิตเจือ, แกล้ง, จงใจ.
๑๑ สาเตกิจฉา แก้วไขได้, ทำให้พ้นโทษได้, ทำคืนได้,
ชำระให้บริสุทธิ์ได้.
๑๕๔ สนธิ ต่อ, วิธีต่อศัพท์และอักขระให้เนื่องกันด้วย
อักขระ.
๑๗๔ สมณุทเทส ผู้มีการแสดงขึ้นว่าเป็นสมณะ หมายเอา
สามเณรซึ่งเป็นเหล่ากอแห่งสมณะ.
๒๑๕ สมถขันธกะ หมวดแห่งธรรมเนียมการระงับอธิกรณ์
(มาในคัมภีร์จูลวรรค).
๘๕ สมมติ ตกลงกัน, ยินยอมกัน, เป็นสังฆกรรม
อย่างหนึ่ง.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๔๗ สมาธิ ความตั้งมั่น, ความทำจิตให้นิ่งมีอารมณ์
เป็นอันเดียว.
๘๕ สมานสังวาสสีมา สีมาอันสงฆ์สมมติให้มีสังวาสเสมอกัน
เขตแดนอันสงฆ์ตกลงกันว่าให้ภิกษุผู้มีธรรม
เป็นเครื่องอยู่ร่วมกันกับภิกษุอื่น (มีศีลเสมอ
กัน) เข้าทำสังฆกรรมร่วมกันได้เสมอกัน.
๑๒๙ สมาส ย่อนามศัพท์ตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไป เข้าเป็นบท
เดียวกัน.
๑๒ สมุฏฐาน ทางเกิดอาบัติ
๓๐ สวิญญาณกะ ทรัพย์มีวิญญาณ.
ง สหธรรมิก ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน, ผู้มีธรรมร่วมกัน
(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะภิกษุ).
๑๗๕ สหธรรมิกวรรค หมวดแห่งสิกขาบท อันว่าด้วยภิกษุผู้ถูกภิกษุ
ทั้งหลายกล่าวเตือนโดยชอบธรรมเป็นต้น.
๑๒๕ สหไสย การนอนร่วม.
๑๙๓ สะเพร่า การนอนร่วม.
๑๙๓ สะเพร่า มักง่าย, ใจเบา, ไม่คำนึงถึงความเสียหาย,
ไม่รอบคอบ
๓๔ สังเกตวีตินามนะ การนำของให้ก้าวล่วงเขตที่ตนกำหนดไว้.
ฆ สังคายนา การประชุมกันรวบรวมพระธรรมวินัย, การ
ชำระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๒๗ สังฆกรรม กิจทางพระวินัยที่สงฆ์ทำภายในสีมา.
๑๒ สังฆาทิเสส ชื่ออาบัติหนักกองหนึ่งรองจากปาราชิก, อาบัติ
ที่ต้องอาศัยสงฆ์ (ปรารถนาสงฆ์) ทั้งใน
กรรมเบื้อต้นแลในกรรมที่เหลือจึงจะพ้นได้.
๓๐ สังหาริมะ ทรัพย์หรือสิ่งของซึ่งเลื่อนที่ได้.
๒๙ สัญเจตนิกา จงใจ (ปล่อยสุกกะ).
๗๔ สัญชาติแห่ง- ว่ายากสอนยากติดสันดาน, ว่ายากตั้งแต่
คนว่ายาก แรกเกิดมา คือตั้งแต่เด็ก ๆ มา, หัวดื้อ.
๒๒๗ สัญญาจิกสิกขาบท สิกขาบทที่ ๖ แห่งสังฆาทิเสส อันว่าด้วย
เรื่องภิกษุผู้จะให้ทำกุฎีด้วยการขอเอาเอง.
๑๘๙ สัตตังคะ เก้าอี้มีแขน มีองค์ ๗ คือ เท้า ๔ พนักพิง ๑
ที่วางแขน ๒.
๑๑๓ สัตตาหะ ๗ วัน.
๓๒ สัตว์พาหนะ สัตว์สำหรับ ขี่ บรรทุก ลาก เข็น เช่นช้าง,
ม้า, โค, กระบือ เป็นต้น.
ฆ สันถัต ผ้าที่พระภิกษุรองนั่ง. (ไม่ได้ทอ ใช้หล่อ).
๑๖๙ สัปปาณวรรค หมวดแห่งสิกขาบท ว่าด้วยเรื่องภิกษุแกล้ง
ฆ่าสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้น.
๑๒๐ สัมปชานมุสาวาท กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้.
๑๘๔ สัมปทานการก ผู้ทำการรับ, ผู้รับ.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๕๓ สัมปยุต ประกอบพร้อม, ประกอบด้วย.
๒๑๔ สัมมุขาวินัย ระเบียบระงับอธิกรณ์ ในที่พร้อมหน้า ๔ คือ
พร้อมหน้าสงฆ์ ๑ บุคคล ๑ วัตถุ ๑ ธรรมวินัย ๑.
๑๓๙ สาชีพ ธรรมเนียมเลี้ยงชีพ ร่วมกัน เหมือนกัน.
๓๖ สาณัตติกะ อาบัติที่เป็นไปกับด้วยการสั่ง คือภิกษุทำเอง
ก็ต้องอาบัติ สั่งเขาให้ทำก็ต้องอาบัติ.
๑๕๘ สามัญญโวหาร คำพูดที่ใช้กันตามธรรมดา.
๕๒ สามัญญสัตว์ สัตว์ธรรมดา, คนที่ยังเป็นปุถุชน คือคนที่
ยังไม่บรรลุอริยผล.
๑๙๖ สารูป ความเหมาะสม, ความพอเหมาะพอดี.
๓๒ สำนอง รับผิดชอบ, ต้องรับใช้, ต้องตอบแทน.
๑๐ สิกขาบท บทที่ต้องศึกษา, ข้อ, มาตรา.
๒๓๒ สิงหล เกาะลังกา.
๕๑ สิ้นเชิง หมดสิ้นโดยไม่เหลือ, ไม่มีส่วนเหลือ.
๖ สีมา เขตแดน, เขตที่สงฆ์สมมติแล้ว เรียกพัทธ-
สีมา, ที่ยังมิได้สมมติ เรียกอพัทธสีมา.
๕๕ สุกกะ น้ำอสุจิ (น้ำกาม).
๒๒๙ สุคตวิทัตถิปกรณ์ หนังสือเรื่องคืบพระสุคต ของสมเด็จพระมหา-
สมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์.
๓๕ สุงกฆาตะ หนีภาษี.
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
๑๕๔ สุงสิง เล่นหัวกัน, ยั่วเยาะเย้ากัน. ติดต่อเกี่ยวข้อง.
๑๒๐ สุทธิกปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ล้วน.
๑๖๑ สุราปานวรรค หมวดแห่งสิขาบท ว่าด้วยเรื่องภิกษุดื่มสุรา
เป็นต้น.
๑๓ สุราปานสิกขาบท สิกขาบทที่ว่าด้วยการดื่มสุรา.
ค เสขิยวัตร ธรรมเนียมที่ภิกษุและสามเณรพึงศึกษา,
-พึงปฏิบัติ.
๑๗๓ เสพ ประพฤติ.
๑๓ เสพเมถุน การร่วมประเวณี.
๕๑ โสดาปัตติมรรค มรรคเป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกาย-
ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.
๒๓ โสดาบัน พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค-ผล ซึ่งจัดว่า
เป็นพระอริยบุคคลคู่ที่ ๑.
ห.
๒๓ หมัน ไม่มีผล.
๘๓ หัตถบาส บ่วงมือ คือที่ใกล้ตัว, ในบุพพสิกขาวรรณนา
กล่าวไว้โดยใจความว่า กำหนดเอา ๒ ศอก
กับ ๑ คืบ พึงทราบกำหนดดังนี้ :- ถ้าภิกษุ
นั่งอยู่กำหนดแต่ส่วนสุดข้างหลัง, ถ้ายืนอยู่
กำหนดแต่ที่สุดสนไป, ถ้านอนอยู่ นอน
หน้า ศัพท์ คำอธิบาย
โดยซีกข้างใด กำหนดแต่ที่สุดหลังซีกข้างนั้น
ไปจนถึงส่วนสุดด้านใกล้แห่งสิ่งของที่ตั้งอยู่
หรืออวัยวะที่ใกล้แห่งบุคคลผู้ประเคนเป็นต้น
ซึ่งนั่ง หรือยืน หรือนอนอยู่ (เว้นมือที่
เหยียดออกมาประเคน) ให้ได้ ๒ ศอกคืบ.
ในวินัยมุขเล่มนี้หน้า ๘๖ ว่า "ศอก ๑ ใน
ระหว่าง" หมายถึงที่สุดด้านหน้าของภิกษุ
กับสิ่งของ หรือของภิกษุผู้รับกับบุคคลผู้
ประเคนเป็นต้น.
๘๑ เหมันตฤดู หน้าหนาว คือตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๒
ถึงกลางเดือน ๔.
๒๑๙ โหราศาสตร์ ตำราว่าด้วยวิชาโหร คือวิชาหมอดูฤกษ์ยาม
นาที เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น